เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  สุภัททะ สาวกองค์สุดท้ายของพระผู้มีพระภาค และปัญหาธรรมะเรื่องสุดท้าย ก่อนปรินิพพาน 1003
 
 
สุภัททะ ปริพาชก ขอเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคในปัจฉิมราตรีปรินิพพาน เพื่อขอถามปัญหาข้อสงสัย แต่ถูกพระอานนท์กีดกันถึง 3 ครั้ง อ้างว่าไม่ควรเบียดเบียนพระองค์ แต่หลังจากนั้นได้ทรงอนุญาต ตรัสว่า สุภัททะ ไม่ได้เบียดเบียน แค่มีข้อสงสัยที่มุ่งเพื่อความรู้

ข้อสงสัยของ สุภัททะ คือ
เจ้าลัทธิต่างๆที่เป็นคนดี เช่น บูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัย เวลัฏฐบุตร นิครณฐนาฏบุตร.. จะรู้ได้อย่างไรว่า สมณพราหมณ์ ใด ตรัสรู้แล้ว หรือยังไม่ตรัสรู้

ในธรรมวินัยใด ไม่มีอริยมรรค มีองค์ ๘ ธรรมวินัยนั้น ไม่มีสมณะ ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ 
ในธรรมวินัยใด มีอริยมรรค ทีองค์ ๘ ธรรมวินัยนั้น มีสมณะ ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔
ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยนี้ มีอริยมรรคประกอบด้วย องค์ ๘ ในธรรมวินัยนี้ เท่านั้น มีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ส่วนลัทธิอื่นๆ ว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง

หลังจากนั้น ตรัสให้อานนท์บวชให้ปริพาชก ไม่นานหลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุด พรหมจรรย์ ท่านสุภัททะได้เป็นอรหันต์รูปหนึ่ง ท่านเป็นสาวกองค์สุดท้ายของพระผู้มีพระภาค

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


มหาปรินิพพานสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้าที่ ๘๗ -๑๑๑


สุภัททะ สาวกองค์สุดท้ายของพระผู้มีพระภาค และปัญหาธรรมะเรื่องสุดท้าย ก่อนปรินิพพาน


            [๑๓๘] ก็สมัยนั้นปริพาชกนามว่า สุภัททะ อาศัยอยู่ในเมืองกุสินารา สุภัทท ปริพาชก ได้สดับว่า พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยาม แห่งราตรี ในวันนี้แหละ สุภัททปริพาชก ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ก็เราสดับถ้อยคำของพวกปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์และปาจารย์กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติ ในโลก ในบางครั้งบางคราวพระสมณโคดมจัก ปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรี ในวันนี้แหละ อนึ่งธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่เราก็มีอยู่ เราเลื่อมใสใน พระสมณโคดมอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ย่อมสามารถจะแสดงธรรมแก่เรา โดยประการ ที่เราจะพึงละธรรม อันเป็นที่สงสัยนี้ได้ ฯ

ลำดับนั้น สุภัททปริพาชกเข้าไปยังสาลวันอันเป็นที่แวะพักของพวกเจ้ามัลละ เข้าไป หาท่านพระอานนท์ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ ข้าพเจ้าได้สดับถ้อยคำ ของพวกปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์ และปาจารย์กล่าวอยู่ว่า พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก ในบางครั้งบางคราว พระสมณโคดม จักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้แหละ

อนึ่ง ธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าก็มีอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใสใน พระสมณโคดม  อย่างนี้ว่า พระสมณโคดมย่อมสามารถ จะแสดงธรรมแก่ ข้าพเจ้าโดย ประการที่ข้าพเจ้าจะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ได้

ข้าแต่ท่านอานนท์ ขอโอกาสเถิด ข้าพเจ้าควรได้เฝ้าพระสมณโคดม เมื่อสุภัทท ปริพาชก กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ได้กล่าวตอบ สุภัททปริพาชกว่า  อย่าเลยสุภัททะ ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคตเลย พระผู้มีพระภาคทรงลำบาก แล้ว แม้ครั้งที่สอง สุภัททปริพาชก ... แม้ครั้งที่สาม สุภัททปริพาชก ก็ได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ ข้าพเจ้าได้สดับถ้อยคำ ของพวก ปริพาชก ผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็น อาจารย์ และปาจารย์ กล่าวอยู่ว่าพระตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก ในบางครั้ง บางคราว พระสมณโคดม จักปรินิพพาน ในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้ แหละอนึ่ง ธรรมเป็นที่สงสัยนี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า ก็มีอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใสใน พระสมณโคดม อย่างนี้ว่า พระสมณโคดมย่อมสามารถ จะแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ข้าพเจ้า จะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ได้

