เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ปริพาชกวัจฉโคตร วัจฉเข้าใจผิดเรื่องญาณทัศนะของพระผู้มีพระภาค 1037
 
 


ความเข้าใจของวัจฉะ ว่า
พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรมทั้งปวงทรงปฏิญญาญาณทัศนะ ไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัศนะปรากฏแล้วเสมอติดต่อกันไป

ดูกรวัจฉะ
ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณ ทัสนะ ไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสนะปรากฏแล้ว เสมอติดต่อกันไป ดังนี้ ไม่เป็นอันกล่าวตามคำ ที่เรากล่าวแล้ว และชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำ ที่ไม่มี ไม่เป็นจริง (เข้าใจว่าพระพุทธเจ้ามีญาณ ต่อเนื่องกัน ตลอดเวลา ทั้งหลับ ทั้งตื่น ซึ่ง ไม่เป็นความจริง)

จากนั้นวัจฉะถามต่อว่า แล้วอย่างไรเล่าจึงจะไม่เป็นการกล่าวตู่ด้วยถ้อยคำที่ไม่จริง
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พระองค์มีวิชชา ๓ (เตวิชชะ) คือ
1. ระลึกชาติก่อนๆได้ เป็นอันมาก
2. เห็นการจุติและการอุบัติของสัตว์ ว่าเป็นไปตามกรรม
3. เป็นผู้ทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ผู้ใดกล่าวว่าตถาคต มี เตวิชชะ (วิชชา ๓) ถือว่ากล่าวจริง กล่าวตรง ไม่ได้กล่าวตู่แต่อย่างใด

วัจฉะถามต่อเรื่องการละสังโยชน์ ว่า
1. คฤหัสถ์ ที่ยังละสังโยชน์ไม่ได้ เมื่อตายไปจะสิ้นทุกข์ได้หรือไม่ พระศาสดาตอบว่า ไม่ได้เลย
2. คฤหัสถ์ ที่ยังละสังโยชน์ไม่ได้ เมื่อตายไปจะ ไปเกิดในสวรรค์ได้หรือไม่ พ. มีอยู่มากทีเดียว
3. อชีวก ที่ยังละสังโยชน์ไม่ได้ เมื่อตายไปจะสิ้นทุกข์ได้หรือไม่ พระศาสดาตอบว่า ไม่ได้เลย
4. อาชีวกบางคน เมื่อตายไปจะไปสวรรค์ได้ มีอยู่หรือ? พ. อาชีวกที่ไปสวรรค์หามิได้ นอกจาก อาชีวกคนเดียวที่เป็น กรรมวาที กิริยาวาที (เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม)

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


ฉบับหลวง  เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๘๔ - ๑๘๗


เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร
(เข้าใจพระพุทธเจ้าผิดไป)


               [๒๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี. ก็สมัยนั้น ปริพาชกวัจฉโคตร อาศัยอยู่ในปริพาชการาม ซึ่งมีต้นมะม่วงขาว ต้นหนึ่ง. ครั้งนั้นแลเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งห่มแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป บิณฑบาตยังเมืองเวสาลี.

          ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า เราจะเที่ยวบิณฑบาต ในเมืองเวสาลี ก่อนก็ยัง เช้านัก ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหา วัจฉโคตตปริพาชก ที่ปริพาชการาม อันมีต้นมะม่วงขาวต้นหนึ่งเถิด.

          ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาวัจฉโคตตปริพาชก ถึงปริพาชการาม ซึ่งมีต้นมะม่วงขาวต้นหนึ่ง. วัจฉโคตตปริพาชกได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล แล้วได้กราบทูลว่า ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเสด็จมาเถิด พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค เสด็จมาดีแล้ว กว่าจะเสด็จมาในที่นี้นานทีเดียว ขอเชิญพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง นี้อาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว แม้ วัจฉโคตตปริพาชก ก็ถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่ง นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

               [๒๔๑] วัจฉโคตตปริพาชกนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัศนะ ไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัศนะปรากฏแล้ว เสมอติดต่อกันไป

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มีปกติเห็น ธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาณทัสนะ ไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสนะปรากฏแล้วเสมอติดต่อกันไป ดังนี้ เป็นอัน กล่าว ตามพระดำรัสที่พระผู้มี พระภาคตรัสแล้ว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค ด้วยคำ ที่ไม่เป็นจริง และชื่อว่าพยากรณ์ ถูกสมควรแก่ธรรมแลหรือ อนึ่ง วาทะและ อนุวาทะ อันเป็นไปกับด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้จะพึงติเตียนแลหรือ?

