พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๗๔๑
อนิยต สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระอุทายีกับนางวิสาขา มิคารมาตา
(อุทายีนั่งในที่ลับกับสตรี)
[๖๓๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถ บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นท่านพระอุทายีเป็น พระ ประจำสกุล ในพระนครสาวัตถีเข้าไปหาสกุลเป็นอันมาก สมัยนั้น สาวน้อยแห่งสกุล อุปัฏฐาก ของท่านพระอุทายี เป็นสตรีที่ มารดาบิดายกให้แก่หนุ่มน้อยของสกุลหนึ่ง
ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป หาสกุลนั้น ครั้นแล้วจึงไต่ถามพวกชาวบ้านว่า สาวน้อยผู้มีชื่อนี้อยู่ไหน พวกชาวบ้าน ตอบอย่างนี้ ว่า พวกข้าพเจ้าได้ยกให้แก่หนุ่มน้อยของสกุลโน้นแล้ว เจ้าข้า
แม้สกุลนั้นแล ก็เป็นอุปัฏฐากของท่านพระอุทายี จึงท่านพระอุทายีเข้าไปหา สกุลนั้น ครั้นแล้วจึงถามพวกชาวบ้านว่า
สตรีผู้มีชื่อนี้ อยู่ไหน?
พวกชาวบ้านตอบว่า นางนั่งอยู่ ในห้องเจ้าข้า
จึงท่านพระอุทายีเข้าไปหาสาวน้อยนั้น
ครั้นแล้วสำเร็จการนั่งในที่ลับคือในอาสนะ กำบังซึ่งพอจะทำการ ได้กับสาวน้อย นั้น หนึ่งต่อหนึ่ง เจรจากล่าวธรรมอยู่ ควรแก่เวลา.
[๖๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล นางวิสาขา มิคารมาตา เป็นสตรีมีบุตรมาก มีนัดดามาก มีบุตร ไม่มีโรค มีนัดดาไม่มีโรค ซึ่งโลกสมมติว่าเป็นมิ่งมงคล พวก ชาวบ้าน เชิญนาง ไปให้รับประทานอาหารก่อนในงานบำเพ็ญกุศล งานมงคล งานมหรสพ
ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตา ได้ถูกเชิญไปสู่สกุลนั้น นางได้เห็นพระอุทายี นั่งใน ที่ลับ คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับหญิงสาวนั้น หนึ่งต่อหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุทายีว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า การที่พระคุณเจ้าสำเร็จ การนั่ง ในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่ควร แม้พระคุณเจ้าจะไม่ต้องการด้วยธรรมนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น พวกชาวบ้านผู้ที่ไม่เลื่อมใส จะบอกให้เชื่อได้โดยยาก
ท่านพระอุทายี แม้ถูกนางวิสาขา มิคารมาตา ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ก็มิได้ เชื่อฟัง เมื่อ นางวิสาขา มิคารมาตา กลับไปแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายี จึงได้สำเร็จการนั่ง ในที่ลับ คือใน อาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความ นั้นแด่พระผู้มีพระภาคประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า
ดูกรอุทายี ข่าวว่า เธอสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะ ทำการได้กับ มาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง จริงหรือ?
ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง ติเตียนว่า
ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอจึงได้ สำเร็จการนั่ง ในที่ลับ คือในอาสนะ กำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง เล่า การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยัง ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำ ของเธอนั้น เป็นไปเพื่อ ความไม่ เลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่น ของชนบางพวก ที่เลื่อมใสแล้ว
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว ตรัสโทษ แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคน ไม่สันโดษความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคน เลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่ายความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการ ที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสมการปรารภความเพียร โดยอเนกปริยายแล้ว ทรงกระทำ ธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย
อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ ๑๘. ๑.
อนึ่ง ภิกษุใดรูปเดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการ ได้กับ มาตุคามผู้เดียว อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้ เห็นภิกษุกับมาตุคาม นั้น นั่นแล้ว พูดขึ้นด้วย ธรรม ๓ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกก็ดี ด้วยสังฆาทิเสส ก็ดี ด้วย ปาจิตตีย์ ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วย ธรรม ๓ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ด้วยปาราชิกบ้าง ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วย ธรรมนั้น ธรรมนี้ ชื่อ อนิยต.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๗๔๘
อนิยต สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระอุทายี กับนางวิสาขา มิคารมาตา
[๖๔๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอานาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสารวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีดำริว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะการทำได้ กับมาตุคามหนึ่งต่อหนึ่ง จึงสำเร็จการนั่งในที่ลับ กับสาวน้อยคนนั้นแล หนึ่งต่อหนึ่ง เจรจากล่าวธรรมอยู่ ควรแก่เวลา
แม้ครั้งที่สองแล นางวิสาขา มิคารมาตา ก็ได้ถูกเชิญไปสู่สกุลนั้น นางได้เห็นท่าน พระอุทายีนั่งในที่ลับ กับสาวน้อยนั้นแล หนึ่งต่อหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กล่าวคำนี้ กะท่าน พระอุทายีว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า การที่พระคุณเจ้านั่งในที่ลับ กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง เช่นนี้ ไม่เหมาะไม่ควร พระคุณเจ้าแม้ไม่ต้องการ ด้วยธรรมนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น พวกชาวบ้านผู้ที่ไม่เลื่อมใสจะบอกให้เชื่อได้โดยยาก
ท่านพระอุทายี แม้ถูกนางวิสาขา มิคารมาตา ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ก็มิได้เชื่อฟัง
เมื่อนางวิสาขา มิคารมาตากลับไปแล้ว ได้แจ้งนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อ สิกขา ต่างก็พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายี จึงได้สำเร็จ การนั่ง ในที่ลับกับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาค
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูกรอุทายี ข่าวว่า เธอสำเร็จการนั่งในที่ลับกับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง จริงหรือ?
ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า
ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจ ของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ
ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง เล่า การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำ ของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความ ไม่เลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความ เป็นอย่างอื่น ของชน บางพวก ที่เลื่อมใสแล้ว
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว ตรัสโทษ แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคน ไม่สันโดษความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคน เลี้ยงง่าย ความ เป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยเอนกปริยาย แล้วทรงกระทำ ธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะแก่เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย
อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอวัยวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ ๑๙. ๒.
อนึ่ง สถานหาเป็นอาสนะกำบังไม่เลยทีเดียว หาเป็นที่พอจะทำการได้ไม่ แต่เป็นที่พอ จะพูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบได้อยู่ แล ภิกษุใดรูปเดียว สำเร็จการนั่งใน ที่ลับ กับด้วยมาตุคามผู้เดียว ในอาสนะมีรูปอย่างนั้น อุบาสิกามีวาจา ที่เชื่อได้เห็น ภิกษุ กับ มาตุคามนั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วย สังฆาทิเสส ก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วย
ธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วย สังฆาทิเสสบ้าง ด้วย ปาจิตตีย์บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกา มีวาจาที่เชื่อได้นั้นกล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วย ธรรมนั้น แม้ธรรมนี้ก็ชื่อ อนิยต.
เรื่องพระอุทายี กับนางวิสาขา จบ.
|