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ขอโอกาสเถิดข้าพเจ้าควรได้เฝ้าพระสมณโคดม แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์ ก็ได้กล่าวตอบสุภัททปริพาชก ว่าอย่าเลย สุภัททะ ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคตเลย พระผู้มีพระภาค ทรงลำบากแล้ว พระผู้มีพระภาค ทรงได้ยินถ้อยคำท่านพระอานนท์เจรจากับสุภัททปริพาชก

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า อย่าเลยอานนท์ เธออย่าห้ามสุภัททะ สุภัททะจงได้เฝ้าตถาคต สุภัททะจักถามปัญหาอย่างใด อย่างหนึ่งกะเราจักมุ่งเพื่อความรู้ มิใช่มุ่งความเบียดเบียนอนึ่ง เราอันสุภัททะ ถามแล้ว จักพยากรณ์ข้อความอันใดแก่สุภัททะนั้น สุภัททะจักรู้ทั่วถึงข้อความนั้นโดยฉับพลัน ทีเดียว ฯ

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้บอกสุภัททปริพาชกว่า ไปเถิดสุภัททะ  พระผู้มีพระภาค ทรงทำโอกาสแก่ท่าน สุภัททปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้า ไปเฝ้าแล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า

สุภัททปริพาชกเข้าไปเฝ้า จึงกราบทูลถามปัญหา

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์เหล่านี้ใด เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมาก สมมติว่าเป็นคนดีคือ บูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร นิครณฐนาฏบุตร  สมณพราหมณ์ เหล่านั้นทั้งหมด ได้ตรัสรู้ตามปฏิญญาของตนๆ หรือว่าทั้งหมด ไม่ได้ตรัสรู้ หรือว่าบางพวกไม่ได้ตรัสรู้ ฯ
(ข้อสงสัยของ สุภัททคือ จะเชื่อได้อย่างไรว่า สมณพราหมณ์ลัทธิต่างๆ ได้ตรัสรู้ตามที่อ้างๆ กัน หรือว่ายังไม่ได้ตรัสรู้)

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อย่าเลย สุภัททะ ที่ข้อถามนั้นงดเสียเถิด

ดูกรสุภัททะเราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว สุภัททปริพาชก ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสว่า

ดูกรสุภัททะ

     ในธรรมวินัยใด ไม่มีอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนั้นไม่มีสมณะ ที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ หรือสมณะที่ ๔ 

     ในธรรมวินัยใด มีอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนั้น มีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔

ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยนี้ มีอริยมรรคประกอบด้วย องค์ ๘ ในธรรมวินัยนี้ เท่านั้น มีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ลัทธิอื่นๆ ว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง ก็ภิกษุ เหล่านี้ พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ


            [๑๓๙] ดูกรสุภัททะ เราโดยวัยได้ ๒๙ ปี บวชแล้วตามแสวงหาว่าอะไร เป็นกุศล ตั้งแต่เราบวชแล้ว นับได้ ๕๑ ปี แม้สมณะผู้เป็นไปในประเทศแห่งธรรม เป็นเครื่องนำออก ไม่มีในภายนอกแต่ธรรมวินัยนี้ ฯ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ หรือสมณะที่ ๔ ก็มิได้มี ลัทธิอื่นว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึงก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ

            [๑๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภัททปริพาชก ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญภาษิตของ พระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคล หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิดบอกทาง แก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ฉันใด พระผู้มี พระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้น เหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ ขอถึง พระผู้มีพระภาคพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ  ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสุภัททะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบท ในธรรม วินัยนี้ ผู้นั้นต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุ ทั้งหลายเต็มใจแล้วจึงให้บรรพชาให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่าเรารู้ความ ต่างแห่งบุคคลในข้อนี้ ฯ

สุภัททปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้ที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบท ในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วง สี่เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้วจึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสสี่ปี เมื่อล่วงสี่ปีภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบทเถิด ฯ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้สุภัททปริพาชกบวชเถิด ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคแล้ว สุภัททปริพาชกได้กล่าว กะท่านพระอานนท์ว่า

ดูกรท่านอานนท์ ผู้มีอายุเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่พระศาสดาทรงอภิเษก ด้วย อันเตวาสิกาภิเษก ในที่เฉพาะพระพักตร์ในพระศาสนานี้ สุภัททปริพาชก ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค

ก็ท่าน สุภัททปริพาชกได้บรรพชา อุปสมบทแล้ว ไม่นานหลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ ไม่ช้านานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่ง ที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่กุลบุตรทั้งหลาย

ผู้มีความต้องการออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี

ท่านสุภัททะได้ เป็นอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านเป็นสักขิสาวกองค์ สุดท้ายของพระผู้มีพระภาค ฯ


 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์