เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  บุคคล ๗ จำพวก อุภโตภาควิมุต ปัญญาวิมุต กายสักขี ทิฏฐิปัตต สัทธาวิมุต ธัมมานุสารี สัทธา 1036
 
 
บุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก คือ
  1.อุภโตภาควิมุต บุคคล (ถึงนิพพาน หรือการหลุดพ้น)
  2.ปัญญาวิมุต บุคคล (ถึงวิมมุตติด้วยปัญญา)
  3.กายสักขี บุคคล (จิตของผู้ที่สัมผัสวิมุตต เข้าถึงสมาธิด้วยนามกาย)
  4.ทิฏฐิปัตต บุคคล (ผู้บรรลุถึงสัมมาทิฐิแล้ว คือตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป)
  5.สัทธาวิมุต บุคคล (ถึงวิมุตติ หรือหลุดพ้นด้วยสัทธา)
  6.ธัมมานุสารี บุคคล (ผู้แล่นไปตามธรรม)
  7.สัทธานุสารี บุคคล (ผู้แล่นไปตามศรัทธา)


   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๗๙


บุคคล ๗ จำพวก

           [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๗ จำพวกเป็นไฉนคือ
อุภโตภาควิมุต บุคคล ๑ (ถึงนิพพาน หรือการหลุดพ้น)
ปัญญาวิมุต บุคคล ๑
(ถึงวิมมุตติด้วยปัญญา)
กายสักขี บุคคล
(จิตของผู้ที่สัมผัสวิมุตต เข้าถึงสมาธิด้วยนามกาย)
ทิฏฐิปัตต บุคคล
(ผู้บรรลุถึงสัมมาทิฐิแล้ว คือตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป)
สัทธาวิมุต บุคคล ๑
(ถึงวิมุตติ หรือหลุดพ้นด้วยสัทธา)
ธัมมานุสารี บุคคล ๑
(ผู้แล่นไปตามธรรม เพ่งพินิจในธรรมทั้งหลายด้วยปัญญา)
สัทธานุสารี บุคคล ๑.
(ผู้แล่นไปตามสัทธา ตั้งมั่นในความสัทธาต่อพระศาสดา)

           (๑) ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์*อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมบัติ ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น(อริยสัจ) ด้วยปัญญา บุคคลนี้เรากล่าวว่า อุภโตภาควิมุตบุคคล
*วิโมกข์แปลว่า นิพพาน หรือการหลุดพ้น

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่ ภิกษุนี้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.

           (๒) ก็ปัญญาวิมุตบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมบัติ ล่วงรูปสมบัติ ด้วยกายอยู่ แต่ อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า ปัญญาวิมุตบุคคล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อม ไม่มีแก่ ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุ นั้น ทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.

           (๓) ก็กายสักขีบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล บางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมบัติ ล่วงรูปสมาบัติ ด้วยกาย อยู่ และอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา บุคคลนี้เรา กล่าวว่ากายสักขีบุคคล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำ ด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเราเห็นผล แห่งความ ไม่ประมาท ของ ภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้ เมื่อเสพเสนาสนะ ที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำ อินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำซึ่งที่สุด พรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่าที่กุลบุตร ทั้งหลาย ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ให้แจ้งชัดด้วยปัญญา อันยิ่งเองได้ในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้

           (๔) ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ล่วง รูปสมบัติ ด้วยกายอยู่ แต่ อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น(อริยสัจ) ด้วย ปัญญา อนึ่ง ธรรมทั้งหลาย ที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นธรรมอันผู้นั้น เห็นแจ้งด้วย ปัญญา ประพฤติดีแล้ว บุคคลนี้ เรากล่าวว่า ทิฏฐิปัตตบุคคล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า.. (เนื้อความเช่นเดียวกับข้างต้นในข้อ ๓)

           (๕) ก็สัทธาวิมุตบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมบัติล่วงรูป สมาบัติ ด้วยกายอยู่ แต่ อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา อนึ่งความเชื่อ ในพระตถาคตของผู้นั้นตั้งมั่นแล้ว มีรากหยั่งลงมั่นแล้ว บุคคลนี้เรากล่าวว่า สัทธาวิมุตบุคคล

           ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า .. (เนื้อความเช่นเดียวกับข้างต้นในข้อ ๓)

           (๖) ก็ธัมมานุสารีบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ล่วง รูปสมาบัติ ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรม ทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมควรซึ่งความพินิจ โดยประมาณด้วย ปัญญาของผู้นั้น อีกประการหนึ่งธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์๕) ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้ เรากล่าวว่า ธัมมานุสารี บุคคล.

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย.. (เนื้อความเช่นเดียวกับข้างต้นในข้อ ๓)

           (๗) ก็สัทธานุสารีบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ล่วงรูป สมาบัติ ด้วยกายอยู่ แต่ อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา อนึ่ง ผู้นั้นมีแต่ เพียงความเชื่อ ความรักในพระตถาคต อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์๕) ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้ เรากล่าวว่า สัทธานุสารีบุคคล.

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย .. (เนื้อความเช่นเดียวกับข้างต้นในข้อ ๓)

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์