พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๒๔๙ - ๒๕๔
แก้ว ๗ ประการ
พาลบัณฑิตสูตร (ย่อ)
พระราชามหากษัตริย์ในโลกนี้ ผู้ทรงได้ มุรธาภิเษกแล้ว ทรงสรงสนาน และ ทรงรักษาอุโบสถในดิถีที่ ๑๕ เมื่อประทับอยู่ในพระมหาปราสาทชั้นบน ย่อมปรากฎ แก้ว ๗ ประการ และความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง คือ
1. จักรแก้ว มี กำตั้งพัน พร้อมด้วยกง และดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ทรงรู้ เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิหรือหนอ
...ทรงจับพระเต้าน้ำ ด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงหลั่งรดจักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา รับสั่งว่า จงพัดผันไปเถิดจักรแก้ว ผู้เจริญจักรแก้วผู้เจริญ จงพิชิตให้ยิ่งเถิด
...
พระเจ้าจักรพรรดิ พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา (กองทัพ ๔ เหล่า เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ) ก็เสด็จตามจักรแก้วไป เมื่อจักรแก้ว ประดิษฐานอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิ ก็เสด็จเข้าประทับ ณ ประเทศนั้น
... ราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออก เข้ามาเฝ้าฯแล้วทูลว่ามหาราชเสด็จมาดีแล้ว ข้าแต่มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ ขอพระองค์จงสั่งการเถิด พระเจ้าจักรพรรดิ รับสั่งว่า ท่านทุกคนไม่ควร ฆ่าสัตว์ ไม่ควรลักทรัพย์ ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่มน้ำเมา (สิกขาบท ๕ ประการ)
...จากนั้น จักรแก้วได้พัดไปจดสมุทรด้านทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และ ทิศเหนือ พร้อมเหล่าเสนา พร้อมรับสั่งให้เป็นผู้มีศีล ๕..
จักรแก้วได้พิชิตตลอด แผ่นดิน มีสมุทรเป็นขอบเขต แล้วกลับมาสู่ราชธานี ประดิษฐานภายในพระราชวัง
2.ช้างแก้ว เป็นช้างหลวง ชื่อ อุโบสถเผือก ทั่วสรรพางค์กาย อวัยวะทั้งเจ็ดถูกต้อง ดี มีฤทธิ์เหาะได้
ทรงทอดพระเนตรแล้วโปรดปราน จึงลองขึ้นทรงในเวลาเช้า เวียน รอบปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขต แล้วเสด็จกลับมาเสวยพระกระยาหารเช้าได้ทันเวลา
3. ม้าแก้ว เป็นอัสวราช ชื่อ วลาหก ขาวปลอด ศีรษะดำเหมือนกา เส้นผมสลวย เหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้ ทรงทอดพระเนตรแล้วโปรดปราน จึงลองขึ้นทรง ในเวลาเช้า เสด็จเวียนรอบปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขต แล้วเสด็จกลับมาราชธานีเดิม ทรงเสวยพระกระยาหาร เช้าได้ทันเวลา
4.มณีแก้ว เป็นแก้วไพฑูรย์ งามโชติช่วง แปดเหลี่ยม เจียระไนดี มีแสงสว่างแผ่ไป โยชน์หนึ่งโดยรอบ (๑๖ กม.) ทรงทดลองมณีแก้ว สั่งให้ยกมณีขึ้นเป็นยอดธง แล้วให้ เคลื่อนพลไปในความมืด ชาวบ้านที่อยู่รอบเห็นความสว่าง จนนึกว่าเป็นกลางวัน
5. นางแก้ว รูปงาม ผิวพรรณงาม ไม่สูงไม่ต่ำนัก ไม่ผอมไม่อ้วนนัก ไม่ดำไม่ขาวนัก ไม่ต่างไปจากมนุษย์ แต่ไม่ถึงผิวพรรณทิพ สัมผัสกายเหมือนปุยนุ่น ตัวอุ่นใน คราวหนาว ตัวเย็นในคราวร้อน กายมีกลิ่นจันทร ปากมีกลิ่นอุบล ตื่นก่อน นอนทีหลัง ประพฤติเป็นที่ถูกพระทัย ปราศรัยเป็นที่โปรดปราน ไม่ประพฤติล่วงเกิน ทั้งกายและใจ
6. คฤหบดีแก้ว ผู้มีจักษุเพียงดังทิพ ทำหน้าที่การคลัง ทรงทดสอบโดยเสด็จ ลงเรือไปกลางแม่น้ำคงคา รับสั่งว่าฉันต้องการเงินและทอง คฤหบดีฯ กราบทูลว่า โปรดเทียบเรือเข้าฝั่งเถิด พระองค์ตรัสว่า ฉันต้องการตรงนี้แหละ คฤหบดีฯจึงเอามือ หย่อนลงในน้ำ ยกหม้อที่เต็มไปด้วยเงินและทองขึ้นมา แล้วกราบทูลว่าเท่านี้พอหรือ ยัง ทรงรับสั่งว่า พอละใช้ได้แล้วบูชาได้แล้ว
7. ปริณายกแก้ว ปริณายกนั้นเป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา สามารถถวาย ข้อแนะนำ ให้พระองค์ทรงบำรุง ผู้ที่ควรบำรุง ทรงถอดถอนผู้ที่ควรถอดถอน ทรงแต่งตั้งผู้ที่ควรแต่งตั้ง เข้าเฝ้าแล้วกราบทูลว่า ขอพระองค์ จงเป็นผู้ขวนขวายน้อย เถิด ข้าพระองค์จักสั่งการถวาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ นี้
จบ แก้ว ๗ ประการ
พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผล ๔ อย่างเป็นไฉน ฯ
1.พระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้ ย่อมทรงพระสิริโฉม งดงาม น่าดูน่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงาม แห่งพระฉวีวรรณ อย่างยิ่งเกินมนุษย์ อื่นๆ
2
พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมทรงพระชนมายุยืน ทรงดำรงอยู่นานเกินมนุษย์อื่นๆ(ยุคนั้น)
3. พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมเป็นผู้มี พระโรคาพาธน้อย ไม่ทรงลำบาก ทรงประกอบ ด้วยพระเตโชธาตุ ย่อยพระกระยาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เกินมนุษย์อื่นๆ
4. พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมทรงเป็น ที่รักใคร่ พอใจ ของพราหมณ์และคฤหบดี เหมือนบิดา เป็นที่รักใคร่พอใจ ของบุตร ฉะนั้น
อุปมา
[๕๐๑] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหยิบแผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ แล้วตรัสถาม ภิกษุทั้งหลายว่า พวกเธอจะสำคัญความ ข้อนั้น เป็นไฉน แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่เราถือนี้ กับภูเขาหลวงหิมพานต์ อย่างไหน หนอแล ใหญ่กว่ากัน ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่ทรงถือนี้ มีประมาณ น้อยนัก เปรียบเทียบภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึง แม้ส่วน แห่งเสี้ยวย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ ฯ
ฉันนั้นเหมือนกันแล พระเจ้าจักรพรรดินี้ ทรงประกอบด้วย
แก้ว ๗
ประการ และความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง ย่อมทรงเสวยสุข โสมนัสอันมีสิ่ง ประกอบ นั้น เป็นเหตุ ได้สุขโสมนัสนั้นเปรียบเทียบสุขอันเป็นทิพย์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้การนับ ย่อมไม่เข้าถึง แม้ส่วน แห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ ฯ
ดูพระสูตรเต็ม
|