เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ความเพียรซึ่งเกิดได้ยาก ๒ อย่าง... คือ 1 ได้เข้ามาบวช 2.ความเพียรเพื่อละอุปาทิ 1038
 
 
ความเพียรซึ่งเกิดได้ยาก ๒ อย่าง
1) ความเพียรเพื่อทำให้เกิดจีวรบิณฑบาต (ได้เข้ามาบวชในธรรมวินัย)
2) ความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิ **
บรรดาความเพียร ๒ อย่างนี้ ความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นเลิศ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย : เราเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และ กระดูก ก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่ บุคคลพึงบรรลุได้ด้วย เรี่ยวแรง ของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพธิญาณ อันเรานั้นได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท ธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก โยคะอันยอดเยี่ยม อันเรานั้นได้บรรลุแล้ว ด้วยความไม่ประมาท
   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๔๗

ความเพียรซึ่งเกิดได้ยาก ๒ อย่าง


                [๒๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกมีความเพียรซึ่งเกิดได้ยาก ๒ อย่าง๒ อย่างเป็นไฉน คือ

    (1) ความเพียรเพื่อทำให้เกิดจีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขารของคฤหัสถ์ ผู้อยู่ครองเรือน ๑

    (2) ความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิ
ทั้งปวง ของผู้ที่ออกบวชเป็นบรรพชิต ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกมีความเพียร ซึ่งเกิดได้ยาก ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเพียร ๒ อย่างนี้ ความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นเลิศ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละเธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเริ่มตั้ง ความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิทั้งปวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

                [๒๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้ง แห่งความเดือดร้อน ๒ อย่าง  ๒ อย่างเป็นไฉน คือบุคคลบางคนในโลกนี้
   ทำแต่กายทุจริต มิได้ทำกายสุจริต
   ทำแต่วจีทุจริต มิได้ทำวจีสุจริต
   ทำแต่มโนทุจริต มิได้ทำมโนสุจริต

เขาเดือดร้อนอยู่ว่า เรากระทำแต่กายทุจริต มิได้ทำกายสุจริต ทำแต่วจีทุจริต มิได้ทำ วจีสุจริตทำแต่ มโนทุจริต มิได้ทำมโนสุจริต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง ความเดือดร้อน ๒ อย่างนี้แล ฯ

                [๒๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมไม่เป็นที่ตั้ง แห่งความเดือดร้อน ๒ อย่าง ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
   ทำแต่กายสุจริต มิได้ทำกายทุจริต
   ทำแต่ วจีสุจริต มิได้ทำวจีทุจริต
   ทำแต่มโนสุจริต มิได้ทำมโนทุจริต

เขาไม่เดือดร้อนว่า เรากระทำแต่กายทุจริต มิได้ทำกายสุจริต ทำแต่วจีทุจริต มิได้ทำ วจีสุจริต ทำแต่มโน ทุจริต มิได้ทำมโนสุจริต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่ง ความเดือดร้อน ๒ อย่างนี้แล ฯ

                [๒๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงคุณของธรรม ๒ อย่าง ๒ อย่าง เป็นไฉน? คือ
   (1)
ความเป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรม ๑
   (2) ความเป็นผู้ไม่ย่อหย่อนในความเพียร ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลายได้ยินว่า เราเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูก ก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่ บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่น ของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพธิญาณ อันเรานั้นได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท ธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก โยคะอันยอดเยี่ยม อันเรานั้นได้บรรลุแล้ว ด้วยความไม่ ประมาท

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้เธอทั้งหลายจะพึงเริ่มตั้งความเพียร อันไม่ย่อหย่อน ว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามทีเนื้อและเลือดในสรีระ จงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่ บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความ บากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายก็จักทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอด เยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้น ด้วยความรู้ยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ต่อกาลไม่นานเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่ แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระ จงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่ บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

                [๒๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
ความตามเห็นโดยความพอใจในธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ๑ ความพิจารณาเห็นด้วยอำนาจความหน่ายในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ตามเห็นโดยความพอใจในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่ง สังโยชน์อยู่ ย่อมละราคะไม่ได้ ย่อมละโทสะไม่ได้ ย่อมละโมหะไม่ได้ เรากล่าวว่า บุคคลยังละราคะไม่ได้ ยังละโทสะไม่ได้ ยังละโมหะไม่ได้แล้ว ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นด้วยอำนาจความหมายในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ย่อมละราคะได้ ย่อมละโทสะได้ ย่อมละโมหะได้ เรากล่าวว่า บุคคลละราคะ ละโทสะ ละโมหะได้แล้วย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส ย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ

                [๒๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายดำ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ อหิริกะ ๑ อโนตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายดำ ๒ อย่างนี้แล ฯ

                [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ หิริ ๑โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้แล ฯ

                [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ย่อมคุ้มครองโลก  ๒ อย่างเป็นไฉน คือหิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้แล ถ้าธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ไม่พึงคุ้มครองโลก ใครๆ ในโลกนี้จะไม่พึงบัญญัติ ว่า มารดา ว่าน้า ว่าป้าว่าภรรยาของอาจารย์ หรือว่าภรรยาของครู โลกจักถึงความ สำส่อน กัน เหมือนกับพวกแพะพวกแกะ พวกไก่ พวกหมูพวกสุนัขบ้าน และพวกสุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายก็เพราะธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ยังคุ้มครองโลกอยู่ ฉะนั้น โลกจึงบัญญัติคำว่ามารดา ว่าน้าว่าป้า ว่าภรรยาของอาจารย์ หรือว่าภรรยาของครูอยู่ ฯ

                [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วัสสูปนายิกา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ วัสสูปนายิกาต้น ๑ วัสสูปนายิกาหลัง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วัสสูปนายิกา ๒อย่างนี้แล ฯ

จบกัมมกรณวรรคที่ ๑

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์