เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก 1035
 
 
บุคคล 3 จำพวก 10 นัยยะ  

1) บุคคล 3 จำพวก (สวิฏฐสูตร) กายสักขี (สัมผัสวิมุต) ทิฏฐิปัตต(ผู้บรรลุสัมมาทิฐิ) สัทธาวิมุตต
2) คนไข้ ๓ จำพวก (คิลานสูตร) ได้โภชนะที่สบายหรือไม่ได้..ได้เภสัชที่สบายหรือไม่ได้..
3) บุคคลปรุงแต่งสังขาร 3 จำพวก (สังขารสูตร) ปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร
4) บุคคล 3 จำพวก (พหุการสูตร) ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ.. รู้ชัดอริยสัจสี่ ..แจ้งในวิมุตติ
5) บุคคล 3 จำพวก (วชิรสูตร) บุคคลมีจิตเหมือนแผลเก่า เหมือนฟ้าแลบ เหมือนเพชร
6) บุคคล 3 จำพวก (เสวิสูตร) บุคคลที่ไม่ควรเสพไม่คบไม่นั่งใกล้ ..ควรเสพควรคบควรนั่งใกล้ ..บุคคลที่ต้องสักการะแล้วจึงเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้
7) บุคคล 3 จำพวก (ชิคุจฉสูตร) น่าเกลียดไม่ควรคบ คนวางเฉย บุคคลที่ควรเสพควรคบ-นั่งใกล้
8) บุคคล 3 จำพวก (คูถภาณีสูตร) ถ้อยคำเหม็นเหมือนคูถ หอมเหมือนดอกไม้ หวานปานน้ำผึ้ง
9) บุคคล 3 จำพวก (อันธสูตร) ตาบอด(ไม่รู้ธรรม) ตาเดียว(รู้บ้างไม่รู้บ้าง) สองตา(รู้ธรรมดำ-ขาว)
10) บุคคล 3 จำพวก (อวกุชชิตาสูตร) ปัญญาคว่ำ มีปัญญาเช่นตัก มีปัญญากว้างขวาง

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๑๑๖-๑๒๓

ปุคคลวรรคที่ ๑


1) สวิฏฐสูตร
(กายสิกขี ทิฎฐิปัตต สัทธาวิมุตติ)

             [๔๖๐] ดูกรอาวุโสสวิฏฐะ บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
   กายสักขี บุคคล (จิตของผู้ที่สัมผัสวิมุตต)
   ทิฏฐิปัตต บุคคล
(ผู้บรรลุถึงสัมมาทิฐิแล้ว คือตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป)
   สัทธาวิมุตต บุคคล
(ถึงวิมุตติ หรือหลุดพ้นด้วยสัทธา)

ดูกรท่านผู้มีอายุบุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหน ซึ่งเป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่า

ท่านพระสวิฏฐะ ตอบว่า
กระผมชอบใจ บุคคลผู้ สัทธาวิมุตต ซึ่งเป็นผู้งามกว่าแลประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะ เหตุอะไร เพราะ สัทธินทรีย์ ของบุคคลนี้มีประมาณ

ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ตอบว่า
กระผมชอบใจบุคคล กายสักขี ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ สมาธินทรีย์ ของบุคคลนี้มีประมาณยิ่ง

ท่านพระสารีบุตร ตอบว่า
ผมชอบใจบุคคลผู้ ทิฏฐิปัตตะ ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ปัญญินทรีย์ ของบุคคลนี้มีประมาณยิ่ง

ครั้นแล้วท่านพระสารีบุตร ได้กราบทูลการเจรจาปราศรัยกับ ท่านพระสวิฏฐะ และ ท่าน มหาโกฏฐิตะทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้บุคคลนี้ เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ดังนี้ไม่ใช่จะทำได้โดยง่ายเลย เพราะข้อนี้เป็น ฐานะที่จะมีได้ คือ

