เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ต้นไม้ 5 ชนิด ที่พระผู้มีพระภาคทรงประทับ เมื่อแรกตรัสรู้ 1023
 
 

ต้นไม้ ๕ ชนิด ที่พระผู้มีพระภาคทรงประทับ เพื่อเสวยวิมุตติสุข ตลอด ๗ วัน

ต้นที่ ๑ ต้นโพธิ์ (นั่งบัลลังค์เดี่ยวเสวยวิมุติสุขตลอด ๗ วัน)
ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลม และปฏิโลม ตลอดปฐมยามแห่งราตรี (ประทับ๗ วัน)

ต้นที่ ๒ ต้นอชปาลนิโครธ (เสวยวิมุตติสุขตลอด ๗ วัน)
พราหมณ์ หุหุกชาติ เข้าเฝ้าถาม ด้วยเหตุเพียงเท่าใด ทำให้บุคคลเป็นพราหมณ์

ต้นที่ ๓ ต้นมุจจลินท์ (ประทับ๗ วัน)
มุจจลินทนาคราช ขนดพระวรกาย ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่เหนือพระเศียรเพื่อปกป้อง

ต้นที่ ๔ ต้นราชายตนะ (เสวยวิมุตติสุขตลอด ๗ วัน)
พ่อค้าชื่อตปุสสะ กับ ภัลลิกะ บูชาพระผู้มีพระภาคด้วย สัตตุผง(ข้าตู) และ สัตตุก้อน

ต้นที่ ๕ ต้นอชปาลนิโครธ (เสวยวิมุตติสุข และเสด็จไปที่สงัด เพื่อหลีกเร้นตลอด ๗ วัน)
ทรงมีพระปริวิตกว่า ธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว เป็นเรื่องลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๒


ต้นไม้ ๕ ชนิด ที่พระผู้มีพระภาคทรงประทับ เมื่อแรกตรัสรู้


ต้นที่ ๑ ต้นโพธิ์
ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลม และปฏิโลม ตลอดปฐมยามแห่งราตรี
เมื่อแรกตรัสรู้ ทรงประทับที่ควงไม้โพธิพฤกษ์ (ต้นที่๑) ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ. ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งด้วย บัลลังก์เดียวเสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้ โพธิพฤกษ์ ตลอด ๗ วัน ทรงมนสิการ ปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม และ ปฏิโลม ตลอดปฐมยามแห่งราตรี...

ต้นที่ ๒
ต้นอชปาลนิโครธ
พราหมณ์ หุหุกชาติ เข้าเฝ้าถาม ด้วยเหตุเพียงเท่าใด ทำให้บุคคลเป็นพราหมณ์

ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากควงไม้โพธิพฤกษ์ เข้าไปยัง ต้นไม้อชปาลนิโครธ(ต้นที่๒) แล้วประทับนั่ง ด้วยบัลลังก์เดียว เสวย วิมุตติสุข ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ตลอด ๗ วัน ครั้งนั้น พราหมณ์ หุหุกชาติ คนหนึ่ง ได้ไปในพุทธสำนัก.. ได้ทูลคำนี้ แด่ผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม บุคคลชื่อว่าเป็น พราหมณ์ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ก็แลธรรมเหล่าไหน ทำบุคคลให้ เป็นพราหมณ์?

ต้นที่ ๓
ต้นไม้มุจจลินท์
มุจจลินทนาคราช ขนดพระวรกาย ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่เหนือพระเศียรเพื่อปกป้อง

ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากควงไม้อชปาลนิโครธ เข้าไปยัง ต้นไม้มุจจลินท์ (ต้นที่๓) แล้วประทับนั่ง ด้วยบัลลังก์ เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้มุจจลินท์ตลอด ๗ วัน.ครั้งนั้น เมฆใหญ่ในสมัยมิใช่ฤดูกาลตั้งขึ้นแล้ว ฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาว ตลอด ๗ วัน. ครั้งนั้น มุจจลินทนาคราช ออกจากที่อยู่ ของตน ได้แวดวงพระกาย พระผู้มีพระภาค ด้วยขนด ๗ รอบ ได้แผ่ พังพานใหญ่ เหนือพระเศียรสถิตอยู่ด้วย หวังใจว่า ความหนาว ความร้อนอย่าเบียดเบียน พระผู้มี พระภาค สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน อย่าเบียดเบียนพระผู้มี พระภาค.

ต้นที่ ๔ ต้นราชายตนะ
พ่อค้าชื่อตปุสสะ กับ ภัลลิกะ บูชาพระผู้มีพระภาคด้วย สัตตุผง(ข้าตู) และ สัตตุก้อน
ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น แล้วเสด็จจากควงไม้มุจจลินท์ เข้าไปยัง ต้นไม้ราชายตนะ (ต้นที่๔ )แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวย วิมุตติสุข ณควงไม้ราชายตนะตลอด ๗ วัน. ก็สมัยนั้นพ่อค้าชื่อตปุสสะ๑ ภัลลิกะ๑ เดินทางไกล จากอุกกลชนบท ถึงตำบลนั้น. ครั้งนั้น เป็นเทพยดาผู้เป็นญาติสาโลหิตของตปุสสะ ภัลลิกะ ๒ พ่อค้า ได้กล่าวคำนี้กะ ๒ พ่อค้านั้นว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาค พระองค์นี้แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้ ราชายตนะ ท่านทั้งสองจงไปบูชาพระผู้มี พระภาค นั้น ด้วย สัตตุผง และ สัตตุก้อน การบูชาของ ท่านทั้งสองนั้น จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์และ ความสุข แก่ท่านทั้งหลาย ตลอดกาลนาน.

ต้นที่ ๕ ต้นอชปาลนิโครธ
ทรงมีพระปริวิตกว่า ธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว เป็นเรื่องลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก
ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้นแล้วเสด็จจากควงไม้ราชายตนะ เข้าไปยัง ต้นไม้อชปาลนิโครธ(ต้นที่๕). ทราบว่าพระองค์ประทับ อยู่ ณ ควงไม้ อชปาลนิโครธ นั้น และพระองค์เสด็จไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้มีพระปริวิตกแห่งจิต เกิดขึ้น อย่างนี้ว่า ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่ง ลงสู่ความตรึก ละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง ส่วนหมู่สัตว์นี้เริงรมย์ด้วยอาลัย ยินดีใน อาลัย ชื่นชม ในอาลัย ฐานะคือความที่ อวิชชา เป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้ เป็นสภาพอาศัย ปัจจัยเกิดขึ้นนี้ อันหมู่สัตว์ ผู้เริงรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย ชื่นชมในอาลัย เห็นได้ยาก แม้ฐานะ คือธรรมเป็นที่ ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ ดับสนิท หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้นี้ ก็แสนยากที่จะเห็นได้ ก็ถ้าเราจะพึงแสดง ธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึง ธรรมของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่า แก่เรา จะพึงเป็นความลำบาก เปล่าแก่เรา.

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์