เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  มธุปิณฑิกสูตร ว่าด้วยธรรมบรรยายที่ไพเราะ พระมหากัจจานะ แสดง ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า 1171
  (ย่อ)

ทัณฑปาณิศากยะ ถามพระพุทธเจ้า ว่า "พระสมณะ มีปกติกล่าว อย่างไร" (มีวิธีพูดอย่างไร)
ดูกรผู้มีอายุ บุคคลมีปกติกล่าวอย่างไร จึงจะไม่โต้เถียงกับผู้หนึ่งผู้ใด ในโลก เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ หรือ พราหมณ์ ... ก็ต่อเมื่อคำกล่าวนั้น ไม่มีสัญญาอันเกิดจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ถูกครอบงำจากกามทั้งหลาย (พรากแล้วจากกาม ใน ผัสสายตนะทั้ง ๖ )

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทัณฑปาณิศากยะ ได้สั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำหน้าผากย่น เป็น ๓ รอย ถือไม้เท้ายันหลีกไป (วิธีพูดของพระพุทธเจ้าคือ ในคำพูดนั้น ไม่มีสัญญาอันเกิดจากกาม และปราศจาก ตัณหาในการสร้างภพ จากผัสสะเข้ามากระทบ)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระผู้มีพระภาคตอบภิกษุที่ยังไม่สิ้นสงสัยว่า...
ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิด เพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียว เป็นที่สุดแห่ง ราคานุสัย เป็นที่สุดแห่ง ปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่ง ทิฏฐานุสัย เป็นที่สุด แห่ง วิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่ง มานานุสัย เป็นที่สุดแห่ง ภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่ง อวิชชานุสัย (อนุสัยทั้ง ๗) เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง การด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรม อันลามก เหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น... (เมื่อสัญญายังมีกิเลสเข้าครอบงำจิต ก็จะเกิด อนุสัยทั้ง๗ คือความเคยชินทางฝ่ายต่ำ การโต้เถียง การด่า..หรืออกุศลธรรม ย่อมเกิดขึ้น)

ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตเจ้าได้ตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุก จากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย.

ภิกษุยังไม่กระจ่างในคำกล่าวของพระพุทธเจ้า ที่กล่าวว่า ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า จึงพากัน ไปสอบถาม ท่านพระมหากัจจานะ (พระอรหันต์ เอตทัคคะ ในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระมหากัจจานะแสดงอุเทศ (ยกขึ้นแสดง)
ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าการที่ บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุแห่ง อนุสัย ๗

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
จักขุวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัยตา และ รูป เพราะ ประชุมธรรม ๓ ประการ จึงเกิดผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
บุคคลเสวย เวทนาอันใด ก็จำเวทนาอันนั้น
บุคคลจำเวทนาอันใด ก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น
บุคคลตรึก ถึง เวทนาอันใด ก็เนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันนั้น
บุคคลเนิ่นช้า อยู่ที่เวทนาอันใด ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ก็ครอบงำบุรุษ เพราะเนิ่นช้า อยู่ที่เวทนานั้น เป็นเหตุในรูปทั้งหลาย ที่พึงจะรู้ด้วยตา เป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี
........



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๕๒ - ๑๕๙

๘. มธุปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายที่ไพเราะ

            [๒๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ในสักก ชนบท ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปสู่ พระนครกบิลพัสดุ์ เพื่อบิณฑบาต.

ครั้นเสร็จจากการเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว เสด็จเข้าไปยัง ป่ามหาวัน เพื่อทรงพัก ในเวลากลางวัน

ครั้นถึงแล้ว จึงประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม แม้ ทัณฑปาณิศากยะ กำลังเสด็จเที่ยว เดินเล่น ได้เสด็จเข้าไปยังป่ามหาวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยัง ต้นมะตูม หนุ่ม ได้ปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาค

ครั้นผ่านการ ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว ได้ยืนยันไม้เท้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า พระสมณะ มีปกติกล่าวอย่างไร มีปกติบอก อย่างไร?

