เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 

อนาคามี ผู้พรากแล้วจากกาม (ถอดจากคลิป)

189  
 
  (ย่อ)


ถอดจากคลิป
 


(ถอดคำพูดจากคลิป)

อนาคามี ครูอาจารย์กล่าวว่า สังโยชน์ 5 สิ้น เมื่อเช็คในบาลี คำว่า อนาคามี ที่พระพุทธเจ้า พูดคู่กับ ปัจจนํ โอรัมภาคิยานํ สัญโยชนานํ ปริกขยา นั้นไม่มี
จะมีผสมกันอันเดียวในชั้น อกนิฏฐา ที่ตรัสว่าเป็น อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี (อนาคามี ปุริสคติ ๗ คือพวกที่ ๗ ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ)

ดังนั้นในสุทธาวาส 5 ชั้น ชั้น 5 ยีนยันแน่นอนว่า สังโยชน์ 5 สิ้น แต่ 4 ชั้น (ล่าง) ไม่มีตัวยืนยัน

ทีนี้ นาคามี ไปดูกับ สกทาคามี แล้วต่างกันอย่างไร
สกทาคามีโหติ สกิเทว .... กลับมาสู่โลกนี้ โลกไหนละ

อรรถกถาโดยพุทโฆษาจารย์ เค้าบอกว่าโลกมนุษย์ ถ้าโลกมนุษย์ ก็จะไปขัดกับที่ พระพุทธเจ้า ทรงตรัสพยากรณ์ พ่อ และเพื่อนพ่อ ของนางมิคสาลา อิสิทัตตะ กับ ปุราณะ ว่าเป็น สกทาคามี ได้กายชั้นดุสิต

ดังนั้นเมื่อตัวอย่าง พระพุทธเจ้ามีให้แล้ว สกทาคามี อย่างน้อย ได้กายชั้นดุสิต เทวดาแน่ สกทาคามี โหติ สกิเทวะ อิมัง โลกัง อาคันตวา ...เทวะ เทวดา จำได้ไม้
เทวะรัชชัง เป็นจอมแห่งเทวดา
มหารัชชัง เป็นราชาอันยิ่งใหญ่

ดังนั้นคำว่าเทวะ เทวา เป็นเทวดาเยอะแยะไปหมด สกิ สกิง ในพจนานุกรมของ หลวงเทพ...ก็จะมีคำว่าหนเดียวคราวเดียว หรือในพจจนานุกรม บาลี เล่มอื่นๆ

2 เรื่องที่ประกบกัน พร้อมกับ ตย.ที่พระพุทธเจ้ายกให้ ก็ไปเป็นเทวดาคราวเดียว
แล้วเทวดาตรงไหน... ถ้าเป็นมนุษย์ ตามอรรถกถา แล้วจะมีความต่างกับเอกพีชี ที่กลับมาสู่โลกมนุษย์คราวเดียว

เอกพีชี กับ กับสกทาคามี ก็มนุษย์หนึ่งคราว แล้วสกทาคารมมีได้กำไรอะไร ที่มากกว่าเอกพีชีโสดาบัน ราคะ โทสะ โมหะสิ้นไป แต่ ได้เท่ากับเอกพีชี ซึ่งไม่น่าจะเท่า ดังนั้นในการวินิจฉัย จึงไม่ได้เอามาจากการแปลอย่างเดียว ที่อาจทำให้งงได้ ต้องเทียบเคียงกับหลายพระสูตร

สกทาคามีเป็นเทวดาคราวเดียวก็ปรินิพพาน แล้วจะต่างอย่างไรกับผุดขึ้นเป็นตัว
แล้วไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา นั่นก็คราวเดียวเหมือนกัน

แต่สกทาคามี พระองค์จะตรัสอยู่ข้างหน้าเสมอว่าติณนัง สัญโยชนานัง สังโยชน์ 3 สิ้น ดังนั้นล๊อคไว้ด้วยสังโยชน์ 3 ดังนั้นสกทาคามีจะไปเป็น พรมกายิกา ได้ไม๊ ... ไม่ได้ เพราะพรหมกายิกา กามสัญญาต้องดับ มันมีทั้งดับชั่วคราว และดับถาวร แต่ต้องดับ

