|
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า ๑๙๓-๑๙๔
เรื่องโลกธาตุในพุทธศาสนา
๑) สหัสสีจูฬนิกา โลกธาตุ (โลกธาตุขนาดเล็ก)
๒) ทวิสหัสสีมัชฌิมิกา โลกธาตุ (ขนาดกลาง)
๓) ติสหัสสีมหาสหัสสี โลกธาตุ (ขนาดใหญ่)
อานนท์! ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์แผ่รัศมีส่องแสงให้สว่างไปทั่วทิศ
กินเนื้อที่ประมาณ เท่าใด (พ้นที่โลกธาตุขนาดเล็ก วัดด้วยแสงอาทิตย์ที่ส่องไปถึง )
๑) สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ (โลกธาตุขนาดเล็ก)
(เอกภพ)
โลกมีเนื้อที่เท่านั้น มีจำนวนพันหนึ่ง
ในพันโลกนั้น มีดวงจันทร์ พันดวง
ดวงอาทิตย์ พันดวง
ภูเขาสิเนรุ พันลูก
(แดนมนุษย์ ๔ แห่ง)
ชมพูทวีป พันทวีป
อมรโคยาน พันทวีป
อุตรกุรุ พันทวีป
ปุพพวิเทหะ พันทวีป
(มหาสมุทร มหาราช)
มหาสมุทร สี่พัน
มหาราช สี่พัน
(เทวดากามภพ รูปภพ)
จาตุมมหาราชพันหนึ่ง ดาวดึงส์พันหนึ่ง ยามาะพันหนึ่ง ดุสิตพันหนึ่ง
นิมมานรดีพันหนึ่ง ปรนิมมิตวสวัตตีพันหนึ่ง พรหมพันหนึ่ง
นี้เรียกว่า สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ (โลกธาตุขนาดเล็ก)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
๒) สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ (โลกธาตุขนาดกลาง)
มีขนาดเท่าใด โลกธาตุขนาดเท่านั้น
คำนวณทวีขึ้นโดยส่วนพัน
นั้นเรียกว่า ทวิสหัสสีมัชฌิมิกาโลกธาตุ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
๓) ทวิสหัสสีมัชฌิมิกา (โลกธาตุขนาดใหญ่)
โลกธาตุ มีขนาดเท่าใด โลกธาตุขนาดเท่านั้น
คำนวณทวีขึ้นโดยส่วนพัน
นั้นเรียกว่า ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตถาคต มีญาณไปถึงทั่วทั้งโลกธาตุ
(สามารถ ส่งเสียงจากที่นี่ ให้ไปถึงทั่วทั้งโลกธาตุ โดยไม่มีประมาณ..
สามารถแผ่รัศมี แสง ให้ไปถึงทั่วทั้งโลกธาตุ โดยพระองค์จะทำให้สัตว์เหล่านั้นรู้สึกต่อแสงก่อน จากนั้นจะบันลือ เสียงให้สัตว์ได้ยิน... นัยยะนี้ก็คือ แม้สัตว์นรกในชั้นทึ่ลึกสุดที่ไม่เคยเห็นแสง ก็จะเห็นแสง จากตถาคต ทำให้รู้ว่าสัตว์นรกในขุมนั้น อยู่กันอย่างหนาแน่น)
อานนท์ ! ตถาคต เมื่อมีความจำนง ก็ ย่อมพูด ให้ติสหัสสีมหาสหัสสี
โลกธาตุ ได้ยินเสียงทั่วกันได้ หรือว่าจำนงให้ได้ยินเพียงเท่าใด ก็ได้
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า! เป็นไปได้ด้วยวิธีอย่างใด พระเจ้าข้า?"
อานนท์ ! ตถาคตอยู่ที่นี่ จะพึงแผ่รัศมี มีโอภาสสว่างไปทั่วติสหัสสี
มหาสหัสสีโลกธาตุ เสียก่อน
เมื่อสัตว์เหล่านั้น รู้สึกต่อแสงสว่างอันนั้นแล้ว
ตถาคตก็จะบันลือเสียง ให้สัตว์เหล่านั้นได้ยิน.
อย่างนี้แล
อานนท์! ตถาคตจะพูด
ให้ติสหัสสี มหาสหัสสีโลกธาตุ ได้ยินเสียงทั่วกันได้
หรือจำนงให้ได้ยินเพียง
เท่าใด ก็ได้.
บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๙๒/๕๒๐. ตรัสแก่พระอานนท์
สรุป
โลกธาต-เล็ก (สหัสสี จูฬนิกา) ดวงจันทร์ 1000...พรหมโลก 1000
โลกธาต-กลาง (ทวิสหัสสี มัชฌิมิกา) โลกธาตุขนาดเล็ก คูณ 1,000
โลกธาต-ใหญ่ (ติสหัสสี มหาสหัสสี) โลกธาตุขนาดกลาง คูณ 1,000
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
โลกธาตุอย่างเล็ก (สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ)
- ดวงจันทร์ 1,000
- ดวงอาทิตย์ 1,000
- ภูเขาสิเนรุ 1,000
- ชมพูทวีป 1,000
- อมรโคยานทวีป 1,000
- อุตรกุรุทวีป 1,000
- ปุพพวิเทหะทวีป 1,000
- มหาสมุทร 4,000
- ท้าวมหาราช 4,000
- เทวโลก จาตุมหาราช 1,000
- เทวโลก ดาวดึงส์ 1,000
- เทวโลก ยามา 1,000
- เทวโลก ดุสิต 1,000
- เทวโลก นิมมานรดี 1,000
- เทวโลก ปรนิมมิตวสวัตดี 1,000
- พรหมโลก 1,000
โลกธาตุอย่างกลาง (ทวิสหัสสีมัชฌิมิกา โลกธาตุ) = โลกธาตุอย่างเล็ก x 1,000
โลกธาตุอย่างใหญ่ (ติสหัสสีมหาสหัสสี โลกธาตุ) = โลกธาตุอย่างกลาง x 1,000
ทรงเปล่งเสียงคราวเดียว ได้ยินตลอดทุกโลกธาตุ
|