โกสัมพี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกสัมพี (อังกฤษ: Kosambi) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวง ของแคว้นวังสะ 1 ใน มหาชนบทในสมัยพุทธกาล เมืองนี้รุ่งเรืองจากการที่เป็นชุมนุม การค้าขายในสมัย โบราณ ปัจจุบันเมืองนี้ เหลือเพียงซากโบราณ สถาน รูปโค้งพระจันทร์เสี้ยวริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านโกสัม (Kosam) หรือหมู่บ้านหิสัมบาทตชนบท จังหวัด อัลลฮาบาต รัฐอุตตรประเทศ ของอินเดีย ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 59 กิโลเมตร
เมืองนี้ได้เริ่มต้นทำการขุดค้นทางโบราณคดีโดยศาสตรจารย์ จี.อาร์.ชาร์มา แห่งมหาวิทยาลัย อัลลาหบาต ในปี พ.ศ. 2492 และมีการสำรวจอีกครั้งในปี พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2499 ปัจจุบันปรากฏ หลักฐานที่ได้จากการสำรวจขุดค้นเป็นที่แน่นอนแล้ว โดยยังคงมีซากกำแพงเมืองปรากฏให้เห็นอยู่ และได้ค้นพบวัดโบราณที่สันนิษฐานว่าเป็นวัดโฆสิตารามมหาวิหาร วัดที่สร้างขึ้น ในสมัยพุทธกาล ซึ่งมีการค้นพบบาตรดินโบราณ พระพุทธรูป และโบราณวัตถุจำนวนมากภาย ในแหล่งขุดค้นเมือง โกสัมพีแห่งนี้ โบราณวัตถุส่วนใหญ่ทางการอินเดียได้นำไปเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์แห่งเมืองอัลลหบาต
ความสำคัญ-ความเกี่ยวข้องกับพระพุทธประวัติ
โกสัมพีมีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล เป็นเมืองหลวงแห่งแคว้น ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แคว้นหนึ่งในบรรดา 16 แคว้นของชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาลเมืองแห่งนี้มีพระเจ้าอุเทนราชา เป็นเจ้าผู้ ครองแคว้น มีความสำคัญในฐานะเป็นเมือง ศูนย์กลางทางการค้าระหว่างแคว้นที่สำคัญแคว้นหนึ่ง ในทีฆนิกาย มหาวรรค ระบุว่าพระอานนท์เคยทูลขอให้พระพุทธองค์ ควรมาปรินิพพานที่เมืองใหญ่ โกสัมพีนี้ แทนที่จะเป็นเมืองกุสินารา ที่เป็นเมืองเล็ก
ในสมัยพุทธกาลเมืองแห่งนี้ปรากฏวัดในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา 4 วัด คือ โฆสิตารามมหาวิหาร, กุกกุฏารามมหาวิหาร, ปาวาริการามมหาวิหาร หรือปาวาริกัมพวัน และพัทริการามมหาวิหาร ซึ่งสร้างโดย มหาเศรษฐีแห่งโกสัมพี 3 คน คือ โฆสก เศรษฐี, กุกกุฏเศรษฐี และปาวาริกเศรษฐีตามลำดับ โดยสาม วัดแรกเศรษฐีทั้งสามได้สร้างถวาย พระพุทธเจ้า ในคราวเดียวกัน
ตามคัมภีร์พระพุทธศาสนาระบุว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับจำพรรษาที่ 9 ณ โกสัมพี และมีโอกาส เสด็จมาประทับ ณ เมืองโกสัมพีหลายครั้ง และบางครั้งได้ประทับอยู่นาน ได้ทรงแสดงพระสูตรต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งทรงบัญญัติสิกขาบท ของพระภิกษุสงฆ์หลายสิกขาบท ซึ่งรวมถึงสิกขาบท ในสุราปานวรรค ข้อที่ห้ามพระดื่มสุราด้วย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหตุการณ์ที่พระธรรมธร และวินัยธร แห่งโฆสิตารามมหาวิหารทะเลาะกันด้วยเรื่องการคว่ำขันน้ำในห้องน้ำ เกิดเป็นสังฆเภท
(แม้พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาตักเตือนก็ไม่ยอมกัน จึงทำให้พระพุทธองค์เสด็จไปจำพรรษาที่ 10 ที่รักขิตวัน ในป่าปาริไลยกะ ออกพรรษาแล้วจึงเสด็จไปเมืองสาวัตถี พระที่ทะเลาะกันสำนึกผิด และคืนดีกันได้ในระหว่างพรรษา เมื่อออกพรรษาพระเหล่านั้น จึงพร้อมใจกันไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่ เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี เพื่อกราบทูลขออภัยโทษ)