พรหมกายิกา มีทั้งปุถุชน กับ อริยะบุคคล ปุถุชนที่ไปสู่ พรหมกายิกา อาภัสระ สุภกิญหะ เวหับพละ กามสัญญาต้องดับ พวกนี้ตั้งแต่ พรหมกายิกา ต้องได้สมาธิ ปฐมฌาน /อาภัสระ ได้ทุติยฌาน/สุภกิญหะ ได้ตติยฌาน/ เวหับพละ ได้จตุตถฌาน

กามสัญญาดับตั้งแต่ปฐมฌาน ดังนั้นพวกนี้ไปเกิดในชั้นกามภพไม่ได้ ปุถุชน ก็สามารถทำ (สมาธิ)ได้ พระองค์ก็จะเรียกเทวดาพวกนั้นว่าเทวดาปุถุชน ซึ่งจะอยู่ใน พระสูตรที่พระองค์ตรัส ความแตกต่างของปุถุชนผู้มิได้สดับ กับอริยสาวกผู้ได้สดับ
(มิคสาลาสูตร -อินทรีย์ของบุคคล ๑๐ จำพวก)

แต่พรหมกายิกา ก็มีอริยะด้วย ที่สามารถละสังโยชน์ได้ อย่างน้อยต้อง 3 ข้อ เพราะว่าจะต้องขึ้นมา พรหมกายิกา ทีนี้ต่างคนต่างคราวเดียวเหมือนกัน

ต้องไปดูอีกว่า พวกไปสุทธาวาส 5 ชั้น ชั้นที่ 5 สังโยชน์ 5 สิ้น ส่วน 4 พวกนี้ไม่รู้
พวกไม่รู้นี้มาจากเหตุอะไร ได้สมาธิ ฌาน 1 2 3 4 แล้วเห็นการเกิดดับ หลายคนอาจ เข้าฌาน 1 2 3 4 ได้ ปริพาชกในสมัยก่อนก็เข้าได้ เป็นปกติ แล้วเห็นการเกิดดับ แล้วสังโยชน์ 5 สิ้นเลยไม๊ มันก็ยังไม่แน่ บางคนสิ้น บางคนไม่สิ้น เห็นการเกิดดับ กี่ครั้งแล้วสิ้น ก็ตอบไม่ได้ ขึ้นอยู่กับอินทรีย์แต่ละคน

ตายไปสมาธิไม่เสื่อมเมื่อ กระทำกาละ พวกนี้ก็ไปเป็นสุทธาวาส แต่ถ้าไม่เห็นเกิดดับ โยมจะลดลงมานิดนึง โยมจะได้แค่ พรหมกายิกา อาภัสระ สุภกิญหะ เวหับพละ

สุทธาวาสสูงกว่านิดหนึ่ง แต่ยังอยู๋ในกลุ่มเดียวกันคือ รูปภพ ดังนั้นรูปภพก็มีฌาน 1-4 พวกที่จะได้กำไรหน่อยหนึ่ง ก็คือพวกเห็นการเกิดดับ จะเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เห็นเกิดดับก็เท่ากัน ให้ทราบว่าพรหมวิหาร 4 กับ ฌาน 1 2 3 4 อานิสงส์ ไปที่เดียวกัน คือพรหมกายิกา - เวหับพละเหมือนกัน (ไปไม่ถึงสุทธาวาส)

เท่ากับว่า อนาคามี มีตั้งแต่พวกที่กำลังจะสิ้นสังโยชน์ 4 และ 5

ดังนั้นพวก อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี พวกนี้กำลังจะสิ้นสังโยชน์ 4 และ 5
แต่ยังไม่สิ้น100% เพราะเห็นแค่การเกิดดับ มากน้อยเท่าที่บุคคลนั้นทำ แต่ อกนิฏฐา สิ้นสังโยชน์แล้ว ตัวอย่างของพระพุทธเจ้ามี

