เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 นิวรณ์ ๕ คือกอง อกุศล ที่แท้จริง (อกุศลราสี) 1034
 
 


นิวรณ์ ๕ คือ กองอกุศลที่แท้จริง (อกุศลราสี)

๕ ประการเป็นไฉน
   1.นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ
   2.นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท
   3.นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถิ่นมิทธะ
   4.นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจะ
   5.นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา

เปรียบเหมือน แม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขาไปสู่ที่ไกล พัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้ บุรุษพึง ปิดปากเหมือง แห่งแม่น้ำนั้นทั้งสองข้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสน้ำในท่ามกลางแม่น้ำ นั้น ก็จักไม่ซัด ไม่ส่ายไหล ไม่ผิดทาง พึงไหลไปสู่ที่ไกลได้ มีกระแสเชี่ยว และพัด ในสิ่งที่ พอพัดไปได้ฉันใด (ไม่มีสิ่งกีดขวาง ไม่มีเครื่องกางกั้น)

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 

 

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต หน้าที่ ๕๖


นิวรณ์ ๕ คือ กองอกุศลที่แท้จริง
(อกุศลราสี)
อาวรณสูตร



            [๕๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูล รับสนอง พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ทุรพล

๕ ประการเป็นไฉน

   นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ ๑
   นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท ๑
   นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถิ่นมิทธะ ๑
   นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจะ ๑
   นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้แล ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญา ให้ทุรพล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้วจักรู้จักประโยชน์ของตน ประโยชน์ของผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ สามารถกระทำความ เป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ด้วยปัญญาที่ไม่มีกำลัง ทุรพล ข้อนี้มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้

เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขาไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดสิ่งที่จะพัด ไปได้ บุรุษพึงเปิดปากเหมืองแห่งแม่น้ำนั้นทั้งสองข้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสน้ำใน ท่ามกลาง แห่งแม่น้ำนั้น ก็ซัดส่าย ไหลผิดทาง ไม่พึงไหลไปสู่ที่ไกล ไม่มีกระแส เชี่ยว ไม่พัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ฉันใด

ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกันแลหนอ ไม่ละนิวรณ์ เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำ จิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้วจักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรม ของมนุษย์ ด้วยปัญญาอันไม่มีกำลัง ทุรพล ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว จักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือ จักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรม ของมนุษย์ ด้วยปัญญาอันมีกำลัง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้

เปรียบเหมือน แม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขาไปสู่ที่ไกล พัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้ บุรุษพึง ปิดปากเหมือง แห่งแม่น้ำนั้นทั้งสองข้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสน้ำในท่ามกลางแม่น้ำ นั้น ก็จักไม่ซัด ไม่ส่ายไหลไม่ผิดทาง พึงไหลไปสู่ที่ไกลได้ มีกระแสเชี่ยว และพัด ในสิ่งที่ พอพัดไปได้ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกันแลหนอ

ละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิตทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว จักรู้ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะ อันวิเศษ สามารถกระทำความ เป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยปัญญาอันมี กำลัง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ราสิสูตร

            [๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อกล่าวว่า กองอกุศล ดังนี้ จะกล่าวให้ถูก พึงกล่าว นิวรณ์ ๕ และ กองอกุศลทั้งสิ้นนี้ คือ นิวรณ์ ๕

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน คือ
   กามฉันทนิวรณ์
   พยาปาทนิวรณ์
   ถิ่นมิทธนิวรณ์
   อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
   วิจิกิจฉานิวรณ์


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อกล่าวว่า กองอกุศล ดังนี้ จะกล่าวให้ถูกพึงกล่าว นิวรณ์ ๕ และ กองอกุศลทั้งสิ้นนี้ คือ นิวรณ์ ๕

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อังคสูตร


            [๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน
คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ ของพระตถาคต ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น ผู้จำแนกธรรม ดังนี้ ๑

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตที่เผาอาหาร ให้ย่อยสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลางควรแก่การบำเพ็ญเพียร ๑

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นผู้เปิดเผยตน ตามเป็นจริงใน พระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชน ๑

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม อยู่ เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม ๑

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา ที่ให้หยั่งถึงความเกิดขึ้นและ ดับไป อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้แล ฯ

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์