เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ธนัญชานีสูตรที่ ๑ บุคคลฆ่าอะไรได้ ย่อมนอนเป็นสุข 1107
 
 
ตรัสกับภารทวาชะ

ภาระทวาชะ :
บุคคลฆ่าอะไรได้ ย่อมนอนเป็นสุข ฆ่าอะไรได้ ย่อมไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม พระองค์ย่อม ชอบใจ การฆ่าธรรมอะไรเป็นธรรมอันเอก ฯ

พระผู้มีพระภาค :
บุคคลฆ่าความโกรธได้ ย่อมนอน เป็นสุข ฆ่าความ โกรธได้ ย่อมไม่เศร้าโศก

ดูกรพราหมณ์
พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญ การฆ่า ความโกรธ อันมีมูล เป็นพิษ มีที่สุด (ยอด) อันคืนคลาย เพราะว่าบุคคลฆ่าความโกรธ นั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ฯ

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


ฉบับหลวง  เล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค หน้าที่ ๑๙๔


ธนัญชานีสูตรที่ ๑
บุคคลฆ่าอะไรได้ ย่อมนอนเป็นสุข



             [๖๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ อยู่ในพระวิหาร เวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล นางพราหมณีชื่อ ธนัญชานีแห่งพราหมณ์ ผู้ภารทวาชโคตรคนหนึ่ง เป็นผู้เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ฯ

             [๖๒๗] ครั้งนั้นแล นางธนัญชานีพราหมณี กำลังนำภัตเข้าไปเพื่อพราหมณ์ ภารทวาชโคตร ก้าวเท้าพลาดจึงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มี พระภาค พระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ... ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ฯ

เมื่อนางธนัญชานี พราหมณี กล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้กล่าวกะ นางธนัญชานี พราหมณี ว่า ก็หญิงถ่อยนี้กล่าวคุณของสมณะโล้นอย่างนี้อย่างนี้ ไม่ว่าที่ไหนๆ แน่ะหญิงถ่อย บัดนี้ เราจัก ยกวาทะ ต่อพระศาสดานั้นของเจ้า ฯ

นางธนัญชานีพราหมณีกล่าวว่า พราหมณ์ ฉันยังไม่เห็นบุคคลผู้จะพึงยกถ้อยคำ ต่อพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นในโลก พร้อมด้วยเทวโลก มารโลกพรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมด้วยสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ ข้าแต่พราหมณ์ เอาเถิด ท่านจงไป แม้ไปแล้วก็จักรู้ ฯ

             [๖๒๘] ลำดับนั้นแล พราหมณ์ภารทวาชโคตรโกรธขัดใจ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ฯ

พราหมณ์ภารทวาชโคตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า บุคคลฆ่าอะไรได้ ย่อมนอนเป็นสุข ฆ่าอะไรได้ ย่อมไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม พระองค์ย่อมชอบใจการฆ่าธรรมอะไรเป็นธรรมอันเอก ฯ

             [๖๒๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลฆ่าความโกรธได้ย่อมนอน เป็นสุข ฆ่าความ โกรธได้ ย่อมไม่เศร้าโศก

ดูกรพราหมณ์ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญ การฆ่า ความโกรธ อันมีมูล เป็นพิษ มีที่สุด (ยอด) อันคืนคลาย เพราะว่าบุคคลฆ่าความโกรธ นั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ฯ

             [๖๓๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศ พระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคล หงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า คนมี จักษุย่อมเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญกับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของ พระโคดม ผู้เจริญ ฯ

             พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้บรรพชา ได้อุปสมบทแล้ว ในสำนักของพระผู้มี พระภาค ก็ท่าน พระภารทวาชอุปสมบทแล้ว ไม่นาน หลีกไปอยู่ผู้เดียวไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ไม่นานเท่าไรนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ ซึ่งกุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ มีความต้องการ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้ เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีก เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละท่านพระภารทวาชได้เป็นพระอรหันต์ รูปหนึ่ง ในบรรดา พระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์