เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  โลกันตนรก (อันธการีสูตร) ผู้รู้ตามเป็นจริงไม่ตกไปสู่ที่มืด 1083
 
 

โลกันตนรก
มีแต่ความทุกข์ มืดคลุ้มมัว เป็นหมอกสัตว์ในโลกันตนรกนั้น ไม่ได้รับรัศมีพระจันทร์ และพระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากอย่างนี้.

สิ่งที่น่ากลัวกว่านรก
ย่อมไม่รู้ชัด... ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ย่อมยินดี...ในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด
ยินดีแล้ว ย่อมปรุงแต่ง ปรุงแต่งแล้ว ย่อมตกสู่ความมึด
คือความเกิด ความดับ ความคับแค้นใจ และย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์

ผู้ไม่ตกสู่ความมึด(นรก)
ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ย่อมไม่ยินดี ในสังขารทั้งหลาย(ปรุงแต่ง) ที่เป็นไปเพื่อการเกิด(ภพ)
ไม่ยินดี ย่อมไม่ปรุงแต่ง ไม่ปรุงแต่งย่อมไม่ตกสู่ความมืด
คือการเกิดบ้าง ความคับแค้นใจบ้าง ย่อมพ้นไปจากความทุกข์

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

 
ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค หน้าที่ ๔๔๖ 
     

โลกันตนรก (อันธการีสูตร)

(ผู้รู้ตามเป็นจริงไม่ตกไปสู่ที่มืด)

            [๑๗๓๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกันตนรกมีแต่ความทุกข์ มืดคลุ้มมัว เป็นหมอกสัตว์ในโลกันตนรกนั้น ไม่ได้รับรัศมีพระจันทร์ และพระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากอย่างนี้

            [๑๗๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมืดนั้นมาก ความมืดนั้นมากแท้ๆ ความมืดอย่างอื่น ที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้ มีอยู่หรือ?

             พ. ดูกรภิกษุ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้มีอยู่.

             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่า ความมืดนี้เป็นไฉน

             [๑๗๔๑] พ. ดูกรภิกษุ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะ หรือ พราหมณ์ เหล่านั้น ย่อมยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ยินดีแล้ว ย่อมปรุงแต่ง

(ย่อมตกสู่ความมึด)

             ครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมตกไปสู่ความมืด คือความเกิด ... และความคับ แค้นใจ เรากล่าวว่า  สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่พ้นไปจาก ความเกิด ... ความคับแค้นใจ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์

             [๑๗๔๒] ดูกรภิกษุ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ย่อมไม่ยินดีในสังขารทั้งหลายซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่ปรุงแต่ง

(ย่อมพ้นความมึด)

             ครั้นไม่ปรุงแต่งแล้ว ย่อมไม่ตกไปสู่ความมืด คือความเกิดบ้าง ... และ ความคับแค้นบ้าง เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมพ้นไปจาก ความเกิด ... และ ความคับแค้นใจ ย่อมพ้นไปจากความทุกข์

             ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์