บุคคลผู้ สัทธาวิมุตต เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์

บุคคลผู้เป็น กายสักขี ผู้เป็น ทิฏฐิปัตตะ ก็พึงเป็นพระสกทาคามี หรือพระอนาคามี

ดูกรสารีบุตร การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคลนี้เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ดังนี้ไม่ใช่จะทำได้โดยง่ายเลย

กายสักขีบุคคล(นามกาย) เป็นไฉน


2) คิลานสูตร (คนไข้ ๓จำพวก)

             [๔๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนไข้ ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน
คือ

1. คนไข้บางคนในโลกนี้
1.1 ได้โภชนะที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม
1.2 ได้เภสัชที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม
1.3 ได้อุปัฏฐากที่สมควรหรือไม่ได้ก็ตาม ย่อมไม่หายจากอาพาธนั้นได้เลย

2. คนไข้บางคนในโลกนี้
2.1 ได้โภชนะที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม
2.2 ได้เภสัชที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม
2.3 ได้อุปัฏฐากที่สมควรหรือไม่ได้ก็ตาม ย่อมหายจากอาพาธนั้นได้

3. คนไข้บางคนในโลกนี้

3.1 ได้โภชนะที่สบาย จึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย
3.2 ได้เภสัชที่สบาย จึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย
3.3 ได้อุปัฏฐากที่สมควร จึง หายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาคนไข้๓ จำพวกนั้น เพราะอาศัยคนไข้ผู้ที่ได้ ---โภชนะ ที่สบายจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้เภสัชที่สบาย จึงหายจาก อาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้อุปัฏฐากที่สมควร จึงจะหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย นี้เราจึงอนุญาตคิลานภัต อนุญาตคิลานเภสัช อนุญาตคิลานุ ปัฏฐากไว้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย และก็เพราะอาศัยคนไข้เช่นนี้ ถึงคนไข้อื่นก็ควรได้รับการบำรุง ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนไข้ ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลซึ่งเปรียบด้วยคนไข้ ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคลผู้เปรียบด้วยคนไข้ ๓ จำพวกนั้นเป็นไฉน คือ

1.บุคคลบางคนในโลกนี้

1.1 ได้เห็นพระตถาคตหรือไม่ได้เห็นก็ตาม
1.2 ได้ฟังธรรมวินัย ที่พระตถาคต ประกาศแล้วหรือไม่ได้ฟังก็ตาม ย่อมไม่หยั่งลงสู่ ความเห็นชอบ ในกุศลธรรม คือ จตุรมรรคได้เลย

2.บุคคลบางคนในโลกนี้
2.1 ได้เห็นพระตถาคต หรือไม่ได้เห็นก็ตาม
2.2 ได้ฟังธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้วหรือไม่ได้ฟังก็ตาม ย่อมหยั่งลงสู่ความ เห็นชอบ ในกุศลธรรม คือจตุรมรรค

3. บุคคลบางคนในโลกนี้
3.1 ได้เห็นพระตถาคต จึงหยั่งลงสู่ความเห็นชอบในกุศลธรรม คือ จตุรมรรค
3.2 เมื่อไม่ได้เห็น ย่อมไม่หยั่งลงสู่ความเห็นชอบ
3.3 ได้ฟังธรรมวินัยที่พระ ตถาคตประกาศแล้ว จึงหยั่งลงสู่ความเห็นชอบในกุศลธรรม คือ จตุรมรรค เมื่อไม่ได้ฟัง ย่อมไม่หยั่งลงสู่ความเห็นชอบ

ดูกรภิกษุทั้งหลายบรรดาบุคคลทั้ง ๓ จำพวกนั้น
1. เพราะอาศัยบุคคลผู้ที่ได้เห็นพระตถาคต จึงหยั่งลงสู่ความเห็นชอบในกุศลธรรม คือจตุรมรรค
2. เมื่อไม่ได้เห็นย่อม ไม่หยั่งลงสู่ความเห็นชอบ
3 ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว จึงหยั่งลงสู่ความเห็นชอบในกุศล ธรรม คือ จตุรมรรค
3. เมื่อไม่ได้ฟังย่อมไม่หยั่งลง

