เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ความตระหนี่ ๕ อย่าง (มัจฉริยะ) ความตระหนี่ธรรม เป็นความตระหนี่ที่น่าเกลียดยิ่ง 1120

 


ความตระหนี่ ๕ ประการ
1.ความตระหนี่ที่อยู่  
2.ความตระหนี่สกุล
3.ความตระหนี่ลาภ  
4.ความตระหนี่วรรณะ
5.ความตระหนี่ธรรม (เป็นความน่าเกลียดยิ่ง)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

มัจฉริยะ
หมายถึง ความหวง ความตระหนี่ ความคิดกีดกันไม่ให้ผู้อื่นได้ดี มี 5 อย่างคือ

1. อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่ หมายถึง ความหวงถิ่นที่อยู่ ไม่พอใจให้คนต่างชาติ ต่างนิกาย เข้ามาอยู่อาศัยด้วย

2. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล หมายถึง ความหวงสกุล โดยไม่ยอมให้สกุลอื่น เข้ามาเกี่ยวดองด้วย หรือความหวง กุลอุปัฏฐากของภิกษุ ไม่พอใจให้บำรุงภิกษุอื่น คอยเกียดกันเสีย

3. ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ หมายถึง หวงผลประโยชน์ หาทางกีดกัน ไม่ให้ ลาภ หรือ ผลประโยชน์เกิดขึ้น แก่บุคคลอื่น

4. วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ
หมายถึง ความหวงคุณงามความดี ไม่ต้องการ ให้ผู้อื่นมีความดี กว่าตน หรือหวงความงามของร่างกายไม่อยากให้ผู้อื่น มีความงาม ทางร่างกาย เป็นต้น

5. ธัมมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม
หมายถึง หวงวิชาความรู้ และคุณพิเศษที่ได้บรรลุ ไม่ยอมสอน ไม่ยอมบอกผู้อื่น เพราะกลัวเขาจะรู้เท่าเทียมตน หรือ รู้มากกว่าตน

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๕๐-๒

ความตระหนี่ ๕ อย่าง (มัจฉริยะ)

[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความตระหนี่ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ความตระหนี่ที่อยู่ ๑
ความตระหนี่สกุล (อุปัฏฐาก) ๑
ความตระหนี่ลาภ ๑
ความตระหนี่วรรณะ ๑
ความตระหนี่ธรรม


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความตระหนี่ ๕ ประการนี้ ความตระหนี่ที่น่าเกลียดยิ่ง คือ ความตระหนี่ธรรม

[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อบรรลุทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ... อนาคามิผล ... อรหัตผล

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน ไม่ควรเพื่อ บรรลุทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตผล

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ความตระหนี่ที่อยู่ ๑
ความตระหนี่สกุล ๑
ความตระหนี่ลาภ ๑
ความตระหนี่วรรณะ ๑
ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

มัจฉริยะ หมายถึง ความหวง ความตระหนี่ ความคิดกีดกันไม่ให้ผู้อื่นได้ดี มี 5 อย่างคือ

    1. อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่ หมายถึง ความหวงถิ่นที่อยู่ ไม่พอใจให้คน ต่างชาติต่างนิกายเข้ามาอยู่อาศัยด้วย

    2. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล หมายถึง ความหวงสกุลโดยไม่ยอมให้สกุลอื่น เข้ามาเกี่ยวดองด้วย หรือความหวง กุลอุปัฏฐากของภิกษุ ไม่พอใจให้บำรุงภิกษุอื่น คอยเกียดกันเสีย

    3. ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ หมายถึง หวงผลประโยชน์ หาทางกีดกัน ไม่ให้ ลาภ หรือ ผลประโยชน์เกิดขึ้นแก่บุคคลอื่น

    4. วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ หมายถึง ความหวงคุณงามความดี ไม่ต้องการ ให้ผู้อื่นมีความดีกว่าตน หรือหวงความงามของร่างกายไม่อยากให้ผู้อื่น มีความงาม ทางร่างกาย เป็นต้น

    5. ธัมมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม หมายถึง หวงวิชาความรู้ และคุณพิเศษที่ได้บรรลุ ไม่ยอมสอนไม่ยอมบอกผู้อื่น เพราะกลัวเขาจะรู้เท่าเทียมตน หรือรู้กว่าตน

พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
พุทธวจน
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์