เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  รู้จักประมาณในโภชนะ ย่อมมีเวทนาเบาบาง แก่ช้า อายุยืน ผู้ชำนะย่อมก่อเวร 1059
 
 
โทณปากสูตรที่ ๓
ตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศล
ให้ รู้จักประมาณในโภชนะ
มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้จักประมาณใน โภชนะที่ได้มา ย่อมมีเวทนาเบาบาง เขาย่อมแก่ช้า ครองอายุได้ยืนนาน.. ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเสวยพระกระยาหาร หนึ่งทะนาน(กะลามะพร้าว) ข้าวสุก เป็นอย่างมาก

ปฐมสังคามวัตถุสูตรที่ ๔
ผู้ชำนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์
บุคคลละความชนะ และความแพ้ เสียแล้ว
จึงสงบระงับ นอนเป็นสุข
   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค หน้าที่ ๑๐๓


โทณปากสูตรที่ ๓

        [๓๖๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตพระนครสาวัตถี ฯ
     ก็สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสวยพระสุธาหารหุงด้วยข้าวสารหนึ่งทะนาน ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยแล้วทรงอึดอัด เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ฯ

        [๓๖๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น เสวยแล้ว ทรงอึดอัด จึงได้ทรงภาษิตพระคาถานี้ในเวลานั้นว่า มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ
รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้มา ย่อมมีเวทนาเบาบาง เขาย่อมแก่ช้า ครองอายุได้ยืนนาน ฯ


        [๓๖๖] ก็สมัยนั้น มาณพชื่อสุทัศนะ ยืนอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ พระเจ้าปเสนทิโกศล ฯ

     ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสเรียกสุทัสสนมาณพมารับสั่งว่า มาเถิด เจ้าสุทัศนะ เจ้าจงเรียนคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค แล้วจงกล่าวใน เวลาเรา บริโภคอาหาร อนึ่งเราจะให้นิตยภัตแก่เจ้าวันละ ๑๐๐ กหาปณะทุกวัน ฯ

     สุทัสสนมาณพรับสนองพระดำรัสพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า เป็นพระมหากรุณา อย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้ แล้วเรียนคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค กล่าวในเวลา ที่ พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารว่า มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้จัก ประมาณ ในโภชนะที่ได้มา ย่อมมีเวทนาเบาบาง เขาย่อมแก่ช้า ครองอายุได้ ยืนนาน ฯ

        [๓๖๗] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงดำรงอยู่โดยมีพระกระยาหาร หนึ่งทะนาน (กะลามะพร้าว) ข้าวสุก เป็นอย่างมาก เป็นลำดับมา ฯ

     ในลำดับต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระวรกายกระปรี้กระเปร่าดี ทรงลูบ พระวรกาย ด้วยฝ่าพระหัตถ์ ทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ทรงอนุเคราะห์เราด้วยประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้ และ ประโยชน์ ภพหน้าหนอ ฯ



ปฐมสังคามวัตถุสูตรที่ ๔


        [๓๖๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตพระนครสาวัตถี ฯ
ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตร ทรงตระเตรียม จตุรงคินีเสนา ยกไปรุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศล ถึงแคว้นกาสี ฯ

        พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทรงสดับข่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินมคธ อชาตสัตรู  เวเทหิบุตร ทรงตระเตรียมจตุรงคินีเสนายกมารุกรานเราถึงแคว้นกาสี ฯ

        ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้   พระเจ้าแผ่นดินมคธ อชาตสัตรู เวเทหิบุตร ป้องกันแคว้นกาสี ฯ

        ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธ อชาตสัตรู เวเทหิบุตร กับพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทำสงครามกันแล้ว แต่ในสงครามครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธ อชาตสัตรู เวเทหิบุตร ทรงชำนะพระเจ้าปเสนทิโกศล ฯ

ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ปราชัย ก็เสด็จล่าทัพกลับพระนครสาวัตถี  ราชธานี ของพระองค์ ฯ

        [๓๖๙] ครั้งนั้น เวลาเช้า ภิกษุเป็นจำนวนมากนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและ จีวรเข้าไป บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว  ในเวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

     ภิกษุเหล่านั้นนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระโอกาส พระเจ้าแผ่นดินมคธ อชาตสัตรู  เวเทหิบุตร ทรงตระเตรียมจตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลถึง แคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงสดับข่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตร ทรงตระเตรียมจตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานเราถึงแคว้นกาสี ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้ พระเจ้าแผ่นดิน มคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตร ป้องกันแคว้นกาสี

        ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตร กับพระเจ้าปเสนทิโกศลทรง ทำสงครามกันแล้ว แต่ในสงครามครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตร ทรง ชำนะพระเจ้าปเสนทิโกศล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้ปราชัย ก็เสด็จล่าทัพกลับพระนครสาวัตถีราชธานีของพระองค์ ฯ