นี้แล เราจึงอนุญาต การแสดงธรรมไว้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย และก็เพราะอาศัยบุคคลนี้ จึงควรแสดงธรรมแม้แก่บุคคลอื่นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลซึ่งเปรียบด้วยคนไข้๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลกฯ


3) สังขารสูตร
(บุคคลปรุงแต่งสังขาร 3 จำพวก)

             [๔๖๒] บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร ที่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่ง วจีสังขาร ที่มีความ เบียดเบียน ปรุงแต่ง มโนสังขาร ที่มีความเบียดเบียน ครั้นแล้วเขาย่อมเข้าถึงโลก ที่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่เป็นไปกับด้วย ความเบียดเบียน ย่อมถูกต้อง บุคคลผู้เข้า ถึง โลกที่มีความเบียดเบียนนั้น เขาผู้อันผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความ เบียดเบียน ถูกต้องแล้วย่อมเสวยเวทนา อันมีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เหมือน พวกสัตว์นรกฉะนั้น

ย่อมปรุงแต่งกาย สังขาร ที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่ง วจีสังขาร ที่ไม่มีความ เบียดเบียน ปรุงแต่งมโนสังขาร ที่ไม่มีความเบียดเบียน ครั้นแล้วเขา ย่อมเข้าถึงโลก ที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันไม่มีความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องบุคคล ผู้เข้าถึงโลก อันไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาผู้อันผัสสะที่ไม่มีความ เบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อม เสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียนเป็นสุขโดยส่วนเดียว เหมือนพวกเทวดา สุภกิณหะ ฉะนั้น

ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง รุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่ง มโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ครั้นแล้วเขา ย่อมเข้าถึงโลก ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มีความ เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลนั้น บุคคลนั้นผู้อันผัสสะ ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนา อันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เจือปนด้วยสุขและทุกข์ เหมือน มนุษย์เทวดาบางพวก และ วินิปาติกสัตว์บางพวก ฉะนั้น


4) พหุการสูตร
(ถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ รู้จัดนี่ทุกข์..ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ)

             [๔๖๓] บุคคล ๓ จำพวกนี้ เป็นผู้มีอุปการะมาก แก่ บุคคลผู้อาศัย
   ๑. เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสรณะ
   ๒. รู้ชัดว่า นี้ทุกข์นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา
   ๓. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล...  เรากล่าวว่า บุคคลอื่นจากบุคคล ๓ จำพวกนี้ จะเป็นผู้มีอุปการะมาก แก่บุคคลนี้ หามิได้... เราย่อมกล่าวว่า บุคคลนี้ทำการตอบแทน คือ ด้วยการกราบไหว้ การลุกรับ การประนมมือไหว้ สามีจิกรรมการให้ผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค แก่บุคคล ๓ จำพวกนี้มิใช่ง่ายแล



5) วชิรสูตร
(บุคคลมีจิตเหมือนแผลเก่า เหมือนฟ้าแลบ เหมือนเพชร)

             [๔๖๔] บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
  บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า ๑
  บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ ๑
  บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่าเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้โกรธมาก ด้วยความแค้นใจ เมื่อถูกเขาว่าแม้เล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ แผลเก่าถูกไม้ หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อมให้ความหมักหมม มากกว่าประมาณ แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ โกรธ มากด้วยความแค้นใจ เมื่อถูกเขาว่าแม้เล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลมีจิตเหมือนแผลเก่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลมีจิตเหมือนฟ้าแลบเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา บุรุษผู้มีจักษุเห็นรูปในขณะฟ้าแลบ ในเวลากลางคืนซึ่งมืดมิด ฉันใด บุคคลบางคน ในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธ คามินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรียกว่า บุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชรเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แก้วมณี หรือว่าหินชนิดใดที่เพชร จะทำลาย ไม่ได้ ไม่มีแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่าบุคคล มีจิต เหมือนเพชร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ



6) เสวิสูตร

(บุคคล 3 จำพวกที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ และ ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้ และบุคคลที่ควรสักการะ)

             [๔๖๕] บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
   ๑. บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่
   ๒. บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่
   ๓. บุคคลที่จะต้องสักการะเคารพ แล้วจึงเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้มีอยู่


ดูกรภิกษุทั้งหลาย (1) ก็บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเลวโดยศีล สมาธิ ปัญญา บุคคลเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ นอกจากจะเอ็นดูอนุเคราะห์กัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒) ก็บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเช่นเดียวกับตน โดยศีล สมาธิปัญญา บุคคลเห็นปานนี้ ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะการสนทนา ปรารภศีล จักมีแก่พวกเราซึ่งเป็นคนเสมอกันโดยศีลด้วย

การสนทนาของเรานั้น จักเป็นถ้อยคำเป็นไปด้วย และจักเป็นความสำราญของเราด้วย การสนทนาปรารภสมาธิ จักมีแก่พวกเราซึ่งเป็นคนเสมอกันโดยสมาธิด้วย

การสนทนาของเรานั้น จักเป็นถ้อยคำเป็นไปด้วย และจักเป็นความสำราญของเราด้วย การสนทนา ปรารภปัญญา จักมีแก่เราซึ่งเป็นคนเสมอกันโดยปัญญาด้วย การสนทนาของเรานั้น จักเป็นถ้อยคำเป็นไปด้วย และจักเป็นความสำราญของเราด้วย ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (3) ก็บุคคลที่จะต้องสักการะ เคารพแล้วจึงเสพคบหา เข้าไป นั่งใกล้ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยิ่งโดยศีล สมาธิปัญญา บุคคลเห็น ปานนี้ จักต้องสักการะเคารพแล้วจึงเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอาการเช่นนี้
   จักบำเพ็ญศีลขันธ์ที่ยังไม่สมบูรณ์ให้สมบูรณ์ หรือ
   จักอนุเคราะห์ ศีลขันธ์ ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ
   จักบำเพ็ญสมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือ
   จักอนุเคราะห์สมาธิขันธ์บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ
   จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือ
   จักอนุเคราะห์ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ

ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้จึงควรสักการะเคารพ แล้วเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้

ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคผู้สุคตพระศาสดา ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า บุรุษคบคนเลว ย่อมเลวลง คบคนที่เสมอกัน ย่อมไม่เสื่อม ในกาลไหนๆ คบคนที่สูงกว่า ย่อมพลันเด่นขึ้น ฉะนั้น   จึงควรคบคนที่สูงกว่าตนดังนี้



7) ชิคุจฉสูตร
(บุคคลที่น่าเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ..)

             [๔๖๖] บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
   ๑. บุคคลที่น่าเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่
   ๒. บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่
   ๓. บุคคลที่ควรเสพ ควรคบควรเข้าไปนั่งใกล้มีอยู่


