เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ปฏิปักษ์ ๑๐ ประการ (กัณฏกสูตร) 1119

กัณฏกสูตร ปฏิปักษ์ ๑๐ ประการ

   1. การคลุกคลีด้วยหมู่คณะ  -  เป็นปฏิปักษ์ต่อความยินดีในที่สงัด
   2. การประกอบสุภนิมิต  -  เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ประกอบ อสุภนิมิต
   3. การดูมหรสพที่เป็นข้าศึก  -  เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้คุ้มครองอินทรีย์
   4. การติดต่อกับมาตุคาม  -  เป็นปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์
   5. เสียง  -  เป็นปฏิปักษ์ต่อ ปฐมฌาน
   6. วิตกวิจาร  -  เป็นปฏิปักษ์ต่อ ทุติยฌาน
   7. ปีติ  -  เป็นปฏิปักษ์ต่อ ตติยฌาน
   8. ลมอัสสาสปัสสาสะ  -  เป็นปฏิปักษ์ต่อ จตุตถฌาน
   9. สัญญาและเวทนา  -  เป็นปฏิปักษ์ต่อ สัญญาเวทยิตนิโรธ
   10. ราคะเป็นปฏิปักษ์ โทสะเป็นปฏิปักษ์ (ต่อการตรัสรู้)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
- เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีปฏิปักษ์อยู่เถิด
- เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีปฏิปักษ์ จงเป็นผู้หมดปฏิปักษ์ อยู่เถิด
- พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีปฏิปักษ์
- พระอรหันต์ทั้งหลาย ไม่มีปฏิปักษ์ เป็นผู้หมดปฏิปักษ์
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑๙

กัณฏกสูตร (ปฏิปักษ์ ๑๐ ประการ)


         [๗๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้ พระนครเวสาลี พร้อมด้วยพระเถระผู้เป็นสาวกซึ่งมีชื่อเสียงหลายรูป คือท่านพระปาละ ท่านพระอุปปาละท่านพระกักกฏะ ท่านพระกฬิมภะ ท่านพระนิกฏะ ท่านพระกฏิสสหะ และพร้อมด้วยพระเถระ ผู้เป็นสาวกซึ่งมีชื่อเสียงเหล่าอื่น

         ก็สมัยนั้นแล พวกเจ้าลิจฉวี ที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก ขึ้นยานชั้นดี มีเสียง อื้ออึงต่อกัน เข้าไปยังป่ามหาวัน เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค

         ครั้งนั้นแล ท่านผู้มีอายุเหล่านั้นได้มีความปริวิตกว่า เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง เป็นจำนวนมาก เหล่านี้แล ขึ้นยานชั้นดีมีเสียงอื้ออึงต่อกัน เข้ามายังป่ามหาวัน เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ก็พระผู้มีพระภาคตรัสฌานว่า มีเสียงเป็นปฏิปักษ์

         ไฉนหนอ เราทั้งหลายพึงเข้าไปยังโคสิงคสาลทายวัน ณ ที่นั้นเราทั้งหลาย พึงเป็น ผู้มีเสียงน้อย ไม่เกลื่อนกล่นอยู่ให้ผาสุก ครั้งนั้นแล ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เข้าไปยัง โคสิงคสาลทายวันณ ที่นั้น ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้มีเสียงน้อย ไม่เกลื่อนกล่น อยู่เป็นผาสุก

         ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาลภิกษุไปไหน อุปปาลภิกษุ กักกฏภิกษุ กฬิมภภิกษุ นิกฏภิกษุ กฏิสสหภิกษุไปไหน พระเถระ ผู้เป็นสาวกเหล่านั้นไปไหน

         ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ท่านผู้มีอายุเหล่านั้นคิดว่า เจ้าลิจฉวี ผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมากเหล่านี้แล ขึ้นยานชั้นดีมีเสียงอื้ออึงต่อกัน เข้ามายังป่ามหาวัน เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ก็พระผู้มีพระภาคตรัสฌานว่า มีเสียงเป็นปฏิปักษ์ ไฉนหนอ เราทั้งหลายพึงเข้าไปยัง โคสิงคสาลทายวัน ในที่นั้น พวกเราพึงเป็นผู้มีเสียงน้อย ไม่เกลื่อนกล่น อยู่เป็นผาสุก

         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านผู้มีอายุเหล่านั้นเข้าไปยัง โคสิงคสาลทายวัน ในที่นั้น ท่านเหล่านั้น เป็นผู้มีเสียงน้อย ไม่เกลื่อนกล่นอยู่เป็นผาสุก พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดีละ ดีละ จริงดังที่มหาสาวกเหล่านั้น เมื่อพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ดังนั้น
(ภิกษุเหล่านั้นไปยังป่า โคสิงคสาลทายวัน ส่วน พ.ประทับอยู่ที่ป่ามหาวัน คนละแห่งกัน)

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวฌาน ว่ามีเสียงเป็นปฏิปักษ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปักษ์ ๑๐

ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ

๑) ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
เป็นปฏิปักษ์ต่อ ความเป็นผู้ยินดีในที่สงัด

๒) การประกอบสุภนิมิต
เป็นปฏิปักษ์ต่อ ผู้ประกอบ อสุภนิมิต

๓) การดูมหรสพที่เป็นข้าศึก
เป็นปฏิปักษ์ต่อ ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

๔) การติดต่อกับมาตุคาม(สตรี)
เป็นปฏิปักษ์ต่อ พรหมจรรย์

๕) เสียง
เป็นปฏิปักษ์ต่อ ปฐมฌาน

๖) วิตกวิจาร
เป็นปฏิปักษ์ ต่อทุติยฌาน

๗) ปีติ
เป็นปฏิปักษ์ต่อ ตติยฌาน

๘) ลมอัสสาส ปัสสาสะ
เป็นปฏิปักษ์ต่อ จตุตถฌาน

๙) สัญญา และ เวทนา
เป็นปฏิปักษ์ต่อ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

๑๐) ราคะเป็นปฏิปักษ์ โทสะเป็นปฏิปักษ์ (ต่อการตรัสรู้)

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีปฏิปักษ์อยู่เถิด
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีปฏิปักษ์ จงเป็นผู้หมดปฏิปักษ์ อยู่เถิด
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีปฏิปักษ์ พระอรหันต์ ทั้งหลาย ไม่มีปฏิปักษ์ เป็นผู้หมดปฏิปักษ์

พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
พุทธวจน
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์