ตรัสตอบปัญหาทัณฑปาณิศากยะ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

           ดูกรผู้มีอายุ บุคคลมีปกติกล่าวอย่างไร จึงจะไม่โต้เถียง กันกับ ผู้ใด ผู้หนึ่งในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณะ และ พราหมณ์ เทวดาและ มนุษย์ ดำรงอยู่ในโลก และสัญญาทั้งหลายจะไม่ ครอบงำ พราหมณ์ผู้อยู่ปราศจากกามทั้งหลายนั้น ผู้ไม่ลังเล ผู้ตัดความคะนองได้แล้ว ผู้ปราศจาก ตัณหาในภพใหญ่ได้อย่างไร เรามีปกติกล่าวอย่างนั้นมีปกติบอกอย่างนั้น.

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทัณฑปาณิศากยะ ได้สั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำหน้า ผากย่น เป็น ๓ รอย ถือไม้เท้ายันหลีกไป.

            [๒๔๔] ครั้งนั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น แล้วเสด็จ เข้าไปยังนิโครธาราม ประทับ ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย ครั้นแล้วตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลาย มารับสั่งว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะเล่าให้ฟัง เวลาเช้า เรานุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่ พระนครกบิลพัสดุ์ เพื่อบิณฑบาต ครั้นเสร็จจากการเที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยัง ป่ามหาวัน เพื่อพักในเวลากลางวัน ครั้นถึงแล้ว จึงนั่งพักกลางวัน ณ โคนต้นมะตูม หนุ่ม.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ทัณฑปาณิศากยะเสด็จเที่ยวเดินเล่น ได้เข้าไปยังป่ามหาวัน ครั้นแล้ว เข้าไป หาเรา ยังต้นมะตูมหนุ่ม ได้ปราศรัยกับเรา ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนยัน ไม้เท้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง และได้ถามเราว่า พระมหาสมณะ มีปกติกล่าวอย่างไร มีปกติบอกอย่างไร?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อทัณฑปาณิศากยะ กล่าวอย่างนั้นแล้ว เราได้ตอบว่า

ดูกรผู้มีอายุ บุคคลมีปกติกล่าวอย่างไร จึงจะไม่โต้เถียงกันกับผู้ใดผู้หนึ่งในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ดำรงอยู่ในโลก อนึ่ง สัญญาทั้งหลาย จะไม่ครอบงำพราหมณ์ ผู้ปราศจาก กามทั้งหลายนั้น ผู้ไม่ลังเล ผู้ตัดความคะนอง ได้แล้ว ผู้ปราศจากตัณหา ในภพน้อย ภพใหญ่ ได้อย่างไร เรามีปกติกล่าวอย่างนั้น มีปกติบอกอย่างนั้น.

เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว ทัณฑปาณิศากยะ สั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำหน้าผากย่นเป็น ๓ รอย ถือไม้เท้า ยันหลีกไป.

            [๒๔๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามขึ้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค มีปกติตรัสอย่างไร จึงไม่โต้เถียงกับผู้ใด ผู้หนึ่ง ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและ มนุษย์ ดำรงอยู่ในโลก อนึ่ง สัญญาทั้งหลาย จะไม่ครอบงำ พราหมณ์ ผู้ปราศจาก กามทั้งหลาย นั้น ผู้ไม่ลังเล ผู้ตัดความคะนอง ได้แล้ว ผู้ปราศจาก ตัณหา ในภพน้อย ภพใหญ่ได้อย่างไร?

พระผู้มีพระภาคตอบว่า ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียว เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุด แห่ง วิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่ง อวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง การด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรม อันลามก เหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น.

ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตเจ้าได้ตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย.


ทรงแสดงอุเทศโดยย่อ

            [๒๔๖] ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นก็บังเกิด ความสงสัยว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนแห่งสัญญา เครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะ เพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียวเป็นที่สุด แห่ง ราคานุสัย เป็นที่สุด แห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่ง วิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่ง มานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่ง อวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการ จับท่อนไม้

การจับศาตรา การทะเลาะการถือผิด การโต้เถียง การด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการ กล่าวเท็จ อกุศลธรรม อันลามกเหล่านี้ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความ ให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ใครหนอ จะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจง โดยพิสดาร ให้พิสดารได้.

ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นก็บังเกิดความคิดว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้แล อัน พระศาสดา ทรงยกย่องแล้ว และเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญแล้ว และท่าน พระมหา กัจจานะ สามารถ จะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดย พิสดาร ให้พิสดารได้ ผิฉะนั้น เราทั้งหลาย ควรพากันไปหาท่าน มหากัจจานะถึงที่อยู่แล้ว สอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะ.

ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน พระมหากัจจานะ ว่า

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว พากันนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง และ พูดกะ ท่านมหากัจจานะว่า ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ พระผู้มีพระภาคทรงแสดง อุเทศนี้ ไว้โดยย่อว่า

ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคล จะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้นอันนี้เทียวเป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุด แห่งทิฏฐานุสัย เป็นเป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง การด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมดับไปโดย ไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะ เข้าที่ประทับเสีย

ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน พวกผมได้บังเกิด ความสงสัยดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้ ไว้โดยย่อ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความ ให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ใครหนอจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรง ชี้แจงโดยพิสดาร ให้พิสดารได้

ข้าแต่ท่านพระกัจจานะผมเหล่านั้นก็บังเกิดความคิดว่า ท่านมหากัจจานะนี้อัน พระศาสดา ทรงยกย่อง แล้ว และเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ สรรเสริญแล้ว และท่าน มหากัจจานะนี้ สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่ง อุเทศ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้ โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ผิฉะนั้น เราทั้งหลาย ควรพากัน เข้าไปหา ท่านกัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กะท่าน มหากัจจานะดู ขอท่านมหากัจจานะจงชี้แจงไปเถิด.
------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๔๗] ท่านพระมหากัจจานะจึงกล่าวตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือน บุรุษผู้มีความ ต้องการแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ ก็ล่วงเลย โคนต้นและลำต้นของต้นไม้ใหญ่ อันมีแก่นเสีย สำคัญว่าจะพึงแสวงหา แก่น ที่กิ่ง และใบ ฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดา ทรงปรากฏอยู่เฉพาะ หน้า ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายก็ล่วงเลยพระองค์ไปเสียแล้ว กลับจะมาไต่ถาม เนื้อความนี้กะผม

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงรู้ทรงเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ เป็นผู้มี พระญาณ มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ เป็นผู้ประกาศเป็นผู้ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้ อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็นเวลา อันสมควร ที่ท่านทั้งหลาย จะทูลถามเนื้อความนี้ต่อ พระผู้มีพระภาคแท้ พระองค์ ทรงแก้ไขอย่างไร ท่านทั้งหลายก็ควรจำไว้อย่างนั้น.

ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวตอบว่า ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ พระผู้มีพระภาคทรงรู้ ทรงเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ เป็นผู้มีพยาน เป็นผู้มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้ อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็นเวลาอันสมควรที่กระผมทั้งหลาย จะทูลถามเนื้อความนี้ต่อ พระผู้มีพระภาคแท้ พระองค์ทรงแก้ไขอย่างไร กระผมทั้งหลายควรจำไว้ อย่างนั้น ก็จริงอยู่แล

แต่ว่า ท่านพระมหากัจจานะอันพระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และเพื่อน พรหมจรรย์ ผู้รู้สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหากัจจานะ ก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความ แห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้โดยย่อว่า ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ขอท่านพระมหากัจจานะจงชี้แจงไปเถิด อย่าทำความหนักใจให้เลย.

------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระมหากัจจานะแสดงอุเทศ(ยกขึ้นแสดง)โดยพิสดาร

            [๒๔๘] ท่านมหากัจจานะจึงกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ถ้าเช่นนั้น พวกท่าน จงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจะกล่าว.

ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว.

