เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  คนชั่ว- คนดี และ ผู้มีธรรมอันงาม- ผู้มีธรรมอันลามก 1179
  (โดยย่อ)

นัยยะที่ 1

(1) ก็คนชั่วเป็นไฉน (ฆ่าสัตว์)
เป็นผู้มักฆ่าสัตว์

(2) ก็คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่วเป็นไฉน
เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และ ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์อีกด้วย

(3) ก็คนดีเป็นไฉน (เว้นการฆ่าสัตว์)
เป็นผู้งดเว้นการฆ่าสัตว์

(4) ก็คนดีที่ยิ่งกว่าคนดีเป็นไฉน
เป็นผู้งดเว้นการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นการฆ่าสัตว์


นัยยะที่2

(1) ก็คนชั่วเป็นไฉน (มิจฉาทิฏฐิ)
มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ)

(2) ก็คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่วเป็นไฉน
เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิดอีกด้วย

(3) ก็คนดีเป็นไฉน (สัมมาทิฏฐิ)
เป็นผู้มีความเห็นชอบ

(4) ก็คนดีที่ยิ่งกว่าคนดีเป็นไฉน
เป็นผู้มีความเห็นชอบด้วยตนเอง และชักชวน ผู้อื่นในความเห็นชอบอีกด้วย


นัยยะที่3

(1) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามกเป็นไฉน (ฆ่าสัตว์)
เป็นคนฆ่าสัตว์

(2) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามก ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันลามกเป็นไฉน
เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในฆ่าสัตว์อีกด้วย

(3) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงามเป็นไฉน (เว้นการฆ่าสัตว์)
เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์

(4) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงาม ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันงาม เป็นไฉน
เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวน ผู้อื่นให้งดเว้นการฆ่าสัตว์อีกด้วย


นัยยะที่4

(1) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามกเป็นไฉน (มิจฉาทิฏฐิ)
เป็นผู้มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ)

(2) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามก ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันลามกเป็นไฉน
เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง และชักชวน ผู้อื่น ในความเห็นผิดอีกด้วย

(3) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงามเป็นไฉน (สัมมทิฏฐิ)
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ
มีความรู้ชอบ มีความพ้นชอบ

(4) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงาม ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันงามเป็นไฉน
ตนเองเป็นผู้มีความเห็นชอบ และชักชวน ผู้อื่นในความเห็นชอบอีกด้วย


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๑๑

คนชั่ว- คนดี และ ผู้มีธรรมอันงาม- ผู้มีธรรมอันลามก
นัยยะที่1

          [๒๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง คนชั่ว(1) คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว(2)  คนดี(3) และ คนดีที่ยิ่งกว่าคนดี(4) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย (1) ก็คนชั่วเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นผู้มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าคนชั่ว

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย (2) ก็คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่วเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์อีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มี ความเห็นผิด ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิดอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าคนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย (3) ก็คนดีเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจาก การฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าคนดี

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย (4) ก็คนดีที่ยิ่งกว่าคนดีเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้  เป็นผู้ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจาก การฆ่าสัตว์ อีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในความเห็นชอบ อีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี
---------------------------------------------------------------------------------------------
นัยยะที่2

         [๒๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง คนชั่ว(1) คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว(2) คนดี(3) และคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี(4) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย(1) ก็คนชั่วเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความเห็นผิด ฯลฯ มีความรู้ผิด มีความพ้นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าคนชั่ว

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย(2) ก็คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่วเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิดอีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มี ความรู้ผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความรู้ผิดอีกด้วย เป็นผู้มีความพ้นผิดด้วย ตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความพ้นผิดอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย(3) ก็คนดีเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็น ชอบ ฯลฯ มีความรู้ชอบ มีความพ้นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า คนดี

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย(4) ก็คนดีที่ยิ่งกว่าคนดีเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ มี ความเห็นชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในความเห็นชอบอีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มี ความรู้ชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในความรู้ชอบอีกด้วย เป็นผู้มีความ พ้นชอบ ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในความพ้นชอบอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เราเรียกว่าคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี
---------------------------------------------------------------------------------------------
นัยยะที่3

         [๒๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง บุคคลผู้มีธรรมอันลามก(1) บุคคลผู้มี ธรรมอันลามกที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันลามก(2) บุคคลผู้มีธรรมอันงาม(3) และบุคคล ผู้มีธรรมอันงามที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันงาม(4) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง  ฯลฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย (1) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามกเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าผู้มีธรรม อันลามก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย (2) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามก ที่ยิ่งกว่าบุคคล ผู้มีธรรมอัน ลามก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในฆ่าสัตว์ อีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความ เห็นผิดอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าผู้มีธรรมอันลามก ที่ยิ่งกว่าบุคคล ผู้มีธรรม อันลามก ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย (3) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงามเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ บุคคลนี้เราเรียกว่าผู้มีธรรมอันงาม

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย (4) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงาม ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรม อันงาม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และ ชักชวน ผู้อื่น ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์อีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความเห็นชอบด้วยตนเอง และ ชักชวน ผู้อื่น ในความเห็นชอบอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า ผู้มีธรรมอันงามที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันงาม
--------------------------------------------------------------------------------------------
นัยยะที่4

         [๒๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง บุคคลผู้มีธรรมอันลามก(1) บุคคลผู้มี ธรรมอันลามกที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันลามก(2) บุคคลผู้มีธรรมอันงาม (3) และบุคคล ผู้มีธรรมอันงามที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันงาม(4) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย (1) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามกเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ มีความรู้ผิด มีความพ้นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าผู้มีธรรมอันลามก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย (2) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามก ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอัน ลามก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง และชักชวน ผู้อื่น ในความเห็นผิดอีกด้วยฯลฯ เป็นผู้มีความรู้ผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในความรู้ผิดอีกด้วย เป็นผู้มีความพ้นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความพ้นผิด อีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า ผู้มีธรรมอันลามกที่ยิ่งกว่าบุคคล ผู้มีธรรมอันลามก

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย (3) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงามเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีความรู้ชอบ มีความพ้นชอบ บุคคลนี้เราเรียกว่าผู้มีธรรม อันงาม

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย (4) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงามที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันงาม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้มีความเห็นชอบ และชักชวน ผู้อื่น ในความเห็นชอบ อีกด้วย ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความรู้ชอบ และชักชวนผู้อื่นใน ความรู้ ชอบ อีกด้วย ตนเอง เป็นผู้มีความพ้นชอบ และชักชวนผู้อื่นในความพ้นชอบ อีกด้วย บุคคลนี้เราเรียกว่า บุคคลผู้มีธรรมอันงามที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันงาม






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์