ดูกรภิกษุทั้งหลาย (1) บุคคลที่น่าเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควร เข้าไปนั่งใกล้ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานลึกลับ ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญาณตนว่า เป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีบุคคล แต่ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีบุคคล เน่าในภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ บุคคลเห็นปานนี้ควรเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะแม้บุคคล จะไม่ถึงทิฏฐานุคติของบุคคล เห็นปานนี้ก็จริง แต่กิตติศัพท์ที่ไม่ดี ของเขา ก็ย่อมระบือไปว่า เป็นผู้มีคนชั่วเป็นมิตร มีคนชั่วเป็นสหาย มีคนชั่วเป็นเพื่อน เปรียบเหมือนงูที่จมอยู่ในคูถ ถึงแม้จะไม่กัดแต่ก็ทำให้เปื้อนได้ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน แม้บุคคลจะไม่ถึงทิฏฐานุคติ ของบุคคลเห็นปานนี้ก็จริงแต่กิตติศัพท์ที่ไม่ดีของเขา ย่อมระบือไปว่า เป็นผู้มีคนชั่วเป็นมิตร มีคนชั่วเป็นสหาย มีคนชั่วเป็นเพื่อน ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้จึงน่าเกลียด ไม่ควรเสพไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (2) บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไป นั่งใกล้ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้โกรธมากด้วยความแค้นใจ เมื่อถูกว่า แม้เพียงเล็กน้อย ก็ข้องใจ โกรธเคืองพยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และ ความโทมนัส ให้ปรากฏเปรียบเหมือนแผลเก่า ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อมให้ ความหมักหมมยิ่งกว่าประมาณ แม้ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้โกรธมากด้วยความแค้นใจ เมื่อถูกว่า แม้เพียงเล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาทขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ เปรียบเหมือนถ่านไม้มะพลับ ถูกไม้หรือกระเบื้อง กระทบ เข้า ย่อมแตกเสียงดังจิๆ แม้ฉันใด 

บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจเมื่อถูกว่า แม้เพียงเล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธและความ โทมนัสให้ปรากฏ เปรียบเหมือนหลุมคูถ ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมมีกลิ่น เหม็นฟุ้งขึ้น แม้ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจ แม้ถูกว่า เพียงเล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคืองพยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นปานนี้ ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไป นั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาพึงด่าบ้าง บริภาษบ้าง ทำความพินาศให้เราบ้าง ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ จึงควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (3) บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมบุคคลเห็นปานนี้ ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไป นั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม้จะไม่ถึงทิฏฐานุคติของบุคคล เห็นปานนี้ ก็ตาม ถึงกระนั้น ชื่อเสียงที่ดีงามของเขา ก็จะระบือไปว่า เป็นผู้มีคนดี เป็นมิตร มีคนดีเป็นสหาย มีคนดีเป็นเพื่อนฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
บุรุษคบคนเลว ย่อมเลวลง คบคนที่เสมอกัน ย่อมไม่เสื่อมในกาลไหนๆ คบคนที่สูงกว่า ย่อมพลันเด่นขึ้น เพราะฉะนั้น จึงควรคบคนที่สูงกว่าตน ฯ


8) คูถภาณีสูตร
(บุคคลถ้อยคำเหม็นเหมือนคูถ หอมเหมือนดอกไม้ หวานปานน้ำผึ้ง)

             [๔๖๗] บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
   บุคคลที่พูดถ้อยคำเหม็นเหมือนคูถ ๑
   บุคคลที่พูดถ้อยคำหอมเหมือนดอกไม้ ๑
   บุคคลที่พูดถ้อยคำหวานปานน้ำผึ้ง ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้พูดถ้อยคำเหม็น เหมือนคูถเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ ไปในสภาก็ดี ไปในบริษัทก็ดี ไปในท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี ไปในท่ามกลาง เสนา ก็ดีไปในท่ามกลางราชสกุลก็ดี ถูกเขาอ้างเป็นพยาน ถามว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้อย่างใดจงกล่าวอย่างนั้น เขาไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ หรือรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ ไม่เห็นกล่าว ว่าเห็น หรือเห็นกล่าวว่าไม่เห็น แกล้งกล่าวเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุแห่งตนเพราะเหตุ แห่งคนอื่น หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคลผู้พูดด้วยถ้อยคำเหม็นเหมือนคูถ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดด้วยถ้อยคำหอมเหมือนดอกไม้เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปในสภา ก็ดี ไปในบริษัทก็ดี ไปในท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี ไปในท่ามกลางเสนาก็ดี ไปในท่ามกลาง ราชสกุลก็ดี ถูกเขาอ้างเป็นพยาน ถามว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้ อย่างใด จงกล่าวอย่างนั้นเขาเมื่อไม่รู้กล่าวว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็น ก็กล่าวว่าไม่เห็น หรือเมื่อเห็นก็กล่าวว่าเห็น ย่อมไม่แกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้เพราะเหตุ แห่งตน เพราะเหตุแห่งคนอื่น หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย ด้วยประการฉะนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคลพูดถ้อยคำหอมเหมือนดอกไม้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้พูดถ้อยคำหวานปานน้ำผึ้งเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลก นี้ เป็นผู้ละคำ หยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ พูดแต่วาจา ที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต เป็นที่รัก จับหัวใจ เป็นวาจาชาวเมือง เป็นถ้อยคำที่ชน เป็นอันมากพอใจชอบใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคลผู้พูด ถ้อยคำหวาน ปานน้ำผึ้ง


