เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 พระเสขะ และพระอเสขะ เสขภูมิ อเสขภูมิ เสขบุคคล อเสขบุคคล 1064
 
 
เสขะ อเสขะ
พระเสขะ และพระอเสขะ คือใคร
คุณสมบัติของ พระเสขะ และ พระอเสขะ
เสขภูมิ อเสขภูมิ
เสขบุคคล อเสขบุคคล


พระเสขะ : ผู้ยังต้องศึกษา ยังเป็นผู้เดินมรรค ยังไม่หลุดพ้น ยังไม่ใช่อรหันต์
พระอเสขะ : ผู้ไม่ต้องศึกษา ผู้บรรลุมรรคผลแล้ว
สำเร็จเป็นพระอรหันต์


พึงรู้ว่า เราเป็น พระเสขะ ที่ภิกษุผู้เป็น เสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ใน อเสขภูมิ
พึงรู้ว่า เราเป็น พระเสขะ ที่ภิกษุผู้เป็น อเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ใน อเสขภูมิ


ภิกษุผู้เป็น เสขะในธรรมวินัยนี้
1.) ย่อมรู้ว่า เราเป็น พระเสขะ เป็นไฉน?
2.) ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา
3.) ย่อมรู้ชัดว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่นภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรมที่จริงแท้แน่นอน เหมือนพระผู้มีพระภาคไม่มี
4.) ย่อมรู้ชัด ซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ นั้นมีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด ภิกษุผู้เป็น เสขะ ยังไม่ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทง ตลอดด้วยปัญญา

ภิกษุผู้เป็น อเสขะในธรรมวินัยนี้
1.) ย่อมรู้ว่า เราเป็น พระอเสขะ เป็นไฉน?
2.) ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็น อย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผลมีสิ่งใดเป็นที่สุด อริยสาวกผู้เป็น อเสขะถูกต้อง สิ่งนั้นด้วยนามกาย และ เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้ แล ที่ภิกษุผู้เป็น อเสขะ อาศัย และตั้งอยู่ใน อเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็น พระเสขะ
3.) ย่อมรู้ชัดซึ่ง อินทรีย์ ๖ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายยินทรีย์ ๑ มนินทรีย์ ๑ อริยสาวกผู้เป็น อเสขะ ย่อมรู้ชัดว่า อินทรีย์ ๖ เหล่านี้ จักดับไปหมดสิ้น โดยประการทั้งปวง ไม่มีเหลือ และอินทรีย์ ๖ เหล่าอื่น จักไม่เกิดขึ้นในภพไหนๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แลที่ภิกษุผู้เป็น อเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ใน อเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็น พระอเสขะ

ฟังเสียงพระสูตร : เสขสูตร ว่าด้วยพระเสขะ และ พระอเสขะ
   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 



พระเสขะ และพระอเสขะ


เสขะ
         ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็น เสขะ ย่อมรู้ชัด ซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ นั้น มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด
ภิกษุผู้เป็น เสขะ ยังไม่ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แลที่ภิกษุผู้เป็น เสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ใน เสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็น พระเสขะ.

อเสขะ
         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่ภิกษุผู้เป็น อเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิย่อมรู้ว่า เราเป็น พระอเสขะ เป็นไฉน?
         ภิกษุผู้เป็นอเสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็น ที่สุด อริยสาวกผู้เป็น อเสขะ ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วย ปัญญา
         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัย และตั้งอยู่ใน อเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ.

------------------------------------------------------

องค์แห่งความเป็นพระเสขะ และ พระอเสขะ

         ภิกษุ ท. ! ในบริกขารแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็นองค์ นำหน้า.

ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์นำหน้า อย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เมื่อมีสัมมาทิฏฐิอยู่, สัมมาสังกัปปะ ย่อมมีเพียงพอ.
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะอยู่, สัมมาวาจา ย่อมมีเพียงพอ.
เมื่อมีสัมมาวาจาอยู่, สัมมากัมมันตะ ย่อมมีเพียงพอ.
เมื่อมีสัมมากัมมันตะอยู่, สัมมาอาชีวะ ย่อมมีเพียงพอ.
เมื่อมีสัมมาอาชีวะอยู่, สัมมาวายามะ ย่อมมีเพียงพอ.
เมื่อมีสัมมาวายามะอยู่, สัมมาสติ ย่อมมีเพียงพอ.
เมื่อมีสัมมาสติอยู่, สัมมาสมาธิ ย่อมมีเพียงพอ.
เมื่อมีสัมมาสมาธิอยู่, สัมมาญาณะ ย่อมมีเพียงพอ.
เมื่อมีสัมมาญาณะอยู่, สัมมาวิมุตติ ย่อมมีเพียงพอ.

ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุนี้แล, ภิกษุ ผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย องค์ทั้ง ๘ ชื่อว่า เป็น พระเสขะ และผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย องค์ทั้ง ๑๐ (คือเพิ่มสัมมาญาณะ และสัมมาวิมุตติ อีก ๒ องค์) ชื่อว่า เป็น พระอรหันต์ (พระอเสขะ) แล

--------------------------------------------------------

ภูตมิทสูตร พระเสขะ และ พระอเสขะ (ตรัสกับพระสารีบุตร)
ภูตมิทสูตร นิ. สํ. (๑๐๒-๑๐๓)

ปัญหา
พระเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา ยังไม่ใช่อริยบุคคลชั้นอรหันต์) กับ
พระอเสขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษาได้บรรลุมรรคผลแล้ว) มีข้อปฏิบัติที่จะต้องปฏิบัติต่างกัน อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ถูกละๆ สารีบุตร

         บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือ ขันธปัญจก ที่เกิด แล้ว ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลาดกำหนัด เพื่อความ ดับแห่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ว่า ขันธปัญจก นี้เกิดเพราะอาหารนั้น

         ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิดเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตาม ความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่ง อาหาร นั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ แห่งขันธปัญญา มีความดับเป็นธรรมดา ดูก่อนสารีบุตร บุคคลชื่อว่าเป็น เสขะ ได้ ด้วยการ ปฏิบัติอย่างนี้แล

“ดูก่อนสารีบุตร ก็บุคคลชื่อว่าได้ตรัสรู้ธรรมแล้วเป็นไฉน

ดูก่อนสารีบุตร บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจก ที่เกิดขึ้นแล้ว

         ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหารนั้น

ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะความไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้วเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วย ปัญญาดันชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะ ความดับแห่งอาหารนั้น

         ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่มีความดับเป็นธรรมดา

          ดูก่อนสารีบุตร บุคคลได้ชื่อว่า ตรัสรู้ธรรมแล้วด้วยการอย่างนี้แล.....”

-----------------------------------------------------------
ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค หน้าที่ ๒๔๙

เสขสูตร
ว่าด้วยพระเสขะ และ พระอเสขะ


         [๑๐๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุ ผู้เป็น เสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ใน เสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็น พระเสขะ ที่ภิกษุผู้เป็น เสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ใน อเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็น พระอเสขะ มีอยู่หรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน.

         [๑๐๓๒] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุผู้เป็น เสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ใน เสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็น พระเสขะ ที่ภิกษุผู้เป็น อเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ใน อเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็น พระอเสขะ มีอยู่.

         [๑๐๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุผู้เป็น เสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ใน เสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็น พระเสขะ เป็นไฉน? ภิกษุผู้เป็น เสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็น เสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ใน เสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็น พระเสขะ.

         [๑๐๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็น เสขะ ย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่นภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรมที่จริงแท้ แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาค มีอยู่หรือ? พระเสขะ นั้น ย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่า สมณะ หรือพราหมณ์อื่นภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรมที่จริงแท้แน่นอน เหมือน พระผู้มีพระภาคไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลายปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็น เสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ใน เสขภูมิ ย่อมรู้ว่าเราเป็น พระเสขะ

         [๑๐๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็น เสขะ ย่อมรู้ชัด ซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ นั้นมีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด ภิกษุผู้เป็น เสขะ ยังไม่ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทง ตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แลที่ภิกษุผู้เป็น เสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ใน เสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็น พระเสขะ

         [๑๐๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่ภิกษุผู้เป็น อเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ใน อเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็น พระอเสขะ เป็นไฉน? ภิกษุผู้เป็น อเสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๕คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผลมีสิ่งใดเป็นที่สุด อริยสาวกผู้เป็น อเสขะถูกต้อง สิ่งนั้นด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้ แล ที่ภิกษุผู้เป็น อเสขะ อาศัย และตั้งอยู่ใน อเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็น พระเสขะ

         [๑๐๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็น อเสขะ ย่อมรู้ชัดซึ่ง อินทรีย์ ๖คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายยินทรีย์ ๑ มนินทรีย์ ๑ อริยสาวกผู้เป็น อเสขะ ย่อมรู้ชัดว่า อินทรีย์ ๖ เหล่านี้ จักดับไปหมดสิ้น โดยประการทั้งปวง ไม่มีเหลือ และอินทรีย์  ๖ เหล่าอื่น จักไม่เกิดขึ้นในภพไหนๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แลที่ภิกษุผู้เป็น อเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ใน อเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็น พระอเสขะ

