เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  สักกะสูตร (ว่าด้วยการรักษาอุโบสถ) ภิกษุไม่พึงประมาท มีความเพียร มีจิตมุ่ง พระนิพพาน 1168
  (ย่อ)

อุโบสถ ๘ ประการ
พ. ดูก่อนชาวสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายรักษาอุโบสถอันประกอบด้วย องค์ ๘ กันบ้างไหม... ชาวสักกะทูลว่า บางคราว ก็รักษา บางคราว ก็ไม่ได้รักษา

พ. นั่นไม่ใช่ลาภของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่ได้ดีแล้ว ที่ท่านทั้งหลาย เมื่อชีวิต มีภัยเพราะ ความโศกมีภัยเพราะความตายอยู่อย่างนี้ บางคราวก็รักษาอุโบสถด้วยองค์ ๘ บางคราวก็ไม่ได้รักษา

สาวกของเราในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมุ่ง พระนิพพาน ปฏิบัติตามที่เรา พร่ำสอน อยู่ตลอด ๙ คืน ๙ วัน ๘ คืน ๘ วัน ๗ คืน ๗ วัน ๖ คืน ๖ วัน ๕ คืน ๕ วัน ๔ คืน ๔ วัน ๓ คืน ๓ วัน ๒ คืน ๒วัน ๑ คืน ๑ วัน

พึงเป็นผู้เสวย ความสุข โดยส่วนเดียวอยู่ได้ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี ๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และ สาวกของเรา นั้นแลได้ เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบัน ปฏิบัติไม่ผิด ก็มี

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๗๖

สักกะสูตร (ว่าด้วยการรักษาอุโบสถ)

          สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนคร กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแลเป็นวันอุโบสถ อุบาสกชาวสักกะ เป็นอันมาก ได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามพวกอุบาสกชาวสักกะว่า

“ดูก่อนชาวสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายรักษาอุโบสถอันประกอบด้วย องค์ ๘ กันบ้างไหม”

อุบาสกชาวสักกะเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บางคราว พวกข้าพระองค์ ก็รักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ บางคราวก็ไม่ได้รักษา

“ดูก่อนชาวสักกะทั้งหลาย ไม่ใช่ลาภของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่ได้ดีแล้ว ที่ท่านทั้งหลายเมื่อชีวิต มีภัยเพราะความโศก มีภัยเพราะความตายอยู่อย่างนี้ บางคราว ก็รักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ บางคราวก็ไม่ได้รักษา

ดูก่อนชาวสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษในโลกนี้ พึงหาทรัพย์ได้ วันละกึ่งกหาปณะทุกวัน ด้วยการงานอันชอบ โดยไม่แตะต้อง อกุศล เลย สมควรจะกล่าวได้ไหมว่า เป็นบุรุษผู้ฉลาดมีความขยันหมั่นเพียร”

“สมควรกล่าวได้อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ทรงอุปมา)

1)           “ดูก่อนชาวสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษในโลกนี้ พึงหาทรัพย์ได้ วันละหนึ่งกหาปณะทุกวัน ด้วยการงานอันชอบ โดยไม่แตะต้อง อกุศลเลย สมควรจะกล่าวได้ไหมว่า เป็นบุรุษผู้ฉลาดมีความขยัน หมั่นเพียร” “สมควรกล่าวได้อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

2)
          “ดูก่อนชาวสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็น ไฉน บุรุษในโลกนี้ พึงหาทรัพย์ได้ วันละ ๒ กหาปณะ ๓ กหาปณะ ๔ กหาปณะ ๕ กหาปณะ ๖ กหาปณะ ๗ กหาปณะ ๘ กหาปณะ ๙ กหาปณะ ๑๐ กหาปณะ ๒๐ กหาปณะ ๓๐ กหาปณะ ๔๐ กหาปณะ ๕๐ กหาปณะ ๑๐๐ กหาปณะทุกวัน ด้วย การงาน อันชอบ โดยไม่แตะต้อง อกุศลเลย สมควรจะ กล่าวได้ไหมว่า เป็นบุรุษ ผู้ฉลาด มีความขยัน หมั่นเพียร” “สมควรกล่าวได้อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า’

3)
          “ดูก่อนชาวสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้น เมื่อหา ทรัพย์ได้วันละ ๑๐๐ กหาปณะ ๑,๐๐๐ กหาปณะทุกวัน เก็บทรัพย์ ที่ตนได้ ๆ มาแล้วไว้ เป็นผู้มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี จะพึงได้พบกองโภคสมบัติ ใหญ่บ้างได้ ไหมหนอ“พึงเป็นอย่างนั้นได้ พระพุทธเจ้าข้า”