อนาคามี ลงมาเกิดใน เทวดากามภพได้ไม๊ ไม่ได้...เพราะพระสูตรนี้ล๊อคเอาไว้ ล๊อคคำว่าอนาคามีเอาไว้ กามโยควิสังยุตโต เครื่องร้อยรัดที่อยู่ในกามภพ พรากแล้ว ดังนั้นอนาคามีผุดขึ้นเป็นตัว ก็จะต้องขึ้นมาในพรหมกายิกา (อยู่ในชั้นพรหม)
จะมาสู่กามภพไม่ได้

แต่การที่ไปอยู๋ในพรหมกายิกา จำเป็นไม๊ที่สังโยชน์ 5 ต้องสิ้น ...ไม่จำเป็น เพราะปุถุชนยังมีเลย แล้วเห็นการเกิดดับก็ไม่ใช่ว่าสังโยชน์ 5 จะสิ้นทันที บางคนเห็น 100 ครั้งพันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง แต่สมาธิไม่เสื่อมเมื่อกระทำ กาละ คุณก็ไปอวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี ได้กำไรมากกว่าพวกได้ ฌาน 1234 ปกติ นิดนึง

พวกได้ฌาน 1 2 3 4 ปกติ ไม่เห็นเกิดดับแต่ได้สดับ ไปเกิดที่พรหมกายิกา เหมือนเดิม แต่ต่างกันยังไง ต่างกันที่ เมื่อกายแตกทำลายจะปรินิพพานเลย แค่ได้สดับ นิดเดียวนะ

แต่โยมทำสมาธิได้ การทำสมาธิได้ มีอานิสงส์มากเป็นกำลังมาก ดังนั้นองค์ธรรม อันไหน มีกำลังมากแล้วโยมทำได้ บวกอะไรอีกนิดหน่อย แล้วจะปรินิพพาน บวกสุตตะนิดเดียว สุตตะตรงนี้จึงไม่ต้องคล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดอย่างดีด้วยทิฐิ
เพียงแค่ได้สดับ

ดูระดับของพระพุทธเจ้าสิ โยมต้องปรื๊ดอยู่ในหัวเลยนะ ไม่ใช่มานั่งนึก ทุกพระสูตร โยมต้องแม่นก่อน ต้องจำก่อน จากจำก็ต้องแน่น คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด จากนั้นเป็นกระบวนการเชื่อมโยงพระสูตร สอดรับกันในคำของพระศาสดา

ดังนั้นถ้าโยมได้สมาธิ คล่องแคล่วชำนาญ เชี่ยวชาญ จิตน้อมไป ชอบใจ ยินดี และไม่เสื่อมเมื่อกระทำกาละ ได้สดับนิดเดียว ไปเป็นเทวดาที่เป็นอริยบุคคลทันที ในกำลังขอสมาธิขั้น
ฌาน 1 ก็พรหมกายิกา
ฌาน 2 ก็อาภัสสะ
ฌาน 3 ก็สุภกิญหะ
ฌาน 4 ก็เวหับพละ และ หลังกายสัพเพทา ก็จะปรินิพพาน

แต่ถ้าโยมไม่ได้ตรงนี้ คือได้สดับ และเห็นเกิดดับบวกไปนิดนึง (ไม่รู้ว่ามากแค่ไหน) แต่สังโยชน์ยังไม่สิ้่น แล้วได้ฌาน 1 2 3 4 อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะขยับไปสุทธาวาส ซึ่งสุทธาวาสก็คือต่อจากเวหับพละ โยมก็จะได้กำไรขึ้นมานิดหนึ่ง เพราะได้ปัญญา ได้ความละเอียด ซึ่งไม่ปะปนกับเทวดาปุถุชน แต่ถ้าได้แค่สดับก็จะปะปนกับ (เทวดา) ปุถุชนอยู่ คือได้แค่พรหมกายิกา แต่ถ้าเห็นการเกิดดับแล้ว ได้ฌาน 1 โยมขยับไป อวิหา (ชั้นสุทธาวาส) ซึ่งไม่ปะปนกับเทวดาปุถุชน พวกนี้จะปรินิพพาน หลังกายแตก ทำลาย


