เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  เวรย่อมไม่ระงับด้วยการผูกเวร (อุปักกิเลสสูตร ) 1029
 
 
ทรงห้ามภิกษุทะเลาะกัน
สมัยนั้น แล พวกภิกษุในพระนคร โกสัมพี เกิดขัดใจ ทะเลาะวิวาทกันเสียดสีกัน และกัน ด้วยฝีปากอยู่.. ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่าเลย อย่าขัดใจ  อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง อย่าวิวาทกันเลย เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ 

ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลว่า..
ขอพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นเจ้าของธรรม ทรงยับยั้งก่อน ขอได้โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ทรงประกอบ เนืองๆ แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระองค์ยังจักปรากฏ อยู่ด้วยการ ขัดใจ ทะเลาะแก่งแย่งวิวาทกันเช่นนี้ (ขอร้องอย่าทรงห้ามเลย) พระผู้มีพระภาคตรัสขอร้องถึง 3 ครั้ง

เวรย่อมไม่ระงับด้วยการผูกเวร

ก็ชนเหล่าใด ผูกโกรธ
เขาว่าคนโน้นได้ด่าเรา คนโน้นได้ประหารเรา คนโน้น ได้ชนะเรา คนโน้น ได้ลักของของเรา เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่สงบ

ส่วนชนเหล่าใด ไม่ผูกโกรธ เขาว่า คนโน้นได้ ด่าเรา คนโน้นได้ประหารเรา คนโน้นได้ ชนะเรา  คนโน้นได้ลักของของเรา เวรของชนเหล่านั้นย่อมเข้าไปสงบได้

เวรในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับได้ด้วยเวรเลย ในกาลไหนๆ แต่จะระงับได้ด้วยไม่มีเวรกัน นี้เป็นธรรมดา มีมาเก่าแก่ ก็คนพวกอื่นย่อมไม่รู้สึกว่า พวกเราจะย่อยยับในที่นี้
   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ หน้าที่ ๒๒๙


เวรย่อมไม่ระงับด้วยการผูกเวร (อุปักกิเลสสูตร )


[๔๓๙]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารโฆสิตาราม เขตพระนคร โกสัมพี สมัยนั้น แล พวกภิกษุในพระนคร โกสัมพี เกิดขัดใจ ทะเลาะวิวาทกันเสียดสีกัน และกัน ด้วยฝีปากอยู่ ฯ

[๔๔๐]  ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้วถวาย อภิวาท พระผู้มีพระภาค ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  พวกภิกษุในพระนคร โกสัมพี นี้ เกิดขัดใจ ทะเลาะวิวาทกัน เสียดสีกัน และกันด้วยฝีปากอยู่ ขอพระผู้มี พระภาคได้โปรดอาศัยความ อนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของ ภิกษุเหล่านั้น เถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับ ด้วย ดุษณีภาพ ต่อนั้น ได้เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของ ภิกษุเหล่านั้น

ครั้นแล้วได้ตรัสกะภิกษุ เหล่านั้น ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่าเลย อย่าขัดใจ  อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง อย่าวิวาทกันเลย เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้  ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นเจ้าของธรรม ทรงยับยั้งก่อน ขอได้โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ทรงประกอบ เนืองๆ แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระองค์ยังจักปรากฏ อยู่ด้วยการ ขัดใจ ทะเลาะแก่งแย่งวิวาทกันเช่นนี้  ฯ

[๔๔๑]  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุเหล่านั้นแม้ในวาระที่ ๒ ดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าเลย อย่าขัดใจ อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง อย่าวิวาทกันเลย  ภิกษุรูปนั้นก็ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาค แม้ในวาระที่ ๒ ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเจ้า ของธรรม ทรงยับยั้งก่อน ขอได้โปรดทรงเป็นผู้ ขวนขวายน้อย ทรงประกอบเนืองๆแต่สุขวิหารธรรม ในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระองค์ ยังจักปรากฏอยู่ ด้วยการขัดใจ ทะเลาะ แก่งแย่งวิวาทกัน เช่นนี้  ฯ

[๔๔๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุเหล่านั้นแม้ในวาระที่ ๓ ดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าเลย อย่าขัดใจ อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง อย่าวิวาทกันเลย  ภิกษุรูปนั้นก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค แม้ในวาระที่ ๓ ดังนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคผู้เป็น เจ้าของ ธรรม ทรงยับยั้งก่อน ขอได้โปรดทรงเป็นผู้ ขวนขวายน้อย ทรงประกอบเนืองๆแต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบัน อยู่เถิดพวกข้าพระองค์ยังจักปรากฏอยู่ ด้วยการขัดใจ ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาทกัน เช่นนี้  ฯ

