เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  มิตรดี มิตรชั่ว 3 พระสูตร 1030
 
 
เมื่อบุคคลมีมิตรชั่ว

 - อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
 - กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป

เมื่อบุคคลมีมิตรดี
 - กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
 - อกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน (เทวดาตรัสคาถาถวายพระผู้มีพระภาค)
ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑
ความเป็นผู้เคารพในพระธรรม ๑
ความเป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ ๑
ความเป็นผู้เคารพในสิกขา ๑
ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑

ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑
-------------------------------------------------------------------------------------------------------

มิตรชั่ว เป็นสิ่งที่ต้องละ

บุคคลเมื่อ
- เป็นคนไม่ใส่ใจ (อนาทริยะ) เป็นผู้ว่ายาก(โทวจัสสตา) และ มีมิตรชั่ว (ปาปมิตตา)
- ก็จะไม่ศรัทธา ไม่เอื้อเฟื้อ และมีความเกียจคร้าน

บุคคลเมื่อ
- ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีความประมาท
- ก็ไม่ใส่ใจ เป็นผู้ว่ายาก และ มีมิตรชั่ว

บุคคลเมื่อ
- ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีความประมาท
- ก็ไม่ใส่ใจ เป็นผู้ว่ายาก และ มีมิตรชั่ว.

เมื่อเป็นผู้มีมิตรชั่ว
- ก็ไม่อาจละซึ่ง ความไม่มีศรัทธา ความไม่เอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้าน

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 

 

(1)
มิตรดี มิตรชั่ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้ อกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือ กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้มีมิตรชั่ว

เมื่อบุคคลมีมิตรชั่ว
อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้ กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี

เมื่อบุคคลมีมิตรดี
กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
อกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป


(2)
มิตรดี เป็นหนึ่งในธรรม ๖ ประการ ที่เทวดากราบทูลพระผู้มีพระภาค

          ครั้งนั้น เทวดาตนหนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงไป มีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหาร เชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่างไสวแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
๖ ประการเป็นไฉน คือ
       ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑
       ความเป็นผู้เคารพในพระธรรม ๑
       ความเป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ ๑
       ความเป็นผู้เคารพในสิกขา ๑
       ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑
       ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ เทวดาตนนั้นกล่าวดังนี้แล้วพระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้งนั้น เทวดาตนนั้นได้ทราบ ว่า พระศาสดาได้ทรง พอพระทัยตนแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำ ประทักษิณแล้วหายไปณ ที่นั้น ฯ

(เทวตาสูตร)


(3)
มิตรชั่ว เป็นสิ่งที่ต้องละ

(ย่อ)
บุคคลเมื่อ

1. เป็นคนไม่ใส่ใจ (อนาทริยะ) เป็นผู้ว่ายาก(โทวจัสสตา) และ มีมิตรชั่ว (ปาปมิตตา)
2. ก็จะไม่ศรัทธา ไม่เอื้อเฟื้อ และมีความเกียจคร้าน

บุคคลเมื่อ
3. ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีความประมาท
1. ก็ไม่ใส่ใจ เป็นผู้ว่ายาก และ มีมิตรชั่ว

บุคคลเมื่อ
3. ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีความประมาท
1. ก็ไม่ใส่ใจ เป็นผู้ว่ายาก และ มีมิตรชั่ว.

เมื่อเป็นผู้มีมิตรชั่ว
ก็ไม่อาจละซึ่ง ความไม่มีศรัทธา ความไม่เอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้าน


* ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่ละซึ่งธรรม ๓ คือ
ความไม่ใส่ใจ (อนาทริยะ)
ความเป็นผู้ว่ายาก (โทวจัสสตา) และ
ความมีมิตรชั่ว (ปาปมิตตา)
ก็ไม่อาจละซึ่งธรรม ๓ คือ
ความไม่มีศรัทธา ความไม่เอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้าน

* ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่ละซึ่งธรรม ๓ คือ
ความไม่มีหิริ (ไม่ละอายต่อบาปอกุศล)
ความไม่มีโอตตัปปะ (ไม่เกรงกลัวต่อบาปอกุศล) และ
ความประมาท
ก็ไม่อาจละซึ่งธรรม๓ คือ
ความไม่ใส่ใจ ความเป็นผู้ว่ายาก และความมีมิตรชั่ว

* ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลนี้
เป็นผู้ไม่มีหิริ (ไม่ละอายต่อบาปอกุศล)
ไม่มีโอตตัปปะ (ไม่เกรงกลัว ต่อบาปอกุศล) และ
มีความประมาทแล้ว
เขาเมื่อเป็นผู้ประมาท ก็ไม่อาจละซึ่ง
ความไม่ใส่ใจ ความเป็นผู้ว่ายาก และความมีมิตรชั่ว
.

เขาเมื่อเป็นผู้มีมิตรชั่ว ก็ไม่อาจละซึ่ง ความไม่มีศรัทธา ความไม่เอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้าน.







 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์