เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  จินตสูตร อย่าคิดเรื่องโลก จงคิดเรื่องอริยสัจสี่ 1084
 
 
จินตสูตร
อย่าคิดเรื่องโลก

เธอทั้งหลายจงอย่าคิดเรื่องโลก ว่า
โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง
โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด
ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความคิดนั้น ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์ เบื้องต้น
ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

จงคิดเรื่องอริยสัจสี่
ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะคิด พึงคิดว่า นี้ทุกข์ ฯลฯนี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?  เพราะความคิดนั้น ประกอบด้วย ประโยชน์เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... เพื่อนิพพาน

(คิดเรื่องโลกแล้ว จิตอาจงวยงง เหมือนเรื่องเทวดารบกับอสูร)

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


จินตสูตร
การคิดเรื่องตายแล้วเกิดหรือไม่ ไม่มีประโยชน์
(สงครามเทวดารบกับอสูร)

             [๑๗๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว บุรุษคนหนึ่ง ออกจาก เมืองราชคฤห์ เข้าไปยังสระโบกขรณีชื่อสุมาคธา ด้วยประสงค์ว่า จักคิดเรื่องโลก ครั้นแล้ว นั่งคิดเรื่องโลกอยู่ ณ ขอบสระโบกขรณีชื่อ สุมาคธา เข้าได้เห็นกองทัพ ประกอบด้วยองค์ ๔ เข้าไปสู่ก้านบัว ที่ขอบสระโบกขรณีชื่อสุมาคธา

            ครั้นแล้ว ได้มีความคิดว่าเราชื่อว่าเป็นคนบ้า ชื่อว่าเป็นคนมีจิต ฟุ้งซ่าน เสียแล้ว เราเห็นสิ่งที่ไม่มีในโลก ครั้งนั้น บุรุษนั้นเข้าไปยังนครบอกแก่หมู่ มหาชนว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เราชื่อว่าเป็นคนบ้า ชื่อว่าเป็นคนมีจิตฟุ้งซ่านเสียแล้ว เราเห็นสิ่งที่ไม่มีในโลก หมู่มหาชนถามว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านเป็นบ้าได้อย่างไร ท่านมีจิตฟุ้งซ่านอย่างไร สิ่งอะไรที่ไม่มีในโลกซึ่งท่านเห็นแล้ว?

            บุ. ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย จะบอกให้ทราบ เราออกจากกรุงราชคฤห์ เข้าไปยังสระ โบกขรณีชื่อสุมาคธา ด้วยประสงค์ว่า จักคิดเรื่องโลก ครั้นแล้ว นั่งคิด เรื่องโลกอยู่ ณขอบสระโบกขรณีชื่อสุมาคธา เราได้เห็นกองทัพประกอบด้วยองค์ ๔ เข้าไปสู่ ก้านบัว ที่ขอบสระโบกขรณีชื่อสุมาคธา เราเป็นบ้าได้อย่างนี้ เรามีจิตฟุ้งซ่าน อย่างนี้ ก็สิ่งนี้ไม่มีในโลก เราเห็นแล้ว.

             มหา. ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านเป็นบ้าแน่ ท่านมีจิตฟุ้งซ่านแน่ ก็และสิ่งนี้ไม่มี ในโลกท่านเห็นแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นได้เห็นสิ่งที่เป็นจริง ไม่ใช่ได้เห็นสิ่ง ที่ไม่เป็นจริง.

             [๑๗๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามเทวดากับอสูร ประชิดกัน ก็ในสงครามนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ ก็พวกอสูรที่แพ้กลัวแล้ว ยังจิตของพวกเทวดาให้งวยงงอยู่ เข้าไปสู่บุรีอสูรโดยทางก้านบัว

(อย่าคิดเรื่องโลก)
เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงอย่าคิดเรื่องโลกว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความคิดนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์ เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

(จงคิดแต่ อริยสัจสี่)
             [๑๗๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะคิด พึงคิดว่า นี้ทุกข์ ฯลฯนี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร?  เพราะความคิดนั้น ประกอบด้วย ประโยชน์เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... เพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลายเพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์