        [๓๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พระเจ้าแผ่นดิน มคธอชาตสัตรูเวเทหิบุตร มีมิตรเลวทราม มีสหายเลวทราม มีพระทัย น้อมไป ในคนเลวทราม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศล มีมิตรดีงาม มีสหายดีงาม มีพระทัยน้อมไปในคนดีงาม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
วันนี้พระเจ้าปเสน ทิโกศลทรงแพ้มาแล้วอย่างนี้ จักบรรทมเป็นทุกข์ ตลอดราตรีนี

        [๓๗๑] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้  จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ผู้ชำนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอน เป็นทุกข์ บุคคลละความชนะ และความแพ้เสียแล้ว จึงสงบระงับ นอนเป็นสุข ฯ



ทุติยสังคามวัตถุสูตรที่ ๕

        [๓๗๒] ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตร ทรงตระเตรียม จตุรงคินีเสนา ยกไปรุกราน พระเจ้าปเสนทิโกศล ถึงแคว้นกาสีฯ พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทรงสดับข่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรู  เวเทหิบุตรทรงตระเตรียม จตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานเราถึงแคว้นกาสี ฯ

     ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้   พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตร ป้องกันแคว้นกาสี ฯ

     ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตร กับพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทำสงครามกันแล้ว แต่ในสงครามครั้งนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงชำนะพระเจ้า แผ่นดิน มคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตร และทรงจับพระองค์เป็นเชลยศึกได้ ฯ

        [๓๗๓] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้มีพระดำริว่า ถึงแม้พระเจ้าแผ่นดิน มคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตรนี้ จะประทุษร้ายเราผู้มิได้ประทุษร้าย แต่เธอก็ยัง   เป็นพระภาคิไนยของเราอย่ากระนั้นเลย เราควรยึดพลช้างทั้งหมด ยึดพลม้า ทั้งหมด ยึดพลรถทั้งหมด ยึดพลเดินเท้าทั้งหมด ของพระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตร แล้วปล่อยพระองค์ไปทั้งยังมีพระชนม์อยู่เถิด ฯ

     ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยึดพลช้างทั้งหมด ทรงยึดพลม้า ทั้งหมด ทรงยึดพลเดินเท้าทั้งหมด ของพระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตร แล้วทรงปล่อย พระองค์ไปทั้งยังมีพระชนม์อยู่ ฯ

        [๓๗๔] ครั้งนั้น เวลาเช้า ภิกษุเป็นจำนวนมาก นุ่งห่มแล้ว ถือบาตร  และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถี แล้ว ในเวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

        ภิกษุเหล่านั้น นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระโอกาส พระเจ้าแผ่นดินมคธ  อชาตสัตรู เวเทหิบุตรทรงตระเตรียมจตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงสดับข่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินมคธ อชาตสัตรู เวเทหิบุตร ทรงตระเตรียมจตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานถึงแคว้นกาสี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไป ต่อสู้พระเจ้าแผ่นดิน มคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตร ป้องกันแคว้นกาสี  

        ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตรกับพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทำ สงครามกันแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ในสงครามครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงชำนะพระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตร และทรงจับพระองค์เป็นเชลยศึก ได้ด้วย

        ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้มีพระดำริว่า ถึงแม้พระเจ้า แผ่นดินมคธ อชาตสัตรู เวเทหิบุตรนี้ จะประทุษร้ายเราผู้มิได้ ประทุษร้าย แต่เธอก็ยังเป็น พระภาคิไนย ของเรา อย่ากระนั้นเลยเราควรยึดพลช้างทั้งหมด ยึดพลม้าทั้งหมด ยึดพลรถทั้งหมด ยึดพล เดินเท้าทั้งหมด ของพระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตร แล้วปล่อยพระองค์ไป ทั้งยังมีพระชนม์อยู่เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

        ลำดับนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยึดพลช้างทั้งหมด ทรงยึดพลม้าทั้งหมด ทรง  ยึดพลรถทั้งหมด ทรงยึดพลเดินเท้าทั้งหมด ของพระเจ้าแผ่นดินมคธ อชาตสัตรู   เวเทหิบุตร แล้วทรงปล่อยพระองค์ไปทั้งยังมีพระชนม์อยู่ ฯ

        [๓๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้วจึงได้ทรงภาษิต พระคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่าบุรุษจะแย่งชิงเขาได้ ก็ชั่วกาลที่การแย่งชิงของเขา ยังพอสำเร็จได้ แต่เมื่อใด คนเหล่าอื่นย่อมแย่งชิง ผู้แย่งชิงนั้น ย่อมถูกเขา กลับแย่งชิง เมื่อนั้น ฯ เพราะว่า คนพาลย่อมสำคัญว่า เป็นฐานะ ตราบเท่าที่บาป ยังไม่ให้ผลแต่บาป ให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น ฯ

        ผู้ฆ่าย่อมได้รับการฆ่าตอบ ผู้ชำนะย่อมได้รับการชนะตอบ  ผู้ด่าย่อมได้รับการ ด่าตอบ และผู้ขึ้งเคียดย่อมได้รับความขึ้งเคียดตอบฉะนั้น เพราะความหมุนเวียน แห่งกรรม ผู้แย่งชิงนั้น ย่อมถูกเขากลับแย่งชิงคืน ฯ


 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์