(ที่มา FB มูลนิธิพุทธโฆษณ์)

องค์คุณของ โสดาบัน และ สกทาคามี
(นัยยะ)

โสดาบัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสด ทรงตรัสสอนว่า โสดาบันคือผู้ที่ถึงความสิ้นรอบ แห่งสัญโยชน์สาม (ติณนัง สัญโยชนานัง ปริกขยา) อันประกอบด้วย

สักกายะทิฏฐิ (ความเห็นว่า อุปทานขันธ์ห้า เป็นตัวตนของตน)

วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยในมรรคปฏิปทา ตามคำบัญญัติตรัสสอนของ พระพุทธเจ้า)

สีลัพพตปรามาส (ความลูบคลำในศีลพรต คือ การประพฤติผิดทางกาย วาจา ตามแบบสมณะพราหมณ์ และปริพาชกเหล่าอื่นภายนอกธรรมวินัย) พระศาสดา ทรงตรัสสอน และกล่าวถึงองค์คุณของโสดาบัน ว่า ...

ติณณัง สัญโยชนานัง ปริกขยา (สัญโยชน์สาม ถึงความสิ้นไป)
ติณณัง = สาม
สัญโยชนานัง = สัญโยชน์
ปริกขยา = สิ้นไป

โสดาบัน คือผู้มีธรรมที่ไม่ทำให้ตกไปในอบายและมี ความเที่ยงแท้แน่นอน ที่จัก ตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า พระศาสดาทรง ตรัสสอน ว่า

โสตาปันโน โหติ อวินิปาตธัมโม นิยโต สัมโพธิปรายโน
โสตาปันโน = โสดาบัน
โหติ = ได้เป็น
อวินิปาตธัมโม = มี ธรรม ที่ไม่ทำให้ตกไปในอบาย
นิยโต = ซึ่งเที่ยง ซึ่งแน่นอน
สัมโพธิปรายโน = ตรัสรู้พร้อม ในเบื้องหน้า

โสดาบัน คือบุคคลที่ผุดขึ้นโผล่ขึ้นมา แล้วเห็นแจ้ง เหลียวดูรอบๆ แล้วตรวจดูไต่สวน กล่าวคือ โผล่ขึ้นแล้ว ทรงตัวอยู่ได้แล้ว เห็นแจ้ง (เห็นฝั่ง) พระองค์ทรงตรัสสอน และอุปมาถึงโสดาบันด้วยบุคคลตกน้ำจำพวกที่ 4 โดยทรง ตรัสสอน ว่า ...

ภิกษุทั้งหลาย !
(๔) บุคคล ผุดขึ้น แล้วเหลียวดูรอบ ๆ อยู่ เป็นอย่างไร เล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !
บุคคลบางคน ในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ
มีสัทธาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี
มีโอตตัปปะดี
มีวิริยะดี
มีปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย

บุคคลนั้น เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า อย่างนี้แล เรียกว่าผุดขึ้นแล้วเหลียวดูรอบ ๆ อยู่

สตฺตก. อํ.
๒๓/๑๐/๑๕.