ท่านพระมหากัจจานะจึงกล่าวดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรง แสดงอุเทศไว้ โดยย่อว่า

ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าการที่ บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืนไม่มีในเหตุนั้นอันนี้แล
(อนุสัย ๗)

๑) เป็นที่สุดแห่ง ราคานุสัย (ความกำหนัด ในสันดาน ความพอใจในตา หู จมูก ลิ้น กาย)
๒) เป็นที่สุดแห่ง ปฏิฆานุสัย (ความพยาบาท โทสะ ที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน)
๓) เป็นที่สุดแห่ง ทิฏฐานุสัย (ความเห็นที่เป็นสัมมาทิฐิในหลักธรรม หรือ ที่เป็นมิจฉาทิฐิ)
๔) เป็นที่สุดแห่ง วิจิกิจฉานุสัย (ความสงสัย ในมรรคของพระศาสดา ว่าอาจไม่พ้นทุกข์)
๕) เป็นที่สุดแห่ง มานานุสัย (ความถือตัว เย่อหยิ่ง คิดว่าเราดีกว่าเขา)
๖) เป็นที่สุดแห่ง ภวราคานุสัย (ความกำหนัดในภพ เช่นพอใจที่จะเกิดเป็น เทวดา)
๗) เป็นที่สุดแห่ง อวิชชานุสัย (ความไม่รู้ ในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)
เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง การด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดย ไม่เหลือในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจง เนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะ เข้าที่ประทับเสีย

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมรู้ถึงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้ โดยย่อ ไม่ทรง ชี้แจง เนื้อความไว้โดยพิสดารนี้ ให้พิสดารได้อย่างนี้

๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จักขุวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัยตา และ รูป เพราะ ประชุมธรรม ๓ ประการ จึงเกิดผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
บุคคลเสวย เวทนาอันใด ก็จำเวทนาอันนั้น
บุคคลจำเวทนาอันใด ก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น
บุคคลตรึก ถึง เวทนาอันใด ก็เนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันนั้น
บุคคลเนิ่นช้า อยู่ที่เวทนาอันใด ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ก็ครอบงำบุรุษ เพราะเนิ่นช้า อยู่ที่เวทนานั้น เป็นเหตุในรูปทั้งหลาย ที่พึงจะรู้ด้วยตา เป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี.

๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียง ...
๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ฆานวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ...
๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรส ...
๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กายวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ...
๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์

เพราะประชุมธรรม ๓ ประการ จึงเกิดผัสสะ
เพราะผัสสะ เป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา
บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำเวทนาอันนั้น
บุคคลจำเวทนาอันใด ก็ตรึกถึงเวทนา อันนั้น
บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด ก็เนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันนั้น
บุคคลเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันใด ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ก็ครอบงำบุรุษ เพราะเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนานั้น เป็นเหตุในธรรมารมณ์ทั้งหลาย ที่จะพึงรู้ได้ด้วยใจ เป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็น ปัจจุบันก็ดี.

๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
เมื่อตามี รูปมี และจักขุวิญญาณมี เขาจักบัญญัติว่า ผัสสะ ข้อนี้มีฐานะที่จะมีได้
เมื่อการบัญญัติผัสสะมี เขาจักบัญญัติว่า เวทนา ข้อนี้เป็น ฐานะที่จะมีได้
เมื่อการบัญญัติว่าเวทนามี เขาจักบัญญัติ สัญญา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญามี เขาจักบัญญัติ วิตก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
เมื่อการบัญญัติวิตกมี เขาจักบัญญัติว่า การครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้เป็นฐานะ ที่จะมีได้.

๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อมีหู เสียงมี ...
๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจมูกมี กลิ่นมี ...
๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อลิ้นมี รสมี ...
๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกายมี โผฏฐัพพะมี ...
๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใจมี ธรรมารมณ์มี และมโนวิญญาณมี
เขาจักบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะมี เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการ บัญญัติเวทนามี เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้เมื่อการบัญญัติสัญญามี เขาจักบัญญัติ ว่า วิตก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตกมี เขาจักบัญญัติว่าการครอบงำ ส่วนแห่งสัญญา เครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
เมื่อตาไม่มี รูปไม่มีและจักขุวิญญาณไม่มี เขาจักบัญญัติว่าผัสสะข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้
เมื่อการบัญญัติ ผัสสะไม่มี เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้
เมื่อการ บัญญัติ เวทนาไม่มี เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้มิใช่ ฐานะที่จะมีได้
เมื่อการบัญญัติ สัญญาไม่มี เขาจัก บัญญัติว่าวิตก ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะ มีได้
เมื่อการบัญญัติ วิตกไม่มีขาจักบัญญัติว่าการครอบงำ ส่วนแห่งสัญญาเครื่อง เนิ่นช้า ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อหูไม่มี เสียงไม่มี ...
๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจมูกไม่มี กลิ่นไม่มี ...
๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อลิ้นไม่มี รสไม่มี ...
๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกายไม่มี โผฏฐัพพะไม่มี ...
๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใจไม่มี ธรรมารมณ์ไม่มี และมโนวิญญาณไม่มีเขาจักบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติ ผัสสะไม่มี เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนา ไม่มี เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญาไม่มี เขาจัก บัญญัติว่าวิตก ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตกไม่มี เขาจักบัญญัติ ว่า การครอบงำ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญา เครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคล จะเพลิดเพลิน ยึดถือกล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียว เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุด แห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับต้นไม้

