เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  เมถุนสูตร ข้อห้ามเรื่องการใกล้ชิด คลุกคลีกับมาตุคาม 1169
 

(โดยย่อ)

เมถุนสูตร (ข้อห้ามเรื่องการใกล้ชิด คลุกคลีกับมาตุคาม)

ภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์
ต้องไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวเรา นั่นแล เพราะเราประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์ เต็มที่

ข้อห้ามของภิกษุ กับมาตุคาม
1.ไม่ร่วมความเป็นคู่ๆ กับมาตุคาม (ไม่เดินมาเป็นคู่ๆ ไม่นั่ง-ยืน สนทนากันเป็นคู่ๆ)
2.ไม่ยินดีการขัดสี ลูบไล้ให้อาบน้ำ การนวดฟั้นของมาตุคาม พอใจ ชอบใจ กับการบำเรอนั้น
3.ไม่กระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจด้วยการเสสรวลนั้น
4.ไม่เพ่งดูจ้องดู จักษุแห่งมาตุคาม ด้วยความพอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจ ด้วยการเล็งแล นั้น
5.ไม่ฟังเสียงมาตุคามหัวเราะ ขับร้อง ร้องไห้ ข้างนอกฝา นอกกำแพงก็ดี ด้วยความพอใจ ชอบใจ
6.ไม่ตามนึกถึง(สัญญา) การหัวเราะ พูดเล่นหัว กับมาตุคาม ในกาลก่อน ด้วยความพอใจ ชอบใจ
7.ไม่เกิดความพอใจ ปลึ้มใจ ที่ได้เห็นคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี ผู้เอิบอิ่มด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตน
8.ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเป็นเทพเทพองค์ใดองค์หนึ่ง โดยพอใจกับความปรารถนานั้น

เรากล่าวว่า การประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมถุนสังโยค ย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้นไปจากกองทุกข์ได้


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎกไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๕๐-๕๒ ข้อที่ ๔๗

เมถุนสูตร
(ข้อห้ามเรื่องการใกล้ชิด คลุกคลีกับมาตุคาม)


           ครั้งนั้นแล ชานุสโสณีพราหมณ์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า แม้ท่านพระโคดมก็ทรงปฏิญาณว่าเป็น พรหมจารีหรือ ?

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวผู้ใดว่า ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์ บุคคลนั้น เมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวเรานั่นแล เพราะเราประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์ เต็มที่ ฯ

ช.ข้าแต่พระโคดม ก็อะไรชื่อว่า ขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ?

ดูกรพราหมณ์ ถูกแล้ว สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตนว่าเป็น พรหมจารี โดยชอบ ไม่ร่วมความเป็นคู่ๆกับมาตุคาม แต่ยังยินดีการขัดสี ลูบไล้ ให้อาบน้ำ และการนวดฟั้นของมาตุคาม พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจด้วยการบำเรอ นั้น แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า ขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วย เมถุนสังโยค ไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้นไปจากกองทุกข์ได้ ฯ

ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตน ว่า เป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความเป็นคู่ๆกับมาตุคาม และไม่ยินดีการขัดสี ลูบไล้ ให้อาบน้ำ และการนวดฟั้นของมาตุคาม แต่ยังกระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับ มาตุคาม พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจด้วยการเสสรวลนั้น แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า ขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ฯลฯ

ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตน ว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความเป็นคู่ๆกับมาตุคาม และไม่กระซิกกระซี้ เล่นหัว
สัพยอกกับมาตุคามแต่เพ่งดูจ้องดู จักษุแห่งมาตุคามด้วย จักษุของตน พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจด้วยการเล็งแลนั้น แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า ขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่ง พรหมจรรย์ ฯลฯ

ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตน ว่า เป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความเป็นคู่ๆกับมาตุคาม ฯลฯ ไม่เพ่งดู จ้องดู จักษุแห่ง มาตุคามด้วยจักษุของตนแต่ได้ฟังเสียงมาตุคามหัวเราะอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้ อยู่ ก็ดี ข้างนอกฝาก็ดี ข้างนอกกำแพงก็ดี พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจ ด้วยเสียง นั้น แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า ขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ฯลฯ

ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตน ว่า เป็น พรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความเป็นคู่ๆกับมาตุคาม ฯลฯ และไม่ได้ฟังเสียง แห่ง มาตุคามหัวเราะอยู่ก็ดี พูดอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี ข้างนอกฝาก็ดี ข้างนอก กำแพงก็ดีแต่ตามนึกถึงการหัวเราะ พูดเล่นหัว กับมาตุคามในกาลก่อน พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจด้วยอาการนั้น แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า ขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ฯลฯ

ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตน ว่า เป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความเป็นคู่ๆกับมาตุคาม ฯลฯ และไม่ได้ตามนึกถึง การหัวเราะ การพูด การเล่นหัวกับมาตุคามในกาลก่อนแต่ได้เห็นคฤหบดี บุตรแห่ง คฤหบดีก็ดี ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ พอใจ ชอบใจ ถึงความ ปลื้มใจด้วยการบำเรอนั้น แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า ขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ฯลฯ

ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตน ว่า เป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความเป็นคู่ๆกับมาตุคาม ฯลฯ และไม่ได้เห็นคฤหบดี ก็ดี บุตรแห่งคฤหบดีก็ดี ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่
แต่ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งปรารถนาเพื่อเป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจด้วยความปรารถนานั้น แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า ขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์

ดูกรพราหมณ์ ผู้นี้เรากล่าวว่า ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมถุนสังโยค ไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้นไปจากกองทุกข์ได้ ฯ.






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์