[๔๔๓]  ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งสบง ทรงบาตร จีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาต ยังพระนคร โกสัมพี ในเวลาเช้า ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลา พระกระยาหารแล้ว ทรงเก็บเสนาสนะ กำลังประทับยืนอยู่นั่นแหละ ได้ตรัสพระคาถา ดังนี้ว่า

ภิกษุมีเสียงดังเสมอกัน ไม่มีใครๆ สำคัญตัวว่าเป็นพาล เมื่อสงฆ์แตกกัน ต่างก็มิได้ สำคัญตัวกันเองให้ยิ่ง พวกที่เป็นบัณฑิต ก็พากันหลงลืม มีปากพูด ก็มีแต่คำพูดเป็น อารมณ์ พูดไป เท่าที่ปรารถนาแสดงฝีปาก ไม่รู้เหตุที่ตนนำไป

ก็ชนเหล่าใด ผูกโกรธ เขาว่า คนโน้นได้ด่าเรา คนโน้นได้ประหารเรา คนโน้น ได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่สงบ

ส่วนชนเหล่าใด ไม่ผูกโกรธ เขาว่า คนโน้นได้ ด่าเรา คนโน้นได้ประหารเรา คนโน้นได้ ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา เวรของชนเหล่านั้นย่อมเข้าไปสงบได้

เวรในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับได้ด้วยเวรเลย ในกาลไหนๆ แต่จะระงับได้ด้วยไม่มีเวร กัน นี้เป็นธรรมดา มีมาเก่าแก่ ก็คนพวกอื่นย่อมไม่รู้สึกว่า พวกเราจะย่อยยับในที่นี้

แต่ชนเหล่าใดในที่นั้น รู้สึกความมาดร้ายกัน ย่อมสงบแต่ชน เหล่านั้นได้ คนพวกอื่น ตัดกระดูกกัน ผลาญ ชีวิตกัน ลักโค ม้า ทรัพย์กัน แม้ชิงแว่นแคว้นกัน ยังมีคืนดีกัน ได้ เหตุไร พวกเธอ จึงไม่มีเล่า ถ้าบุคคลได้สหายที่มี ปัญญารักษาตัว ร่วมทางจร เป็น นักปราชญ์ มีปรกติให้สำเร็จประโยชน์อยู่ คุ้มอันตรายทั้งปวงได้ พึงชื่นชม มีสติ เที่ยวไป กับสหายนั้นเถิด ถ้าไม่ได้สหาย ที่มีปัญญารักษาตัว ร่วมทางจร เป็น นักปราชญ์ มีปรกติให้สำเร็จ ประโยชน์อยู่ พึงเป็นผู้ผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนพระราชา ที่ทรง สละราชสมบัติ และ เหมือนช้าง มาตังคะในป่า  ฉะนั้นการเที่ยวไปคนเดียวประ เสริฐกว่า เพราะไม่มีความ เป็นสหายกัน ในคนพาล พึงเป็นผู้ ผู้เดียวเที่ยวไป  และไม่พึงทำบาป เหมือนช้าง มาตังคะ มีความ ขวนขวายน้อยในป่าฉะนั้น  ฯ

[๔๔๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคครั้นประทับยืน ตรัสพระคาถานี้แล้ว ได้เสด็จ เข้าไป ยังบ้าน พาลกโลณการ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระภคุอยู่ในบ้านพาลก โลณการ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว จึงแต่งตั้งอาสนะ และน้ำสำหรับ ล้างพระบาทไว้ พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง บนอาสนะที่แต่งตั้งไว้แล้ว ทรงล้างพระบาท ท่านพระภคุถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระภคุ ผู้นั่งเรียบร้อยแล้วดังนี้ว่า ดูกรภิกษุพอทน พอเป็นไปได้หรือ เธอไม่ลำบากด้วยเรื่องบิณฑบาตบ้างหรือ  ฯ

