เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  เหตุแห่งความสามัคคี (จูฬโคสิงคสาลสูตร) ตรัสกับอรหันต์ 3 รูป 1103
 
  (ย่อ)
เหตุแห่งความสามัคคี (จูฬโคสิงคสาลสูตร) ตรัสกับอรหันต์ 3 รูป ได้แก่
ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ ท่านพระกิมิละ

พระผู้มีพระภาคตรัสถามพระอนุรุธ ว่าอยู่กันอย่างไร ไม่ลำบากหรือ จากนั้นพระอนุรุธ เป็นผู้ชี้ แจง ถึงการประพฤติปฏิบัติต่อกัน มาตามละดับ โดยแสดงถึงปัญญาอันล้ำเลิศ พระผู้มีพระภาค ถามแค่ไหน ก็ตอบแค่นั้น พระสูตรนี้จะเห็นว่ามีการไล่เรียงข้อวัตรปฏิบัติจากเบื้องตน
ที่มีธรรมเป็น เครื่องอยู่สำราญ จนถึง ไล่ลำดับของสมาธิ จากระดับฌาณ 1 2 3 4 ขึ้นไปถึงชั้นอรูป อีก 4 ชั้น และสุดที่ สัญญาเวทยิตนิโรธ

สุดท้าย เมื่อพระอนุรุธอธิบาย การเข้าสัญญาเทยิตนิโรธ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ พระอนุรุธ ทูลพระศาสดาว่า
พวกข้าพระองค์ยังไม่พิจารณาเห็นธรรม เป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่า หรือประณีตกว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้ (ธรรมที่ปราณีตกว่าสัญญาเวทยิต มีหรือไม่)

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่า หรือ ประณีตกว่าธรรม เป็นเครื่อง อยู่สำราญอันนี้ หามีไม่

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๒๗๒

เหตุแห่งความสามัคคี (จูฬโคสิงคสาลสูตร)


        [๓๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:

     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่พักซึ่งสร้างด้วยอิฐใน นาทิกคาม. ก็สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ ท่านพระกิมิละ อยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน.
ครั้งนั้นเวลาเย็นพระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่ประทับพักผ่อนแล้ว เสด็จเข้าไปยัง ป่าโคสิงคสาลวัน.

นายทายบาล
[ผู้รักษาป่า] ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าว กะพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่สมณะท่านอย่าเข้าไปยังป่านี้เลย ในที่นี้มีกุลบุตร ๓ ท่าน ซึ่งเป็นผู้ใคร่ประโยชน์ตนเป็นสภาพอยู่ ท่านอย่าได้กระทำความไม่ผาสุก แก่ท่านทั้ง ๓ นั้นเลย.

เมื่อนายทายบาลกล่าวกะพระผู้มีพระภาคอยู่ ท่านพระอนุรุทธได้ยินแล้ว จึงได้บอก นายทายบาล ดังนี้ว่า ดูกรนายทายบาลผู้มีอายุ ท่านอย่าได้ห้ามพระผู้มีพระภาคเลย พระผู้มีพระภาคผู้เป็นศาสดาของพวกเราเสด็จมาถึงแล้ว.

ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธได้เข้าไปหาท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้บอกว่ารีบออกไปเถิด ท่านผู้มีอายุ รีบออกไปเถิด ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นศาสดาของพวกเราเสด็จมาถึงแล้ว. ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ได้ต้อนรับพระผู้มีพระภาค องค์หนึ่ง รับบาตร และจีวรของพระผู้มีพระภาค องค์หนึ่งปูอาสนะ องค์หนึ่งตั้งน้ำ ล้างพระบาท.

พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูถวาย ครั้นแล้วทรงล้างพระบาท. ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

---------------------------------------------------------------------------------


        [๓๖๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธว่า (ทรงถาม1) ดูกรอนุรุทธ นันทิยะ และกิมิละ พวกเธอพอจะอดทนได้ละหรือ พอจะยังชีวิตให้เป็นไปได้ หรือ พวกเธอ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต หรือ?
     อ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พวกข้าพระองค์พอจะอดทนได้ พอจะยังมีชีวิตให้เป็น ไปได้ พวกข้าพระองค์ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต.
    (2) พ. ก็พวกเธอ ยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน ยังเป็น เหมือนน้ำนม กับน้ำ แลดูกันและกันด้วยจักษุอันเป็นที่รักอยู่หรือ?
     อ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    (3) พ. ก็พวกเธอเป็นอย่างนั้นได้ เพราะเหตุอย่างไร?