-------------------------------------------------------------------------

กล่าวคือ โสดาบัน รู้ว่าการพรากจากกาม จักพรากได้อย่างไร ? แต่ยังมิได้ทำเพราะ ไม่มีกำลังพอที่จะว่ายไป มีกำลังเพียงแค่ลอยตัวอยู่ แล้วเหลียวดู ตรวจดู รอบๆ เป็น ผู้มองเห็นหนทางมองเห็นฝั่งแล้ว

พระศาสดา ทรงตรัสสอน ว่า

ภิกขเว ปุคคโล อุมุชชิตวา วิปสสติ วิโลเกติ
ภิกขเว ปุคคโล = บุคคล (อริยสาวก)
อุมุชชิตวา = โผล่ขึ้น
วิปสสติ = เห็นแจ้ง
วิโลเกติ = ตรวจดู ไต่สวน

-------------------------------------------------------------------------

สกทาคามี

สกทาคามี คือผู้ที่ถึงความสิ้นรอบ แห่งสัญโยชน์สาม

ติณณัง สัญโยชนานัง ปริกขยา (สัญโยชน์สาม ถึงความสิ้นไป)
ราคโทสโมหานัง ตนุตตา (สกทาคามี คือ ผู้ที่มี ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง กล่าวคือ ราคะ โทสะ โมหะ ผอมลง เบาบางลง น้อยลง)
ตนุตตา = ความผอม ความบาง ความน้อย
สกทาคามี โหติ สกิเทวะ อิมัง โลกัง อาคันตวา = สกทาคามี คือได้เป็นเทวดา กลับมาสู่โลกนี้เพียงคราวเดียว
สกทาคามี = สกทาคามี
โหติ = ได้เป็น
สกิ = คราวเดียว
เทวะ = เทวดา
อิมัง = นี้
โลกัง = โลก
อาคันตวา = มาสู่

หมายเหตุ คำว่า โลก ในที่นี้ยังไม่ชัดเจนว่าโลกอะไร ? ซึ่งในอรรถกถา(คำแต่งใหม่) บอกว่า โลกมนุษย์

ในพระสูตร มิคสาลาสูตร
นางมิคสาลา ถามท่านพระอานนท์ว่าเหตุใด ? บิดาของนาง ชื่อปุราณะ และเพื่อน ของบิดา ชื่ออิสิทัตตะ ซึ่งสร้างเหตุปัจจัยที่แตกต่างกัน

กล่าวคือคนหนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่พระศาสดา กลับทรงพยากรณ์ ว่าทั้งสองคนเสวยคติเสมอกัน คือเป็นสกทาคามี ได้กายชั้นดุสิต

ท่านพระอานนท์ กล่าวกับนางมิคสาลาว่า พระศาสดาทรงตรัสพยากรณ์ ไว้เช่นนั้น หลังจากนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องดังกล่าวให้พระศาสดาทรงทราบ ซึ่ง พระองค์ ทรงตำหนินางมิคสาลาว่า เป็นคนพาล ไม่ใช่บัณฑิต เป็นคนเขลา

พระองค์ทรงตรัสว่า ตถาคตเป็น ใคร ? และ นางมิคสาลาเป็นใคร ?
เพราะผู้ที่มีญาณหยั่งรู้ ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล (สัตว์)ไม่มีประมาณ มีเพียงตถาคตเท่านั้น ในพระสูตรที่พระศาสดาทรงตรัสถึงโสดาบัน พระองค์ ทรงตรัสสอนว่าโสดาบัน ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าที่สุด คือโสดาบันจำพวก เอกพีชี

เพราะจะกลับมาสู่ ภพมนุษย์ เพียงคราวเดียวเท่านั้น (เอกังเยวะ มนุสกัง ภวัง)เอกังเยวะ = หนึ่งเดียว คราวเดียว
มนุสกัง = มนุษย์
ภวัง = ภพ

หากเชื่อมโยงพระสูตรของ พระศาสดา โดยแยบคาย เราจักพิจารณาเห็นได้ว่า สกทาคามี เป็นผู้ที่ยังละโอรัมภาคิยะสัญโยชน์ห้า อันมีในส่วนเบื้องต่ำไม่ได้ทั้งหมด (โอรัมภาคิยานิ สัญโยชนานิ อัปปหีนานิ ) กล่าวคือยังละกามไม่ได้ ดังที่พระศาสดา
ทรงตรัสสอนว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็ บุคคล จำพวกไหน ?
ยังละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ไม่ได้ (โอรัมภาคิยานิ สัญโยชนานิ อัปปหีนานิ)