          ดูกรวัจฉะ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรม ทั้งปวง ทรงปฏิญญา ญาณทัสนะไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสนะปรากฏแล้วเสมอติดต่อกันไป ดังนี้ ไม่เป็นอันกล่าว ตามคำ ที่เรากล่าวแล้ว และชื่อว่า กล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่มี ไม่เป็นจริง

พยากรณ์วิชชา ๓

               [๒๔๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าทั้งหลายจะพยากรณ์อย่างไร จึงจะเป็นอันกล่าว ตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่ชื่อว่าตู่พระผู้มีพระภาค ด้วยคำไม่จริง เป็นอันพยากรณ์ ถูกสมควรแก่ธรรม อนึ่ง วาทะและอนุวาทะ อันเป็นไป กับ ด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้จะพึงติเตียนเล่า.

          ดูกรวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็น เตวิชชะ (วิชชา๓) ดังนี้แล เป็นอันกล่าว ตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง ชื่อว่า พยากรณ์ถูกสมควร แก่ธรรม อนึ่ง วาทะและอนุวาทะ อันเป็นไปกับด้วยเหตุ บางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้พึง ติเตียนเลย.

          (๑) ดูกรวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะระลึกชาติก่อนได้ เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้างสามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้างตลอดสังวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัป เป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียง เท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออ ย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณ อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์ อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิด ในภพนี้ เราย่อมระลึก ถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ ฉะนี้.

         (๒)  ดูกรวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะ เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบ ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือ การกระทำ ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ ด้วย อำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เขาเข้าถึง สุคติ โลก สวรรค์

         (๓)  ดูกรวัจฉะ เราทำให้แจ้ง ซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้า ถึงอยู่.

          ดูกรวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะ เป็นอันกล่าว ตามคำ ที่เรา กล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง เป็นอันพยากรณ์ถูก สมควร แก่ธรรม อนึ่งวาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถึง ฐานะที่ผู้รู้ พึงติเตียน.

ลัทธิเดียรถีย์ไปสวรรค์ไม่ได้

               [๒๔๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัจฉโคตตปริพาชกได้ทูล ถามว่า

          (1) ข้าแต่ พระโคดม คฤหัสถ์บางคน ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้ เมื่อตายไป ย่อมทำที่สุดทุกข์ ได้มีอยู่หรือ? ดูกรวัจฉะ คฤหัสถ์ที่ยังละสังโยชน์ของ คฤหัสถ์ ไม่ได้แล้ว เมื่อตายไป จะทำที่สุดทุกข์ ได้นั้น ไม่มีเลย

           (2) ข้าแต่พระโคดม ก็คฤหัสถ์บางคน ยังละสังโยชน์(กิเลส) ของคฤหัสถ์ ไม่ได้ เมื่อตายไป เข้าถึงโลกสวรรค์ได้ มีอยู่หรือ? ดูกรวัจฉะ คฤหัสถ์ที่ละสังโยชน์ ของคฤหัสถ์ ยังไม่ได้ เมื่อตายไป ได้ไปสวรรค์ นั้น ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย เท่านั้น โดยที่แท้มีอยู่มากทีเดียว

           (3) ข้าแต่ท่านพระโคดม อาชีวกบางคน เมื่อตายไป จะทำที่สุดทุกข์ได้ มีอยู่ บ้างหรือ? ดูกรวัจฉะ อาชีวกบางคน เมื่อตายไป จะทำที่สุดทุกข์ได้นั้น ไม่มีเลย

           (4) ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็อาชีวกบางคน เมื่อตายไป จะไปสวรรค์ได้ มีอยู่ หรือ? ดูกรวัจฉะ แต่ภัทรกัปนี้ไปได้เก้าสิบเอ็ดกัปที่เราระลึกได้ เราจักได้รู้จัก อาชีวก บางคน ที่ไปสวรรค์หามิได้ นอกจากอาชีวกคนเดียว ที่เป็นกรรมวาที กิริยาวาที (เชื่อเรื่องกรรม ว่าทำกรรมเช่นใดย่อมได้รับผลของกรรมนั้นๆ)

           (5)  ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนั้น ลัทธิของเดียรถีย์เป็นอันสูญ โดยที่สุด จากคุณเครื่องไปสู่สวรรค์น่ะซิ อย่างนั้นวัจฉะ ลัทธิของเดียรถีย์นี้ เป็นอันสูญโดยที่สุด แม้จากคุณเครื่องไปสู่สวรรค์

          พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. วัจฉโคตตปริพาชกยินดี ชื่นชม พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วิชชา ๓
โดยย่อ


ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ระลึกชาติ รู้ชาติในอดีต รู้ภพในอดีต)
ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น


จุตูปปาตญาณ (รู้การจุติ การอุบัติ รู้ภพใหม่ ด้วยทิพย์จักษุ)
รู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม

อาสวักขยญาณ (รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว สิ้นภพ)
จินโน้มไปเพื่ออาสวักขยาน ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา จิตย่อมหลุดพ้น มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์