9) อันธสูตร
(คนตาบอด ตาเดียว มีสองตา)

             [๔๖๘] บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
   คนตาบอด ๑
   คนตาเดียว ๑
   คนสองตา ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลตาบอด เป็นไฉนบุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีนัยน์ตา อันเป็น เหตุได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้  หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น ไม่มีนัยน์ตา เครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศล และ อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและ ประณีตรู้ธรรม ที่มีส่วนเปรียบด้วย ธรรมฝ่ายดำและฝ่ายขาว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าคนตาบอด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลตาเดียวเป็นไฉน  บุคคลบางคนในโลกนี้  มีนัยน์ตาอันเป็น เหตุ ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น แต่ไม่มี นัยน์ตา เป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศล และ อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรม ที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ ด้วยธรรมฝ่ายดำและฝ่ายขาว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าคนตาเดียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลสองตาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ มีนัยน์ตาเป็นเหตุ ได้ โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ทำ โภคทรัพย์ที่ได้ แล้วให้ทวีมากขึ้น ทั้งมีนัยน์ตาเป็นเครื่อง รู้ธรรมที่เป็นกุศล และอกุศลรู้ธรรม ที่มีโทษ และ ไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวหรือประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบด้วยธรรม ฝ่ายดำและ ฝ่ายขาว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าคนสองตา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก โภคทรัพย์เห็นปาน ดั่งนั้น ย่อมไม่มีแก่คนตาบอดเลย และคนตาบอดย่อมไม่ทำบุญ อีกด้วย โทษเคราะห์ ย่อมมีแก่คนตาบอดเสียจักษุในโลกทั้งสอง ต่อมา เราได้กล่าว ถึง คนตาเดียวนี้ไว้ อีกคนหนึ่ง คนตาเดียวนั้น เป็นผู้คลุกเคล้ากับธรรมและอธรรม แสวงหาโภคทรัพย์โดย การคด โกง และการพูดเท็จ อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย ทั้งสองอย่างก็มาณพ ผู้บริโภคกาม ย่อมเป็นคนฉลาดที่จะรวบรวมโภคทรัพย์  เขาผู้เป็นคนตาเดียว จากโลก นี้ แล้วไปนรกย่อมเดือดร้อน 

อนึ่ง คนสองตาเรากล่าวว่า เป็นบุคคลที่ประเสริฐสุด คนสองตานั้น ย่อมให้ทรัพย์ที่ตน ได้มาด้วยความหมั่นเป็นทาน  แต่โภคะที่ตนหาได้โดยชอบธรรม เพราะเป็นผู้มีความ ดำริประเสริฐสุด มีใจไม่สงสัย ย่อมเข้าถึงฐานะอันเจริญซึ่ง  บุคคลไปถึงแล้ว ไม่เศร้าโศก บุคคลควรเว้นคนตาบอด กับ คนตาเดียวเสียให้ห่างไกล แต่ควรคบคน สองตา ซึ่งเป็นบุคคลผู้ประเสริฐสุด



