เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 คุณธรรมเพื่อถึงความเป็นท้าวสักกะ (พระอินทร์) เทวดาชั้นดาวดึงส์ 1041
 
 
วัตรบท ๗ ประการเพื่อความเป็นท้าวสักกะ เป็นไฉน คือ

๑) เราพึงเลี้ยงมารดาบิดาจนตลอดชีวิต
๒) เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลจนตลอดชีวิต
๓) เราพึงพูดวาจาอ่อนหวานตลอดชีวิต
๔) เราไม่พึงพูดวาจาส่อเสียดตลอดชีวิต
๕) เราพึงมีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน อยู่ครองเรือน มีการบริจาคอัน ปล่อยแล้ว
๖) เราพึงพูดคำสัตย์ตลอดชีวิต
๗) เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต ถ้าแม้ความโกรธพึงเกิดขึ้น เราพึงกำจัดมันเสียโดยฉับพลัน

เหตุที่ทรงได้รับการขนานนามหลายชื่อ
1. ท้าวสักกะ เมื่อยังเป็นมนุษย์ เป็นมาณพชื่อว่า มฆะ จึงถูกเรียกว่า ท้าวมฆวา
2. ท้าวสักกะ เมื่อยังเป็นมนุษย์ ได้ให้ทานมาก่อน จึงถูกเรียกว่า ท้าวปุรินททะ
3. ท้าวสักกะ เมื่อยังเป็นมนุษย์ ได้ให้ทานโดยเคารพ จึงถูกเรียกว่า ท้าวสักกะ
4. ท้าวสักกะ เมื่อยังเป็นมนุษย์ ได้ให้ที่พักอาศัย จึงถูกเรียกว่า ท้าววาสวะ
5. ท้าวสักกะ ทรงคิดเนื้อความได้ตั้งพันโดยครู่เดียว จึงถูกเรียกว่า ท้าวสหัสนัยน์
6. ท้าวสักกะ ทรงมีนางอสุรกัญญานามว่า สุชาเป็นปชาบดี จึงถูกเรียกว่า ท้าวสุชัมบดี
7. ท้าวสักกะ เสวยรัชสมบัติเป็นอิสราธิบดีของทวยเทพชั้นดาวดึงส์ จึงถูกเรียกว่า เทวานมินทะ
   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


คุณธรรมเพื่อถึงความเป็นท้าวสักกะ (พระอินทร์)


ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทานวัตร บท ๗ ประการบริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทานวัตรบท ๗ ประการ จึงได้ถึงความเป็นท้าว สักกะ

วัตรบท ๗ ประการเป็นไฉน คือ
๑) เราพึงเลี้ยงมารดาบิดาจนตลอดชีวิต
๒) เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลจนตลอดชีวิต
๓) เราพึงพูดวาจาอ่อนหวานตลอดชีวิต
๔) เราไม่พึงพูดวาจาส่อเสียดตลอดชีวิต
๕) เราพึงมีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทินอยู่ครองเรือน มีการบริจาคอัน ปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกจ่ายทาน ตลอดชีวิต
๖) เราพึงพูดคำสัตย์ตลอดชีวิต
๗) เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต ถ้าแม้ความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่เรา เราพึงกำจัดมัน เสีย โดยฉับพลันทีเดียว


ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทานวัต รบท ๗ ประการนี้บริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทานวัตรบท ๗ ประการดังนี้ จึงได้ถึงความ เป็นท้าวสักกะ ฯ

เหตุที่ทรงได้รับการขนานนามหลายชื่อ

ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน เป็นมาณพชื่อว่า มฆะ เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าวมฆวา

ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ทานมาก่อน เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าวปุรินททะ

ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ทานโดย เคารพ เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าวสักกะ

ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ที่พักอาศัย เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าววาสวะ

ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ ย่อม ทรงคิดเนื้อความได้ตั้งพันโดยครู่เดียว เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าวสหัสนัยน์

ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงมีนางอสุรกัญญานามว่าสุชาเป็นปชาบดี เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าวสุชัมบดี

ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เสวยรัชสมบัติเป็นอิสราธิบดีของทวยเทพ ชั้น ดาวดึงส์ เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า เทวานมินทะ

- บาลี สคาถ.สํ ๑๕/๒๗๕/๙๐๖.

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์