เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 โกศลสูตรที่ ๑ สิ่งที่ว่าเลิศทั้งหลาย ก็ยังมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา 1097
 
  โกศลสูตรที่ ๑

พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้เป็นเลิศ (ก็มีความแปรปรวน)
พระเจ้าปเสนทิโกศล กล่าวว่าเป็นผู้เลิศ ความแปรปรวนก็ยังมีอยู่ อริยสาวก ผู้ได้สดับ เห็นอยู่ อย่างนี้ ย่อมหน่าย แม้ในความดำรงอยู่ในสมบัตินั้น เมื่อหน่ายในความดำรงอยู่ ในสมบัตินั้น ย่อมคลายกำหนัด ในความเลิศแห่งสมบัติ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งเลวเล่า ฯ

ท้าวมหาพรหมผู้เป็นเลิศ (ก็มีความแปรปรวน)
ท้าวมหาพรหม โลกกล่าวว่าเป็นเลิศ ในพันโลกธาตุนั้น ความแปรปรวนก็มีอยู่ แม้แก่ท้าวมหาพรหม อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่าย แม้ใน พันโลกธาตุนั้น เมื่อหน่ายในพันโลกธาตุนั้น ย่อมคลายกำหนัดในความเป็นผู้เลิศ จะป่วยกล่าวไปไย ในสิ่งที่เลวเล่า ฯ

อาภัสสรเทพ ทั้งหลาย เป็นผู้เลิศ (ก็มีความแปรปรวน)
ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวน ก็มี แม้แก่ อาภัสสรเทพ ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ใน พรหมโลกชั้นอาภัสสรนั้น เมื่อหน่ายในพรหมโลกชั้น อาภัสสรนั้น ย่อมคลายกำหนัด ในความเป็นผู้เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ

บุคคลผู้ได้กสิณ ๑๐ (ก็มีความแปรปรวน)
บรรดาบ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้ที่บุคคลผู้หนึ่งเป็นยอดของสัตว์ทั้งหลาย แม้ผู้มีสัญญา อย่างนี้แลมีอยู่ ความแปรปรวนก็มีอยู่ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในบ่อเกิด แห่งกสิณ เมื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่ง ที่เลวเล่า ฯ

อภิภายตนะ ๘ (ก็มีความแปรปรวน)
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็วเป็นเลิศ สัตว์ทั้งหลาย แม้ผู้ปฏิบัติ อย่างนี้แล มีอยู่ ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แก่ สัตว์ทั้งหลาย แม้ปฏิบัติอย่างนี้ อริยสาวก ผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ใน ปฏิปทานั้น เมื่อหน่ายในปฏิปทานั้น ย่อมคลายกำหนัด ในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไย ในสิ่งที่เลวเล่า ฯ

ปฏิปทา ๔ ประการ (ก็มีความแปรปรวน)
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็วเป็นเลิศ สัตว์ทั้งหลาย แม้ผู้ปฏิบัติ อย่างนี้แล มีอยู่ ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แก่ สัตว์ ทั้งหลาย แม้ปฏิบัติอย่างนี้ อริยสาวก ผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ใน ปฏิปทานั้น เมื่อหน่ายในปฏิปทานั้น ย่อมคลายกำหนัด
ในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไย ในสิ่งที่เลวเล่า ฯ

ทิฐินอกศาสนา
(ก็มีความแปรปรวน)
........................
ผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ (ก็ยังมีความแปรปรวน)
................................

สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมกล่าวตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้กล่าวอย่างนี้ ด้วยคำไม่จริงด้วยคำเปล่า ด้วยคำเท็จ ด้วยคำไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดม ไม่บัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลาย ไม่บัญญัติ ความกำหนดรู้รูป ทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติ ความกำหนดรู้กามทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติ ความกำหนดรู้ รูปทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายด้วย เราเป็นผู้หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว ย่อมบัญญัติ อนุปาทาปรินิพพาน ในปัจจุบัน ฯ

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต หน้าที่ ๕๓

โกศลสูตรที่ ๑

              [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาสีและโกศลชนบท มีประมาณเท่าใด แว่นแคว้นของ พระเจ้าปเสนทิโกศล มีประมาณเท่าใด พระเจ้าปเสนทิโกศล ประชาชนกล่าวว่าเป็นผู้เลิศ ในกาสี และโกศลชนบท และแว่นแคว้นประมาณนั้น

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่โดยแท้ ความแปรปรวนมีอยู่ แม้แก่พระเจ้าปเสนทิโกศล