4)
          “ดูก่อนชาวสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึง เป็นผู้เสวยความสุขโดยส่วนเดียว อยู่ตลอดหนึ่งคืน หรือตลอด หนึ่งวัน หรือตลอดครึ่งวัน อันมีโภคสมบัติเป็นเหตุ มีโภคสมบัติเป็นแดนเกิด มีโภคสมบัติเป็น ที่ตั้งได้บ้างไหม หนอ” “มิได้เป็นอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะกามทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง เป็นของว่างเปล่า เป็นของ หลอกลวง เป็นของมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา”

5)
         “ดูก่อนชาวสักกะทั้งหลาย ส่วนสาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ ประมาท มีความเพียร มีจิตมุ่งพระนิพพาน ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอน อยู่ตลอด ๑๐ ปี พึงเป็นผู้เสวย ความสุขโดยส่วนเดียวอยู่ได้ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี ๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และ สาวกของเรานั้นแล ได้เป็นสกทาคามีก็มี เป็น อนาคามีก็มี เป็นโสดาบัน ปฏิบัติไม่ผิดก็มี ดูก่อนชาวสักกะทั้งหลาย ๑๐ ปี จงยกไว้

6)
         สาวกของเราในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมุ่ง พระนิพพาน
ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด ๙ ปี ๘ ปี ๗ ปี ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี พึงเป็นผู้ เสวยความสุขโดยส่วนเดียวอยู่ได้ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี ๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแลได้เป็นสกทาคามีก็มีเป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบัน ปฏิบัติไม่ผิด ก็มี ดูก่อนชาวสักกะทั้งหลาย ๑ ปี จงยกไว้

7)
         สาวกของเราในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมุ่ง พระนิพพาน ปฏิบัติตามที่เราพรํ่าสอนอยู่ตลอด ๑๐ เดือน พึงเป็นผู้เสวยความสุข โดยส่วนเดียว อยู่ได้ ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี ๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และสาวก ของเรา นั้นแล ได้เป็นสกทาคามี ก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันปฏิบัติไม่ผิดก็มี ดูก่อนชาวสักกะทั้งหลาย ๑๐ เดือนจงยกไว้

8)        สาวกของเราในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมุ่ง พระนิพพาน ปฏิบัติตามที่เราพรํ่าสอนอยู่ตลอด ๙ เดือน ๘ เดือน ๗ เดือน ๖ เดือน ๕ เดือน ๔ เดือน ๓ เดือน ๒ เดือน ๑ เดือน ครึ่งเดือน พึงเป็นผู้เสวยความสุขโดย ส่วนเดียว อยู่ได้ ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี ๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และสาวกของเรา นั้นแลได้เป็น สกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบัน ปฏิบัติไม่ผิดก็มี ดูก่อนชาวสักกะ ทั้งหลาย ครึ่งเดือนจงยกไว้

9)         สาวกของเราในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมุ่ง พระนิพพาน ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด ๑๐ คืน ๑๐ วัน พึงเป็นผู้เสวย ความสุข โดย ส่วนเดียว อยู่ได้ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี ๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และสาวกของเรา นั้นแล ได้เป็น สกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันปฏิบัติ ไม่ผิดก็มี ดูก่อน ชาวสักกะทั้งหลาย ๑๐ คืน ๑๐ วันจงยกไว้

10)       สาวกของเราในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมุ่ง พระนิพพาน ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด ๙ คืน ๙ วัน ๘ คืน ๘ วัน ๗ คืน ๗ วัน ๖ คืน ๖ วัน ๕ คืน ๕ วัน ๔ คืน ๔ วัน ๓ คืน ๓ วัน ๒ คืน ๒วัน ๑ คืน ๑ วัน พึงเป็นผู้เสวย ความสุข โดยส่วนเดียวอยู่ได้ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี ๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และ สาวกของเรา นั้นแลได้เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันปฏิบัติไม่ผิด ก็มี

ดูก่อนชาวสักกะทั้งหลาย ไม่ใช่ลาภของท่านทั้งหลายแล้ว ท่านทั้งหลายไม่ได้ ดีแล้ว ที่ท่านทั้งหลาย เมื่อชีวิตมีภัยเพราะความโศก มีภัยเพราะความตายอยู่ อย่างนี้ บางคราวก็รักษา อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ บางคราวก็ไม่รักษา”






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์