ยังละ สังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติ ไม่ได้ (อุปปติ ปฏิลา ภิกานิ สัญโญชนานิ อัปปหีนานิ )

ยังละ สังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพ ไม่ได้ (ภวะ ปฏิลา ภิกานิ สัญโญชนานิ อัปปหีนานิ )

คือ สกทาคามี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลนี้แล
ยังละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ไม่ได้
ยังละ สังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติ ไม่ได้
ยังละ สังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพ ไม่ได้

พระไตรปิฎก (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑ ข้อที่ ๑๓๑.

-------------------------------------------------------------------------

ดังนั้น การกลับมาสู่โลกนี้ เพียงคราวเดียว ของสกทาคามี ย่อมไม่ใช่เทวโลกชั้น รูปภพ (รูปธาตุ / รูปภโว / พรหมโลก)

เหตุเพราะการอุบัติในชั้นรูปภพ จักต้องเป็นผู้พรากออกแล้วจากกาม (กามโยคะ วิสังยุตโต ) และเป็นผู้สิ้นสังโยชน์ห้าเบื้องต่ำ (โอรัมภาคิยานิ สัญโยชนานิ ปหีนานิ) เท่านั้น ซึ่งเป็นองค์คุณของ อนาคามี

ดังนั้น การกลับมาสู่โลกนี้เพียงคราวเดียวของสกทาคามี จึงเป็นได้เพียงการอุบัติใน เทวโลกชั้น กามภพ หรือ มนุษย์ อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

หากสกทาคามี กลับมาสู่โลกนี้ เพียงคราวเดียวโดยได้อัตภาพในภพของมนุษย์แล้ว ไซร้ ? จักมีความแตกต่างกับโสดาบันจำพวกเอกพีชี (เอกังเยวะ มนุสกัง ภะวัง ) อย่างไร

อีกประการคือ หากการมาสู่โลกนี้ เพียงคราวเดียวของสกทาคามี เป็นได้ทั้งมนุษย์ และเป็นได้ทั้งเทวดา

ก็จะตรงกับโสดาบันกลุ่ม สัตตกขตุปรมะ ซึ่งพระศาสดา ทรงตรัสสอนว่า โสดาบัน กลุ่มนี้ จักท่องเที่ยว ในภพของมนุษย์ และ เทวดา อีกไม่เกินเจ็ดคราว ก็จะกระทำ ที่สุดแห่งทุกข์ ได้ (เทเวจะ มนุสเสจะ) คือ มนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง

อย่างไรก็ตาม โดยนัยยะ ของสกทาคามี ที่พระศาสดาทรงตรัสสอนว่า จักกลับมาสู่ โลกนี้เพียงคราวเดียว ก็อาจอุบัติเป็นได้ ทั้งมนุษย์และเทวดา อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เพียงแค่ครั้งเดียว (เอกังเยวะ)ท่านั้น

ข้อสังเกตุคือ พระศาสดาทรงตรัสใช้บทพยัญชนะของสกทาคามี โดยบาลีว่า สกิเทวะ อิมัง โลกัง อาคันตวา โดยมีคำว่า เทวะ / เทวัง ซึ่งหมายถึงเทวดา อยู่ด้วย

ดังนั้นจากบทพยัญชนะของพระองค์ดังกล่าว การกลับมาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ของสกทาคามี จึงควรเป็นเทวดา เหล่ากามภพ (กามภโว / กามธาตุ)

เหตุเพราะสกทาคามี มีอินทรีย์ห้าที่มีความยิ่งกว่า โสดาบัน กลุ่มเอกพีชี ซึ่งเป็นผู้ กลับมาสู่ภพของมนุษย์ อีกครั้งเดียวเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่ใช่ฐานะที่สกทาคามี จะมีคติ อุปบัติในกามภพเสมอกันกับ โสดาบันกลุ่ม เอกพีชี