10) อวกุชชิตาสูตร
(ปัญญาคว่ำ มีปัญญาเช่นตัก มีปัญญากว้างขวาง)


             [๔๖๙] บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
   บุคคลมีปัญญาคว่ำ ๑
   บุคคลมีปัญญาเช่นกับตัก ๑
   บุคคลมีปัญญากว้างขวาง ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่มีปัญญาคว่ำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ หมั่นไปวัด เพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุเสมอ ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เขา เขานั่งบน อาสนะ นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นไม่ได้ ถึงลุกจากอาสนะแล้ว ก็จำเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุดของกถานั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนหม้อคว่ำ ถึงจะเอาน้ำรด ลงที่หม้อนั้น ย่อมราดไป หาขังอยู่ไม่ แม้ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน หมั่นไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุ เสมอ ภิกษุย่อมแสดงธรรม อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่เขา เขานั่งบนอาสนะนั้นจำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นไม่ได้ แม้ลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นไว้ไม่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคลมีปัญญาคว่ำ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีปัญญา เหมือนตักเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ หมั่นไปวัดเพื่อฟังธรรม ในสำนักของ ภิกษุเสมอ ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เขา เขานั่งบนอาสนะ นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นได้ ครั้นลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนบนตักของบุรุษ มีของเคี้ยวนานาชนิด คือ งา ข้าวสาร ขนมต้ม พุทรา เกลื่อนกลาด เขาลุกจากอาสนะ นั้น พึงทำเรี่ยราด เพราะเผลอสติ แม้ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันหมั่นไปวัด เพื่อฟังธรรมในสำนัก ของภิกษุ เสมอ ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิงแก่เขา เขานั่งบน อาสนะนั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นได้ ครั้นลุกจากอาสนะ นั้นแล้ว จำเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุดของกถานั้น ไว้ไม่ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคลมีปัญญาเหมือนตัก

ดูกรภิกษุทั้งหลายก็บุคคลที่มี ปัญญา กว้างขวางเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ หมั่นไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนัก ของภิกษุเสมอ ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เขา เขานั่งบนอาสนะนั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นได้ แม้ลุกจากอาสนะนั้น แล้ว ก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถา นั้นได้ เปรียบเหมือนหม้อหงาย เอาน้ำเทใส่ไปในหม้อนั้น ย่อมขังอยู่หาไหลไปไม่ แม้ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน หมั่นไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนัก ของภิกษุ เสมอ ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิงแก่เขา เขานั่งบน อาสนะนั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นได้ ถึงลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็จำเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุดของกถานั้นได้ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคลมีปัญญากว้างขวาง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

บุรุษมีปัญญาคว่ำ เป็นคนเขลา ไร้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา บุรุษเช่นนั้น แม้หากจะ หมั่นไปในสำนักของภิกษุเสมอ ก็ไม่อาจจะเล่าเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ของกถาได้ เพราะเขาไม่มีปัญญา บุรุษมีปัญญาเหมือนตัก เรากล่าวว่าดีกว่า บุรุษ ที่มีปัญญาคว่ำ บุรุษเช่นนั้นถึงแม้จะไปในสำนักของภิกษุเสมอ นั่งบนอาสนะนั้น เรียนเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของกถาได้

ครั้นลุกมาแล้ว กำหนดจดจำพยัญชนะไม่ได้ เพราะพยัญชนะที่เขาเรียนแล้ว เลอะเลือนไป ส่วนบุรุษผู้มีปัญญากว้างขวาง เรากล่าวว่าดีกว่าบุรุษที่มีปัญญา เหมือนตักบุรุษเช่นนั้น แม้ไปในสำนักของภิกษุเสมอ นั่งบนอาสนะนั้น  เล่าเรียน เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของกถาได้ แล้วจำพยัญชนะไว้ เป็นคนมีความดำริ ประเสริฐสุด มีใจไม่สงสัยปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ





 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์