เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  ปัฏนา (เมืองของพระเจ้าอโศกมหาราช) 213 Next


ปัฏนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปัฏนา (อังกฤษ: Paṭnā ฮินดี: पटना ) (ชื่ออื่น: ปาตลีบุตร, ปาฏลีบุตร, ปัตนะ, มคธ) เป็นเมืองหลวงของรัฐพิหาร รัฐหนึ่งใน ประเทศอินเดีย ปัฏนาเป็นเมืองเก่าแก่ที่ยังมีผู้อาศัยอยู่ต่อเนื่อง ยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเมื่อ 2,500 ปีก่อน ในสมัย พุทธกาล เมืองแห่งนี้เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ ในแคว้นมคธ ที่ตั้งโดยพระเจ้า อชาตศัตรู เพื่อเป็นเมืองหน้าด่าน สำหรับ การเตรียมทำสงครามกับแคว้นวัชชี หลังจากพุทธกาล เมืองนี้มีความสำคัญ เพราะได้กลายเป็นเมืองหลวง ของแคว้น มคธ และมีพระมหากษัตริย์ดำรงตำแหน่ง พระจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดีย คือพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์ เมารยะ ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ทรงอุปถัมภ์การทำตติยสังคายนา ณ อโศการาม โดยให้เมืองปัฏนา (หรือปาตลีบุตร ตามที่เรียกกันในสมัยนั้น) เป็นศูนย์กลางในการส่งสมณทูต ออกเผยแพร่พระพุทธศาสนา ไปยังดินแดนอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน เมืองแห่งนี้ยังคงเป็นเมืองหลวง และเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐพิหาร (แคว้นมคธในสมัยโบราณ) มีพื้นที่เมืองประมาณ 25 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากกว่า 1 ล้าน 8 แสนคน โดยประมาณ

เมืองปัฏนา มีชื่อเรียกหลายคำ เช่น ปาฏลีบุตร ปาตลีบุตร ปัตนะ ในพระไตรปิฏกเรียกว่า บ้านปาฏลิคาม เมืองนี้สร้างโดย พระเจ้าอชาตศัตรู พระราชาแห่งแคว้นมคธผู้ครองกรุงราชคฤห์ในสมัยปลายพุทธกาล โดยความประสงค์จะให้เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ชั่วคราวเพื่อใช้เป็นหมู่บ้านหน้าด่าน สำหรับตรวจความเคลื่อนไหว ของแคว้นวัชชีเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสงครามยึดแคว้นวัชชี ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูได้ส่งมหาอำมาตย์ ชื่อสุนีธะและวัสสการพราหมณ์มาเพื่อเป็นแม่กองในการสร้างหมู่บ้านปาฏลิคาม

ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า ณ สถานที่นี้ในขณะกำลังสร้างหมู่บ้านด้วย ตามความใน ปาฏลิคามิยสูตร ว่า

พระพุทธเจ้าได้เสด็จมา และได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์ข้ามฝั่งแม่น้ำ เพื่อข้ามมายังหมู่บ้านนี้ ชาวบ้านจึงเรียกท่าที่พระองค์เสด็จ ขึ้น และประตูหมู่บ้านที่พระองค์เสด็จเข้าว่า โคตรมติตถะ และ โคตมทวาร ตามลำดับ ซึ่งหลังจากพระองค์ได้ทอดพระเนตร ที่ตั้ง ของหมู่บ้านห่างไกลแห่งนี้แล้ว ได้ทรงทำนายไว้ว่า

"อานนท์ มหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและวัสสการะ จะสร้างเมืองในปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้าวัชชี ทั้งหลาย ประหนึ่งว่าปรึกษากับเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้วสร้างเมืองฉะนั้น ... อานนท์ เมืองนี้จักเป็นเมืองเลิศแห่งที่ ประชุม ของเหล่า มนุษย์ผู้เป็นอริยะ และเป็นทางค้าขาย เป็นที่แก้ห่อสินค้า อันตราย 3 อย่าง (เท่านั้น) จักมีแก่เมือง ปาฏลิคาม (คือ) จากไฟ จากน้ำ และจากความแตกแห่งกันและกัน."