และเรื่องพระฉันนะ (คนเดียวกับฉันนะอำมาตย์ที่พาเสด็จออกผนวช) ถูกพระพุทธเจ้าให้พระสงฆ์ ลงพรหมทัณฑ์ จนสำนึกผิด และกลับใจปฏิบัติธรรมจนบรรลุพระอรหัต
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้นในเมืองโกสัมพี ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เช่น เรื่อง โฆสกเศรษฐี, พระพากุละ, พระปิณโฑลภารัทวาชะ, เรื่องพระเจ้าอุเทนราชากับพระนางสามาวดี พระนางมาคันทิยา พระนางวาสุลทัตตา เป็นต้น รวมทั้งเรื่องพระนางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระพุทธเจ้า จ้างให้นักเลงและเดียรถีย์เหล่ามิจฉาทิฏฐิ ติดตามด่าพระพุทธองค์ ตลอดเวลา ซึ่งเป็นต้นเหตุของ พระพุทธภาษิตสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นธรรมะสอนใจดียิ่ง
เหรียญกษาปณ์ทองแดงโบราณพบที่เมืองโกสัมพี จารึกคำว่า "โกสัมพี"
ปัจจุบันเหรียญนี้เก็บรักษาอยู่ที่บริติสมิวเซียม ประเทศอังกฤษ
วังสะ
ที่มา https://www.baanjomyut.com
แคว้นหนึ่ง ในสิบหกแคว้นของชมพูทวีป หรืออินเดียโบราณ รวมเรียกว่า มหาชนบท ซึ่งล้วนมีอำนาจรุ่งเรือง มาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล แคว้นวังสะ ตั้งอยู่บนลุ่มน้ำ ยมนา ทางทิศใต้ของแคว้นโกศล ทางทิศตะวันออกของแคว้นกาสี และทางทิศเหนือของ แคว้นอวัมตี มีเมืองหลวงชื่อ โกสัมพี เป็นชุมทางการค้าขาย
ในรัชสมัย พระเจ้าอุเทน กรุงโกสัมพี เจริญรุ่งเรืองสูงสุด มีบุคคลร่ำรวยขั้นเศรษฐี จำนวนมาก เช่น โฆษกเศรษฐี กุกกุฎเศรษฐี ปาวาริกเศรษฐี พระนางสามาวดี คหบดี และเศรษฐีจำนวนมาก รวมทั้งเศรษฐีทั้งสามคนดังกล่าวแล้ว ได้สร้างวัดถวาย พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์หลายแห่ง เช่น โฆษกเศรษฐี สร้างวัดโฆสิตาราม กุกกุฎ เศรษฐี สร้างวัดกุกุฎาราม ปราวาริกเศรษฐี สร้างวัดปาวาริการาม พระพุทธเจ้าเสด็จมา จำพรรษาที่เก้า และทรงแสดงพระธรรมเทศนาหลายสูตร เช่น ชาลียสูตร ว่าด้วยการ โต้ตอบกับชาลียะปริพาชก เรืองชีวะกับสรีระ โกสัมพีสูตร ว่าด้วยภิกษุชาวโกสัมพี แตกสามัคคีกัน
พระถังซัมจั๋ง ได้เดินทางไปสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ.1172 - 1187 ได้บันทึกถึงเมืองโกสัมพีว่า ได้กลายเป็นเมืองร้าง มีแต่ซากอาคารบ้านเรือน พบซากสังฆารามสิบแห่ง ภายในกำแพงเมืองมีซากวิหารขนาดใหญ่ เห็นซากกำแพง สูง 60 ฟุต พบซากสังฆารามที่เป็นโฆสิตาราม มีพระสถูปสูง 200 ฟุต ปรากฎอยู่
ซากเมืองโกสัมพีในปัจจุบัน
ที่มา:
http://oknation.nationtv.tv/blog/mylifeandwork/2011/04/15/entry-1
ภาพซากเมืองเก่า มหานครโกสัมพี
โกสัมพีเป็นอดีตเมืองหลวงแคว้นวังสะ สมัยพุทธกาลมีพระเจ้าอุเทน เป็นพระราชาปกครองพระพุทธองค์เคยเสด็จไปหลายครั้ง เช่นเมื่อ
คราวเสด็จไปห้ามมิให้พระสงฆ์แห่งเมืองโกสัมพีไม่ให้ทะเลาะกัน
เพราะเหตุแห่งน้ำล้างส้วม
วัดที่สร้างไว้ยิ่งใหญ่ก็เหลือเพียงซากให้เห็น
เสาหินพระเจ้าอโศกยังตั้งตระหง่านสองพันปี
ป้ายบอกว่า วัดโฆสิตาราม
กำแพงวังพระเจ้าอุเทน
ริมฝั่งกำแพงเมืองมองเห็นแม่น้ำยมุนากว้างใหญ่
ที่มา: https://www.facebook.com/pages/วัดโฆสิตาราม-เมืองโกสัมพี-อินเดีย
|