เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อักโกสกสูตรที่ ๒ เรื่องชนะความโกรธ (ความโกรธ 3 แบบ) 1108
 
 
อักโกสกสูตรที่ ๒ เรื่องชนะความโกรธ

ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว
        
ผู้นั้นเป็นผู้ลามก กว่าบุคคลนั้นแหละ

บุคคลไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว
      
 ชื่อว่าย่อมชนะสงคราม อันบุคคลชนะได้โดยยาก

ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบเสียได้
      
ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย
   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


ฉบับหลวง  เล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค หน้าที่  ๑๙๕


อักโกสกสูตรที่ ๒

          [๖๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทาน เหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ฯ

อักโกสกภารทวาช พราหมณ์ได้สดับมาว่า ได้ยินว่า พราหมณ์ภารทวาชโคตร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระสมณโคดมแล้ว ดังนี้โกรธ ขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ด่าบริภาษพระผู้มีพระภาค ด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษ ฯ

          [๖๓๒] เมื่ออักโกสกภารทวาชพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะ อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ ว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านย่อมสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน มิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกของท่าน ย่อมมาบ้างไหม ฯ

อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ตอบว่า พระโคดมผู้เจริญ มิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกของข้าพระองค์ ย่อมมาเป็นบางคราว ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านย่อมสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านจัดของเคี้ยวของบริโภค หรือของดื่ม ต้อนรับมิตร และอำมาตย์ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างหรือไม่ ฯ

อ. พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์จัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มต้อนรับมิตร และอำมาตย์ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างในบางคราว ฯ

พ. ดูกรพราหมณ์ ก็ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่านั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือ ของดื่มนั้น จะเป็นของใคร ฯ

อ. พระโคดมผู้เจริญ ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่านั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้น ก็เป็นของข้าพระองค์อย่างเดิม ฯ

พ. ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้ก็อย่างเดียวกัน ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่ ท่านโกรธเราผู้ไม่โกรธอยู่ ท่านหมายมั่นเราผู้ไม่หมายมั่นอยู่ เราไม่รับเรื่อง มีการด่าเป็นต้นของท่านนั้น

ดูกรพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่านผู้เดียว ดูกรพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่านผู้เดียว แล้วตรัสต่อไปว่า

ดูกรพราหมณ์ ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่ โกรธตอบบุคคลผู้โกรธอยู่หมายมั่น ตอบบุคคลผู้หมายมั่นอยู่

ดูกรพราหมณ์ ผู้นี้เรากล่าวว่า ย่อมบริโภคด้วยกัน ย่อมกระทำตอบกัน  เรานั้น ไม่บริโภคร่วม ไม่กระทำตอบ ด้วยท่านเป็นอันขาด

ดูกรพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้เดียว ดูกรพราหมณ์ เรื่องมีการด่า เป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้เดียว ฯ

อ. บริษัทพร้อมด้วยพระราชา ย่อมทราบพระโคดมผู้เจริญ อย่างนี้ว่าพระสมณโคดม เป็นพระอรหันต์ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนพระโคดมผู้เจริญ จึงยังโกรธอยู่เล่า ฯ

          [๖๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ผู้ไม่โกรธ ฝึกฝนตนแล้ว มีความเป็นอยู่ สม่ำเสมอ หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ สงบ คงที่ อยู่ ความโกรธจักมีมาแต่ที่ไหน ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ลามก กว่าบุคคลนั้นแหละ เพราะการโกรธตอบ นั้น

บุคคลไม่โกรธตอบ บุคคลผู้โกรธแล้ว ชื่อว่าย่อมชนะสงคราม อันบุคคลชนะ ได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติ สงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมประพฤติ ประโยชน์ แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่ตนและ แก่บุคคลอื่น

เมื่อผู้นั้น รักษาประโยชน์ อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและของบุคคลอื่น ชนทั้งหลาย ผู้ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่าเป็นคนเขลาดังนี้ ฯ

          [๖๓๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศ พระธรรม โดยปริยายเป็นอันมากเปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า คนมีจักษุย่อมเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์ พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ ฯ

อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชา ได้อุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาค ก็ท่านอักโกสกภารทวาช อุปสมบทแล้วไม่นานแล หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียรมีตนส่งไปอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ อันยอดเยี่ยมเป็นที่สุด แห่ง พรหมจรรย์ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบมีความต้องการ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้ เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละท่าน พระอักโกสกภารทวาชะ ได้เป็น พระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล ฯ
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์