        [๓๖๓] อ. พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์มีความดำริ อย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์ เห็นปานนี้ ข้าพระองค์ เข้าไปตั้ง กายกรรม ประกอบด้วยเมตตาในท่านผู้มีอายุ เหล่านี้ ทั้ง ต่อหน้า และลับหลัง เข้าไปตั้ง วจีกรรม ประกอบด้วยเมตตา ... เข้าไปตั้ง มโนกรรม ประกอบด้วยเมตตาในท่านผู้มีอายุ เหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราพึงเก็บจิตของตนเสียแล้ว ประพฤติตาม อำนาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ แล้วข้าพระองค์ก็เก็บจิตของตนเสีย ประพฤติอยู่ ตามอำนาจจิต ของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ กายของพวกข้าพระองค์ต่างกัน จริงแล แต่ว่าจิต ดูเหมือน เป็นอันเดียวกัน.

     แม้ท่านพระนันทิยะ ... แม้ท่านพระกิมิละ ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้า ข้าขอประทานพระวโรกาส แม้ข้าพระองค์ก็มีความดำริอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เห็นปานนี้

ข้าพระองค์เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งต่อหน้า และลับหลัง เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ... เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบ ด้วยเมตตา ในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ข้าพระองค์มีความดำริ อย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราพึงเก็บจิตของตนเสียแล้ว ประพฤติตามอำนาจจิต ของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ แล้วข้าพระองค์ ก็เก็บจิต ของตนเสีย ประพฤติอยู่ตาม อำนาจจิต ของท่านผู้มีอายุเหล่านี้

กายของพวกข้าพระองค์ต่างกันจริงแล แต่ว่าจิตดูเหมือนเป็นอันเดียวกัน พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ ยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน ยังเป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ แลดูกันและกันด้วยจักษุอันเป็นที่รักอยู่.

        [๓๖๔]พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ (4) พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่หรือ.
     อ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
     พ. ก็พวกเธอเป็นอย่างนั้นได้ เพราะเหตุอย่างไร? (5)
     อ. พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส บรรดาพวกข้าพระองค์
ท่านผู้ใด กลับจากบิณฑบาตแต่บ้านก่อน ท่านผู้นั้นย่อมปูลาดอาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ตั้งถาดสำรับไว้
ท่านผู้ใด กลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทีหลัง ถ้ามีบิณฑบาตที่เหลือ จากฉัน หากประสงค์ ก็ฉัน ถ้าไม่ประสงค์ก็ทิ้งเสียในที่ปราศจากของเขียว หรือ เทลงในน้ำ ที่ไม่มีสัตว์ ท่านผู้นั้นเก็บอาสนะ เก็บน้ำฉันเก็บน้ำใช้ เก็บถาดสำรับ กวาดโรงภัต
ท่านผู้ใด เห็นหม้อน้ำฉัน น้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ท่านผู้นั้นก็เข้าไปตั้งไว้ ถ้าเหลือวิสัย ของท่าน ก็กวักมือเรียกรูปที่สอง แล้วช่วยกันยกเข้าไปตั้งไว้ พวกข้าพระองค์ไม่เปล่งวาจา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย
และทุกวันที่ ๕ พวกข้าพระองค์ นั่งสนทนาธรรมกถาตลอดคืนยังรุ่ง พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปอยู่ ด้วยประการฉะนี้แล.

ธรรมเครื่องอยู่สำราญ

        [๓๖๕] พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ (6 ก็เมื่อพวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป อยู่อย่างนี้ คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรม ของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญ ที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว มีอยู่หรือ?
     อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส พวกข้าพระองค์ หวังอยู่เพียงว่า พวกเราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ เมื่อพวกข้าพระองค์ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปอยู่ คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถ กระทำ ความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญนี้แล พวกข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว.

     พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ (7) ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำ ความเป็น พระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญที่พวกเธอ ได้บรรลุแล้ว เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับ แห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ อย่างอื่นมีอยู่หรือ?
     อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่ เพียงว่าพวกเรา บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ อันนี้ ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่า ธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญ เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับ แห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้อย่างอื่น.

      พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ(8) ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำ ความเป็น พระอริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ?
     อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่ เพียงว่าพวกเรา มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้า ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข อันนี้ได้แก่คุณวิเศษ คือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.

     พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ(9) ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความเป็น พระอริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ?
     อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า พวกเรา บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษ คือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำ ความ เป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.

     พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ (10) ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความเป็น พระอริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ?
     อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะ ไม่ใส่ใจ ซึ่งนานัตตสัญญา พวกเรา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณา ว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถ กระทำ ความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.

     พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ (11) ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความ เป็น พระอริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ?
     อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสีย ซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง พวกเราบรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้ได้แก่ คุณวิเศษ คือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.

     พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ (12) ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความ เป็น พระอริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ?
      อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียง ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง พวกเรา บรรลุ อากิญจัญญายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า น้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษ คือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.

     พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ(13) ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความ เป็นพระอริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ?
     อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่ง อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง พวกเรา บรรลุ เนวสัญญา นาสัญญายตนญาน อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษ คือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำ ความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.

     พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ(14) ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถ กระทำความ เป็น พระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญที่พวกเธอ ได้บรรลุ แล้ว เพื่อความก้าวล่วงเพื่อความระงับ แห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ อย่างอื่นมีอยู่หรือ?
     อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง พวกเราบรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นแม้ด้วยปัญญา อาสวะของท่านผู้นั้น ย่อมหมด สิ้นไป อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรม ของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่นเพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับ แห่งธรรมเป็น เครื่องอยู่อันนี้ ได้บรรลุแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
      อนึ่ง พวกข้าพระองค์ยังไม่พิจารณาเห็นธรรม เป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่า หรือประณีตกว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้.

     พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ(15) ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่นที่ยิ่งกว่า หรือ ประณีตกว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้ หามีไม่

        [๓๖๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคยังท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และท่าน พระกิมิละ ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วเสด็จลุก จากอาสนะ หลีกไป ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และท่าน พระกิมิละ ส่งเสด็จ พระผู้มีพระภาคครั้นกลับจากที่นั้นแล้ว ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ได้กล่าวกะท่านพระอนุรุทธว่า

     ท่านอนุรุทธ ประกาศคุณวิเศษอันใด ของพวกกระผม จนกระทั่งถึงความสิ้นอาสวะ ในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค พวกกระผมได้บอกคุณวิเศษนั้น แก่ท่านอนุรุทธ อย่างนี้ หรือว่าพวกเราได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ด้วย.

     อ. พวกท่านผู้มีอายุ มิได้บอกแก่กระผมอย่างนี้ว่า พวกเราได้วิหารสมาบัติ เหล่านี้ ด้วยๆ แต่ว่ากระผมกำหนดใจของพวกท่านผู้มีอายุด้วยใจแล้วรู้ได้ว่า ท่านผู้มีอายุ เหล่านี้ ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ด้วยๆ แม้พวกเทวดาก็ได้บอก เนื้อความ ข้อนี้แก่ กระผมว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ด้วยๆ กระผม ถูก พระผู้มีพระภาคตรัสถามปัญหาแล้ว จึงทูลถวายพยากรณ์เนื้อความนั้น.

--------------------------------------------------------------------

จูฬโคสิงคสาลสูตร (เหตุแห่งความสามัคคี)
(อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค)

พระสุตรนี้มีการแต่งอรรถกถาจนผิดเพี้ยนออกไปมาก กลายเป็นนิยาย มียักษ์ มีเทวดาด้วย
ตามอ่าน
คลิก

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์