(1) ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้ชอบจีวรดีงาม เมื่อชอบจีวรดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือทรงผ้า บังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุม กันอยู่ที่บ้าน นิคม... (2) ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาตที่ดีงาม เมื่อชอบ บิณฑบาต ที่ดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ละเสนาสนะอันสงัด คือป่า และป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี ... (3) ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะดีงาม เมื่อชอบ เสนาสนะดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ละเสนาสนะอันสงัดคือป่า และป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี ... (4) ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วย ภิกษุณี นางสิกขมานา (ผู้ถือศีล6 ก่อนบวชเป็นภิกษุณี) และสมณุทเทส (สามเณร) เมื่อมีการคลุกคลีด้วยภิกษุณี นางสิกขมานาและ สมณุทเทส .... (5) ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้คลุกคลีด้วย อารามิกบุรุษ (ผู้อาศัยวัด) และ สมณุทเทส (สามเณร) เมื่อมีการคลุกคลีด้วย อารามิกบุรุษ และสมณุทเทส....
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต หน้าที่ ๙๓ อนาคตสูตรที่ ๔ [๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ๕ ประการเป็นไฉน คือ ในอนาคต (1) ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้ชอบจีวรดีงาม เมื่อชอบจีวรดีงาม ก็จักละ ความเป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุม กันอยู่ที่ บ้าน นิคมและราชธานี และจักถึงการแสวงหาไม่สมควร อันไม่เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุจีวร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไปภัยนั้น อันเธอทั้งหลาย พึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายาม เพื่อละภัยนั้น ฯ อีกประการหนึ่ง ในอนาคต (2) ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาตที่ดีงาม เมื่อชอบ บิณฑบาต ที่ดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ละเสนาสนะอันสงัด คือป่า และป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี แสวงหาบิณฑบาต ที่มีรสอันเลิศ ด้วยปลายลิ้น และจักถึงการแสวงหาอันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิด ในบัดนี้ แต่จักบังเกิด ในกาลต่อไปภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ อีกประการหนึ่ง ในอนาคต (3) ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะดีงาม เมื่อชอบ เสนาสนะดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ละเสนาสนะอันสงัดคือป่า และป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี และจักถึงการแสวงหา อันไม่สมควร ไม่เหมาะสม ต่างๆ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิด ในกาลต่อไป ภัยนั้น อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ อีกประการหนึ่ง ในอนาคต (4) ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วย ภิกษุณี นางสิกขมานา (ผู้ถือศีล6 ก่อนบวชเป็นภิกษุณี) และสมณุทเทส (สามเณร) เมื่อมีการคลุกคลีด้วยภิกษุณี นางสิกขมานาและ สมณุทเทส พึงหวังข้อนี้ได้ ว่า เธอเหล่านั้น จักเป็นผู้ไม่ยินดี ประพฤติ พรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอก คืนสิกขาเวียนมา เพื่อเป็นคฤหัสถ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยัง ไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิด ในกาล ต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลาย พึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ อีกประการหนึ่ง ในอนาคต (5) ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้คลุกคลีด้วย อารามิกบุรุษ(ผู้อาศัยวัด) และ สมณุทเทส(สามเณร) เมื่อมีการคลุกคลีด้วย อารามิกบุรุษ และสมณุทเทส พึงหวัง ข้อนี้ ได้ว่า เธอเหล่านั้น จักเป็นผู้ประกอบการ บริโภค ของที่สะสมไว้ มีประการต่างๆ จักกระทำนิมิตแม้อย่าง หยาบ ที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียวบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดใน บัดนี้ แต่จักบังเกิด ในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จัก บังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายาม เพื่อละภัยเหล่านั้น ฯ สังโยชน์