--------------------------------------------

ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค หน้าที่ ๔๔

ภูตมิทสูตร

         [๙๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่าน พระสารีบุตรมาว่า

          ดูกรสารีบุตร อชิตมาณพได้กล่าวปัญหานี้ไว้ในอชิตปัญหา ในปรายนวรรค ว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว  และบุคคลที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากในศาสนานี้ พระองค์ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรด ตรัสบอก ความประพฤติของบุคคลทั้งสองพวกนั้นแก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร เธอจะพึงเห็นเนื้อความของคาถาที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารได้อย่างไร ฯ

         [๙๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้นิ่งอยู่พระผู้มี พระภาค จึงตรัสกะท่านพระสารีบุตรเป็นครั้งที่สอง ฯลฯ

         แม้ในครั้งที่สองท่านพระสารีบุตรก็ได้นิ่งอยู่ แม้ในครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาค ก็ตรัส กะท่าน พระสารีบุตรว่า

          ดูกรสารีบุตร อชิตมาณพได้กล่าวปัญหานี้ไว้ในอชิตปัญหา ในปรายนวรรคว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว และบุคคลที่ยังเป็น เสขบุคคล อยู่เหล่าใด มีอยู่มากในศาสนานี้ พระองค์ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรด ตรัส บอกความประพฤติของบุคคลทั้งสองพวกนั้นแก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ฯ

         ดูกรสารีบุตร เธอจะพึงเห็นเนื้อความของคำที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดาร ได้อย่างไร เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรก็ยังนิ่งอยู่ แม้ในครั้งที่สาม ฯ

         [๑๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสารีบุตร เธอเห็นไหมว่า นี้คือ ขันธปัญจก ที่เกิดแล้ว ฯ ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บุคคลเห็น ด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ครั้นเห็นเช่นนั้น แล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อ ความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่ง ขันธปัญจก ที่เกิดแล้ว ย่อมเห็น ด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจก นี้เกิด เพราะอาหารนั้น

         ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิดเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตาม ความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะอาหารนั้นดับไป

          ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อ ความดับแห่งขันธปัญจกซึ่งมีความดับเป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าข้า บุคคลย่อมเป็น เสขะ ได้ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ฯ

         [๑๐๑] พระพุทธเจ้าข้า บุคคลได้ชื่อว่าตรัสรู้ธรรมเป็นไฉน บุคคลเห็นด้วย ปัญญา โดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้วย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจก นี้เกิดเพราะอาหารนั้น

          ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้วย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดเพราะอาหารนั้น ย่อมเห็นด้วย ปัญญา โดยชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะอาหาร นั้น ดับไป

         ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกซึ่งมีความดับ เป็นธรรมดาบุคคลชื่อว่าได้ ตรัสรู้ ธรรมแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้แล คำที่อชิตมาณพกล่าวไว้ในอชิตปัญหา ใน ปรายนวรรค ว่าข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว และบุคคลที่ยังเป็น เสขบุคคล อยู่เหล่าใด มีอยู่มากในศาสนานี้ พระองค์ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกความประพฤติของบุคคลทั้งสองพวกนั้นแก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ฯ พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ทราบเนื้อความของคำที่กล่าวไว้โดยย่อนี้ โดยพิสดาร อย่างนี้แล ฯ

         [๑๐๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถูกละๆ สารีบุตร บุคคลเห็นด้วยปัญญา โดยชอบ ตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วย ปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหารนั้น

          ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อ ความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิดเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความ เป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับ แห่งขันธปัญจกที่มีความดับเป็นธรรมดา ดูกรสารีบุตร บุคคลชื่อว่าเป็น เสขะ ได้ด้วยการ ปฏิบัติอย่างนี้แล ฯ

         [๑๐๓] ดูกรสารีบุตร ก็บุคคลชื่อว่าได้ตรัสรู้ธรรมแล้วเป็นไฉน ดูกรสารีบุตร บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ครั้นเห็น เช่นนั้นแล้วย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหารนั้น

          ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความ กำหนัดเพราะความดับ เพราะความไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้วเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับ เป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะ ความหน่าย เพราะคลายความกำหนัดเพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจก ที่มีความดับเป็นธรรมดา

          ดูกรสารีบุตร บุคคลได้ชื่อว่าตรัสรู้ธรรมแล้วด้วยอาการอย่างนี้แล คำที่ อชิตมาณพ กล่าวไว้ในอชิตปัญหาในปรายนวรรคว่า

         ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว และบุคคลที่ยังเป็น เสขะบุคคล อยู่เหล่าใด มีอยู่มากในศาสนานี้ พระองค์ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกความประพฤติของบุคคลทั้งสองพวกนั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ฯ

         ดูกรสารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความของคำที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารได้ อย่างนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๑


 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์