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่าย แม้ในความดำรงอยู่ในสมบัตินั้น เมื่อหน่ายในความดำรงอยู่ในสมบัตินั้น ย่อมคลายกำหนัด ในความเลิศแห่งสมบัติ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งเลวเล่า ฯ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ย่อมหมุนเวียน ส่องทิศ ให้ไพโรจน์ อยู่ในที่มีประมาณเท่าใด โลกธาตุพันหนึ่งมีอยู่ในที่มีประมาณเท่านั้น ในโลกธาตุ พันหนึ่งนั้นมีดวงจันทร์พันดวง ดวงอาทิตย์พันดวง ขุนเขาสิเนรุหนึ่งพัน ชมพูทวีปพันทวีป(พันหนึ่ง) อมรโคยานพันทวีป (พันหนึ่ง) อุตตรกุรุพันทวีป (พันหนึ่ง) ปุพพวิเทหะพันทวีป(พันหนึ่ง) มหาสมุทรสี่พัน เทวโลกชั้นมหาราชสี่พัน ชั้นจาตุมหาราชิกาหนึ่งพัน ชั้นดาวดึงส์หนึ่งพัน ชั้นยามาหนึ่งพัน ชั้นดุสิตหนึ่งพัน ชั้นนิมมานรดีหนึ่งพัน ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีหนึ่งพัน ชั้นพรหมโลกหนึ่งพัน

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย พันโลกธาตุมีประมาณเท่าใด ท้าวมหาพรหม โลกกล่าวว่า เป็นเลิศ ในพันโลกธาตุนั้น

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่ ความแปรปรวนก็มีอยู่ แม้แก่ท้าวมหาพรหม

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่าย แม้ใน พันโลกธาตุนั้น เมื่อหน่ายในพันโลกธาตุนั้น ย่อมคลายกำหนัดในความเป็นผู้เลิศ จะป่วยกล่าวไปไย ในสิ่งที่เลวเล่า ฯ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยที่โลกนี้พินาศมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโลกพินาศอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปในพรหมโลก ชั้นอาภัสสร(มีอายุ2กัป) โดยมาก สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้สำเร็จแล้วด้วยใจ มีปีติเป็นภักษา มีแสงสว่างในตัวเอง เที่ยวไปได้ ในอากาศ มีปรกติดำรงอยู่ได้ด้วยดี ย่อมดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้น อาภัสสรนั้น ตลอดกาล ยืนยาวนาน

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโลกพินาศอยู่ อาภัสสรเทพ ทั้งหลาย เป็นผู้เลิศ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวน ก็มี แม้แก่ อาภัสสรเทพ ทั้งหลาย

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ใน พรหมโลกชั้นอาภัสสรนั้น เมื่อหน่ายในพรหมโลกชั้นอาภัสสรนั้น ย่อมคลายกำหนัด ในความเป็นผู้เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ

กสิณ ๑๐ (ก็ยังแปรปรวน)

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉนคือ บุคคล ผู้หนึ่ง ย่อมจำปฐวีกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาประมาณมิได้

บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำอาโปกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำเตโชกสิณ... บุคคลผู้หนึ่ง ย่อมจำว่าโยกสิณ ...

บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำนีลกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำปีตกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่ง ย่อมจำโลหิตกสิณ ...

บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำโอทาตกสิณ .. บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำอากาสกสิณ ...บุคคลผู้หนึ่ง ย่อม จำวิญญาณ

กสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาประมาณมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้แล

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้ วิญญาณกสิณใน เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางไม่มีสองหาประมาณมิได้ ที่บุคคลผู้หนึ่ง จำได้ เป็นยอด สัตว์ทั้งหลาย แม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลมีอยู่

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนก็มีอยู่แก่สัตว์ ทั้งหลาย แม้มีสัญญาอย่างนี้แล

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในบ่อเกิด แห่งกสิณ เมื่อหน่ายในบ่อเกิดแห่งกสิณนั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ

อภิภายตนะ ๘ (ก็ยังแปรปรวน)

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือคนหนึ่ง มีรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเล็กน้อย ทั้งที่มีผิวพรรณดี ทั้งที่มี ผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะ ประการที่ ๑ ฯ

     คนหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกไม่มีประมาณ ทั้งที่มี ผิวพรรณดีทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒ ฯ

     คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเล็กน้อย ทั้งที่มี ผิวพรรณดีทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๓ ฯ

     คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกไม่มีประมาณ ทั้งที่มีผิวพรรณดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูป เหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๔ ฯ

      คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกเขียว มีสีเขียวรัศมีเขียว แสงสว่างเขียว เปรียบเหมือนดอกผักตบเขียว มีสีเขียว รัศมีเขียวแสงสว่างเขียว ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลาทั้งสองข้าง เขียว มีสีเขียว รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว ฉันใด

       คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเขียว มีสีเขียว รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว ก็มีสัญญาอย่างนี้ ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๕ ฯ

      คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเหลืองมีสีเหลือง รัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง เปรียบเหมือนดอกกัณณิกาเหลืองมีสีเหลือง มีรัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลาทั้งสองข้าง เหลืองมีสีเหลือง มีรัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ฉันใด

       คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเหลือง มีสีเหลือง มีรัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่าเรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๖ ฯ

      คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกแดง มีสีแดงรัศมีแดง แสงสว่างแดง เปรียบเหมือนดอกเส้งแดง มีสีแดง รัศมีแดงแสงสว่างแดง ฉันใด หรือ เปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลาทั้งสองข้าง แดง รัศมีแดง แสงสว่างแดงฉันใด

       คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกแดง มีสีแดง มีรัศมีแดงแสงสว่างแดงก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๗ ฯ

     คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกขาว มีสีขาว รัศมีขาว แสงสว่างขาว เปรียบเหมือนดาวประกายพฤกษ์ขาว มีสีขาว มีรัศมีขาว แสงสว่างขาว ฉันใดหรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลาทั้งสองข้าง ขาว มีสีขาว รัศมีขาว แสงสว่างขาว ฉันใด

       คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายใน ภายนอกขาว มีสีขาวรัศมีขาว แสงสว่างขาว ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูป เหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๘

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้แล บรรดาอภิภายตนะ๘ ประการนี้ อภิภายตนะประการที่ ๘ คือ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอกขาว มีสีขาว มีรัศมีขาว แสงสว่างขาว ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น ย่ำยีรูปเหล่านั้นนี้เป็นเลิศ

      ดูกรภิกษุทั้งหลายสัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย แม้มีสัญญา อย่างนี้

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ใน
อภิภายตนะนั้น เมื่อหน่ายในอภิภายตนะนั้นย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วย กล่าวไปไย ในสิ่ง ที่เลวเล่า ฯ


ปฏิปทา ๔ ประการ (ก็ยังแปรปรวน)

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า ๑ ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว ๑ ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า ๑ ปฏิบัติสะดวกทั้ง รู้ได้เร็ว ๑

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลายบรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็วเป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลายสัตว์ทั้งหลาย แม้ผู้ปฏิบัติ อย่างนี้แลมีอยู่

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แก่ สัตว์ ทั้งหลาย แม้ปฏิบัติอย่างนี้

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ใน ปฏิปทานั้น เมื่อหน่ายในปฏิปทานั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไย ในสิ่งที่เลวเล่า ฯ

สัญญา ๔ ประการ (ก็ยังแปรปรวนเป็นธรรมดา)   


      ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือคนหนึ่งย่อมจำ ปริตตารมณ์  คนหนึ่งย่อมจำมหัคคตารมณ์  คนหนึ่งย่อมจำอัปปมาณารมณ์  คนหนึ่ง ย่อมจำอากิญจัญญายตนะ  ว่า หน่อยหนึ่งไม่มีดังนี้

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัญญา ๔ ประการนี้ อากิญจัญญายตนะที่คนหนึ่งจำได้ว่าหน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้เป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลมีอยู่

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แก่สัตว์ ทั้งหลาย แม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่ อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา นั้น เมื่อหน่ายในสัญญานั้น ย่อมคลายกำหนัด ในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่ง ที่เลวเล่า ฯ

ทิฐินอกศาสนา (ก็มีความแปรปรวน)

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทิฐินอกศาสนา ทิฐิว่า ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตภาพนี้ไม่พึงมีแก่เรา ถ้าเราจักไม่มีไซร้ ความห่วงในอะไรจักไม่มีแก่เราดังนี้ เป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้มีทิฐิอย่างนี้พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ความที่ใจไม่ชอบในภพ จักไม่มีแก่ เขา และความที่ใจชอบในความดับภพจักไม่มีแก่เขา

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้มีทิฐิอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็น อย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แม้แก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีทิฐิอย่างนี้

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในทิฐินั้น เมื่อหน่ายในทิฐินั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ


ผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ (ก็ยังมีความแปรปรวน)

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติความหมดจดในสัตว์ ผู้สูงสุดมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่นั้น เลิศกว่าบรรดาสมณพราหมณ์ ผู้บัญญัติ ความหมดจดในสัตว์ผู้สูงสุด สมณพราหมณ์เหล่านั้น รู้ยิ่งแล้ว ซึ่งเนวสัญญานา สัญญายตนะนั้น ย่อมแสดงธรรมเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีวาทะอย่างนี้แลมีอยู่ ความเป็นอย่างอื่น มีอยู่แท้  ความแปรปรวนมีอยู่แม้แก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ใน เนวสัญญา นาสัญญายตนะนั้น เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าว ไปไยใน สิ่งที่ เลวเล่า ฯ

สมณพราหมณ์ผู้บัญญัตินิพพาน (ก็มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา)

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัตินิพพานอันยวดยิ่งในปัจจุบัน มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เพราะรู้ความเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ เลิศกว่าการบัญญัติ นิพพาน อันยอดยิ่งในปัจจุบันแห่งสมณพราหมณ์

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมกล่าวตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้กล่าวอย่างนี้ ด้วยคำไม่จริงด้วยคำเปล่า ด้วยคำเท็จ ด้วยคำไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดม ไม่บัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้รูป ทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติ ความกำหนดรู้รูปทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายด้วย เราเป็นผู้หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว ย่อมบัญญัติ อนุปาทาปรินิพพาน ในปัจจุบัน ฯ




 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์