ขณะเดียวกัน สกทาคามี ก็ไม่สามารถขึ้นไปสู่เทวดาเหล่ารูปภพได้ เนื่องจาก สกทาคามี ทำลายสังโยชน์เบื้องต่ำได้เพียงแค่ 3 ข้อเท่านั้น กล่าวคือ สกทาคามี ยังเป็นผู้ที่ยังพรากไม่ได้จากเครื่องผูกในกาม (กามโยคะ ยุตโต) มิใช่ผู้ที่พรากแล้วจากเครื่องผูกในกาม (กามโยคะ วิสังยุตโต) ซึ่งเป็นองค์คุณของ อนาคามี

พระองค์ทรงตรัสสอน และอุปมา ถึงสกทาคามีด้วยบุคคลตกน้ำจำพวกที่ 5 โดยทรง ตรัสสอนว่า ...

ภิกษุทั้งหลาย !
(๕) บุคคล ผุดขึ้นแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !
บุคคลบางคน ในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ
มี สัทธาดี ในกุศลธรรม ทั้งหลาย
มี หิริดี
มี โอตตัปปะดี
มี วิริยะดี
มี ปัญญาดี ในกุศลธรรม ทั้งหลาย

บุคคลนั้น เพราะ ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และเพราะความเบาบางแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ เป็นสกิทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวแล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

อย่างนี้แล เรียกว่าผุดขึ้นแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง

สตฺตก. อํ.
๒๓/๑๐/๑๕.

-------------------------------------------------------------------------

การเรียงลำดับคำพูด" ของพระศาสดา

จักเป็นการเรียงบทพยัญชนะแบบปฏิจจสมุปปันธรรม คือต้องมีเหตุเกิดก่อนแล้วจึงมี "ผลตามมา"

กล่าวคือ : เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี

ดังนั้นจากบทพยัญชนะของสกทาคามี ที่พระองค์ ทรงตรัสสอนว่า
สกทาคามี โหติ สกิเทวัง จึงมีความหมายว่า ได้เป็นสกทาคามีก่อน จึงได้เป็นเทวดา
สกทาคามี = สกทาคามี
โหติ = ได้เป็น
สกิ = คราวเดียว
เทวัง (เทวะ) = เทวดา

ด้วยเหตุนี้
อริยสาวก พึงได้ความเป็นสกทาคามีก่อน จึงเป็นเหตุปัจจัยให้ไปอุบัติในภพของ เทวดา (กามภพ)

คุณสมบัติอีกประการของสกทาคามี ตามบทพยัญชนะที่พระศาสดา ทรงตรัสสอนไว้ คือ

อมมุชิตวา ปตรติ (โผล่ขึ้น และว่ายข้ามไป เข้าหาฝั่ง)
อมมุชิตวา = โผล่ขึ้น
ปตรติ = ผ่านไป ข้ามไป ซึมซาบ เดือดพล่าน

สกทาคามี เป็นผู้ที่มี ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง ตามบทพยัญชนะที่พระศาสดา ทรงตรัสสอนว่า

ราคโทสโมหานัง ตนุตตา (ราคะ โทสะ โมหะ ผอมลง เบาบางลง น้อยลง)
ตนุตตา = ความผอม ความบาง ความน้อย

ด้วยเหตุนี้สกทาคามีควรจักอุบัติใน กามภพ ที่มีความละเอียดและปราณีต ซึ่งหาก เปรียบเทียบระหว่างภพของมนุษย์กับเทวดาชั้นกามภพย่อมเป็นที่ชัดเจนว่า เทวดาชั้นกามภพ อันประกอบด้วย ...

จาตุมหาราชิกา
ดาวดึงส์
ยามา
ดุสิต
นิมมานรดี
ปรนิมมิตตวสวตี

มีความละเอียดและประณีตกว่า ภพของมนุษย์

 

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์