จากความดังกล่าวพระพุทธองค์ทรงทำนายว่าหมู่บ้านเล็กๆ ห่างไกลแห่งนี้ จะมีความสำคัญในอนาคต และปรากฏว่า หลัง พระพุทธ ปรินิพพานไม่ถึงร้อยปี หมู่บ้านสุดชายแดนแห่งนี้ก็กลายเป็นเมือง ที่สำคัญที่สุดเมืองหนึ่ง ในหน้าประวัติศาสตร์ แห่งชมพูทวีป คือได้เป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ

จากความผันผวนทางการเมือง จากเหตุการณ์ล้มราชวงศ์พิมพิสาร และการย้ายเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธหลายครั้งในช่วง พ.ศ. 70 ที่เริ่มจากการที่อำมาตย์ และราษฎรพร้อมใจกันถอดกษัตริย์นาคทัสสก์ แห่งราชวงศ์ของพระเจ้าพิมพิสาร ออกจาก พระราช บัลลังก์ และยกสุสูนาคอำมาตย์ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าลิจฉวี ในกรุงเวสาลีแห่งแคว้นวัชชีเก่า ให้เป็นกษัตริย์ตั้งราชวงศ์ใหม่ แล้วพระเจ้า สุสูนาคจึงได้ทำการย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธ ไปยังเมืองเวสาลีอันเป็นเมืองเดิมของตน และกษัตริย์พระองค์ ต่อมา คือพระเจ้ากาลาโศกราช ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุสูนาค ได้ย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธอีก จากเมือง เวสาลีมา ยังบ้าน ปาฏลิคาม ซึ่งกลายเป็นเมืองหลวง และเป็นเมืองศูนย์กลางที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนา

ในเวลาต่อมา โดยเมืองนี้เป็นสถานที่ๆ มีการทำตติยสังคายนา โดยพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช พระมหา จักรพรรดิ ผู้ทรงเป็นมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์อินเดีย และเมืองแห่งนี้ก็ได้เจริญรุ่งเรือง ในฐานะศูนย์กลาง ทางการค้า และเศรษฐกิจมาจนปัจจุบัน

ปัจจุบัน หลักฐานที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง ในฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา ของเมืองแห่งนี้ได้สูญหายไป แทบหมดสิ้น เนื่องด้วยเมืองแห่งนี้มีพัฒนาการ มาโดยตลอดช่วงประวัติศาสตร์ เป็นไปได้ว่า ผู้คนในยุคหลังช่วงความเจริญ ของพระพุทธศาสนา ได้ทำลายหรือทอดทิ้งพุทธศาสนสถานไป และถูกฝังกลบ จนไม่เหลือร่องรอยให้เห็น เช่นเดียวกับ อโศการาม สถานที่นี้เคยเป็นที่ทำตติยสังคายนา อารามแห่งเดียวในพระพุทธศาสนา ในเมืองปัฏนาที่ยังคงเหลือซากอยู่

ปัจจุบันคงเหลือเพียงเสาหิน ของอาคารใหญ่ที่พระเจ้าอโศกทรงสร้างขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ทำตติยสังคายนาอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่ จมอยู่ใต้ดินในสระซึ่งมีน้ำเต็มตลอดทั้งปี และโบราณสถานส่วนใหญ่ยังคงจมอยู่ใต้ดิน แต่ทางการอินเดียไม่มี ความประสงค์ เพื่อขุดค้นโบราณสถานแห่งนี้ เพราะจะกระทบต่อบ้านเรือน ที่ตั้งอยู่ในเมืองปัฏนาเมืองหลวงของรัฐพิหาร ในปัจจุบัน






 
 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์