ท่านพระภคุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พอทน พอเป็นไปได้และข้าพระองค์ ไม่ลำบาก ด้วยเรื่องบิณฑบาต เลย พระพุทธเจ้าข้า ต่อนั้น พระผู้มีพระภาคทรง สนทนา กับท่านพระภคุทรงชักชวนให้อาจหาญ  ร่าเริงด้วยกถา ประกอบด้วย ธรรม แล้วทรงลุกจาก อาสนะเสด็จเข้าไปประทับนั่งยังป่าปาจีนวงส์  ฯ

[๔๔๕]  ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และท่าน พระกิมพิละ อยู่ในป่า ปาจีนวงส์ คนรักษาป่า ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว ได้กล่าวกะ พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านสมณะ ท่านอย่าเข้าไปยังป่านี้ ในป่านี้  มีกุลบุตร ๓ คน กำลังหวังอัตตาอยู่ ท่านอย่าได้ทำความไม่สำราญแก่เขาเลย  ท่านพระอนุรุทธได้ยิน คนรักษาป่าพูดกับพระผู้มีพระภาคอยู่ ครั้นได้ยินแล้ว  จึงบอกคนรักษาป่าดังนี้ว่า 

ดูกรท่านผู้รักษาป่า ท่านอย่าห้ามพระผู้มีพระภาคเลย พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดา ของพวกเรา ได้เสด็จถึงแล้ว โดยลำดับ ต่อนั้นท่านพระอนุรุทธ เข้าไปหาท่าน พระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ ยังที่อยู่ แล้วบอกดังนี้ว่า นิมนต์ท่านทั้งสองไป ข้างหน้าๆ กันเถิด พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระศาสดา ของพวกเรา เสด็จถึงแล้ว โดยลำดับ ครั้งนั้นแล ท่านพระ อนุรุทธ  ท่านพระนันทิยะ และท่าน พระกิมพิละ ต้อนรับพระผู้มีพระภาค  องค์หนึ่งรับบาตรจีวร ของพระผู้มีพระภาค องค์หนึ่งแต่งตั้ง อาสนะ องค์หนึ่งตั้งน้ำ สำหรับล้างพระบาท พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง บนอาสนะ ที่แต่งตั้งแล้วทรงล้างพระบาท แม้ท่านทั้ง ๓ นั้นก็ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

[๔๔๖]  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ว่า ดูกรอนุรุทธ เธอพอทน พอเป็นไปได้หรือ พวกเธอไม่ลำบากด้วยเรื่อง บิณฑบาต บ้างหรือ  ฯ

    ท่านพระอนุรุทธกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พอทนได้ พอเป็นไปได้ พวกข้าพระองค์ไม่ ลำบากด้วยเรื่องบิณฑบาตเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ.  ดูกรอนุรุทธ ก็พวกเธอพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกันเข้ากันได้ดังนมสด และน้ำ  มองดูซึ่งกันและกัน ด้วยนัยน์ตาที่น่ารักอยู่หรือ ฯ

อ.  แน่นอน พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์พร้อมเพรียงกันยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากัน ได้ดังนมสดและน้ำ มองดูซึ่งกันและกันด้วยนัยน์ตาที่น่ารักอยู่ 

พ.  ดูกรอนุรุทธ อย่างไรเล่า พวกเธอจึงพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกันไม่วิวาทกัน  เข้ากันได้ดัง นมสด และน้ำ มองดูซึ่งกันและกันด้วยนัยน์ตาที่น่ารักอยู่ได้ ฯ

[๔๔๗]  อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเรา เราได้ดีแล้วหนอ ที่อยู่กับเพื่อนภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ร่วมกัน เห็นปานนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นเข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม  อันประกอบด้วยเมตตา ในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ และมีความ ดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงวางจิตของตนให้เป็นไปตามอำนาจจิต ของท่าน ผู้มีอายุ เหล่านี้ ข้าพระองค์นั้นแล จึงวางจิตของตนให้เป็นไปตามอำนาจจิต ของท่าน ผู้มีอายุเหล่านี้ ก็พวกข้าพระองค์ต่างกันแต่กายเท่านั้น ส่วนจิตคงเป็น อันเดียวกัน  ฯ

[๔๔๘]  แม้ท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมพิละ ก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็มีความดำริอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเรา เราได้ดี แล้วหนอ ที่อยู่กับเพื่อนภิกษุ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ร่วมกันเห็นปานนี้ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้น เข้าไปตั้ง กายกรรม วจีกรรมมโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับและมีความดำริว่าไฉนหนอ เราพึง วางจิต ของตนให้เป็นไปตามอำนาจจิต

 

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์