การจับศาสตรา การทะเลาะการถือผิด การโต้เถียงกัน การด่าว่ากัน การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไป โดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุ นั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมรู้ถึงเนื้อความแห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้ โดยย่อนี้ ไม่ทรง ชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร ให้พิสดารได้อย่างนี้.

ก็แลเมื่อท่านทั้งหลายปรารถนา ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถาม เนื้อความ นั้น พระผู้มีพระภาค ท รงพยากรณ์ประการใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำข้อนั้น ไว้โดย ประการนั้นเถิด.

            [๒๔๙] ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิต ของท่านมหากัจจานะ แล้วลุก จากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศไว้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุ ส่วนแห่ง สัญญา เครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียว เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่ง ปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่ง วิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งม านานุสัย เป็นที่สุด แห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุด แห่งการจับ ท่อนไม้

การจับศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียงกัน การด่าว่ากัน การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุ นั้น ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร แล้วเสด็จลุกจากอาสนะ เข้าที่ประทับเสีย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคหลีกไปไม่นาน พวกข้าพระองค์ ได้บังเกิด ความสงสัยดังนี้ว่า

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้ ไว้โดยย่อ ...ไม่ทรงชี้แจง เนื้อความ ให้พิสดาร แล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ใครหนอ จะชี้แจง เนื้อความ แห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อนี้ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความ ไว้โดยพิสดาร ให้พิสดารได้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ก็บังเกิดความคิดขึ้นว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้ อันพระศาสดา ทรงยกย่องแล้ว และเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญแล้ว และท่าน พระมหากัจจานะ ก็สามารถจะชี้แจง เนื้อความแห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้ โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร ให้พิสดารได้ผิฉะนั้น เราทั้งหลายจะพากัน ไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้ กะท่านพระมหากัจจานะดู.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้นเอง ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พากันเข้าไปหาท่าน มหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระมหากัจจานะได้ชี้แจงเนื้อความด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบท เหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่พวกข้าพระองค์.

ทรงสรรเสริญพระมหากัจจานะ

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหากัจจานะเป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญามาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้พวกเธอจะถามเนื้อความนี้กะเรา แม้เราก็จะพึงพยากรณ์เนื้อความ นั้น เหมือนกับ ที่พระมหากัจจานะพยากรณ์แล้วนั้น นี่แหละเป็นเนื้อความแห่งข้อนั้น เธอทั้งหลาย จงจำ ทรงข้อนั้นไว้เถิด.

            [๒๕๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงกราบทูล พระผู้มี พระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ถูกความหิว ความเหนื่อยอ่อน ครอบงำ ได้ขนมหวาน แล้วกิน ในเวลาใด ก็พึงได้รับรสอัน อร่อย หวานชื่นชูใจในเวลานั้น ฉันใด

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนักคิด ชาติบัณฑิต พึงใคร่ครวญเนื้อความแห่ง ธรรม บรรยาย นี้ ด้วยปัญญา ในเวลาใด ก็พึงได้ความพอใจ และได้ความเลื่อมใสแห่งใจใน เวลานั้น ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร.

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ เหตุดังนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า มธุปิณฑิกปริยาย ดังนี้เถิด.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจชื่นชม ยินดี ภาษิตของ พระผู้มีพระภาค แล้วแล.

จบ มธุปิณฑิกสูตร ที่ ๘

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์