เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  สาวัตถ เมืองหลวง ของแคว้นโกศล 210 Next


สาวัตถี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สาวัตถี (บาลี: Sāvatthī สาวัตถี; สันสกฤต: श्रावस्ती Śrāvastī ศราวัสตี; อังกฤษ: Sravasti) คือเมืองโบราณ ในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวง ของแคว้นโกศล 1 ใน แคว้นมหาอำนาจใน 16 มหาชนบท ในสมัยพุทธกาล เมืองนี้ รุ่งเรืองจากการที่เป็นชุมนุมการค้าขาย การทหาร เป็นเมืองมหาอำนาจใหญ่ ควบคู่กับ เมือง ราชคฤห์ แห่งแคว้นมคธ ในสมัยโบราณ ปัจจุบันเมืองนี้ เหลือเพียงซาก โบราณสถาน คนอินเดียในปัจจุบัน ลืมชื่อเมืองสาวัตถี (ในภาษาบาลี) หรือ ศราวัสตี (ในภาษาสันสกฤต) ไปหมดแล้ว คงเรียกแถบตำบลที่ตั้ง เมืองสาวัตถีนี้เพียงว่า สะเหถ-มะเหถ (Saheth-Maheth) ปัจจุบัน สะเหต-มะเหต ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

เมืองสวัตถี ในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองที่ใหญ่พอกับเมือง ราชคฤห์ และ พาราณสี เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขาย ในสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นเมืองสาวัตถีมี พระเจ้าปเสนทิโกศลปกครองร่วมสมัยกับ พระเจ้าพิมพิสาร นอกจากนี้เมืองสาวัตถี นับว่าเป็นเมืองสำคัญในการเป็นฐาน ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ของพระพุทธเจ้า ที่สำคัญ เพราะเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประทับนานที่สุด ถึง 25 พรรษา เป็นที่ตรัสพระสูตรมากมาย และเป็นเมือง ที่พระพุทธศาสนามั่นคงที่สุด เพราะมีผู้อุปถัมภ์สำคัญ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา เป็นต้น

สาวัตถี ปัจจุบันยังมีซากโบราณสถานที่สำคัญปรากฏร่องรอยอยู่ คือวัดเชตวันมหาวิหาร (ซึ่งพระพุทธเจ้าเคย ประทับอยู่ถึง 19 พรรษา), บริเวณวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล, บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี (สถูป), บ้านบิดาของ องคุลีมาล (สถูป), สถานที่พระ เทวทัต ถูกแผ่นดินสูบ (หน้าวัดพระเชตวันมหาวิหาร), ที่แสดงยมกปาฏิหาริย์ แล้วเสด็จ ไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา เป็นต้น

ต้นกำเนิดของสาวัตถี
ชื่อของเมืองมาจากชื่อของฤๅษีชื่อ สวัตถะ หรืออีกนัยหนึ่งเมืองสาวัตถี มาจากคำภาษา บาลี ที่แปลว่า มีสิ่งของเครื่อง อุปโภคบริโภคเพียบพร้อมทุกอย่าง หรือจากตำนานที่ว่า เมื่อพ่อค้ามาที่เมืองนี้มักถูกถามว่ามีข้าวของอะไรมาขายบ้าง ซึ่งคำว่าทุกอย่างมาจาก ภาษาบาลีว่า "สพฺพํ อตฺถิ" ซึ่ง สพฺพํ แปลว่า ทุกอย่าง หรือมาจากภาษาสันสกฤตว่า สรฺวํ อสฺติ จึงกลายมาเป็นชื่อเมืองนี้ว่า สาวัตถี หรือศราวัสตี

เมืองสาวัตถีในสมัยพุทธกาล
เมืองสาวัตถีมีความเจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองหลวง ของแคว้นโกศลมาแต่ก่อนพุทธกาล ในสมัยพุทธกาลเมือง สาวัตถี มีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครอง เมืองสาวัตถีในการ ปกครองของ พระเจ้าปเสนทิโกศล มีความสงบ และ รุ่งเรืองมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ พระพุทธเจ้า เสด็จมาประทับจำพรรษาที่เมืองแห่งนี้มากที่สุดกว่า 25 พรรษา

สาเหตุสำคัญที่พระพุทธเจ้าเลือกเมืองนี้เป็นสถานที่จำพรรษานานที่สุดเพราะว่า พระเจ้า ปเสนทิโกศล เป็นพระญาติ กับ พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ โดยพระนาง เวเทหิอัครมเหสี ของพระเจ้าพิมพิสาร เป็นพระภคินีของ พระองค์เอง (พระเจ้ามหาโกศล พระราชบิดาของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่งพระนางเวเทหิไปอภิเษกสมรส กับพระเจ้า พิมพิสาร และมอบเมืองในแคว้นกาสีให้พระเจ้าพิมพิสารเพื่อเป็นของขวัญ ทำให้เมือง สาวัตถี และเมืองราชคฤห์ เป็นไมตรีกันจนสิ้นรัชกาลของพระเจ้าพิมพิสาร) ทำให้พระพุทธเจ้าสามารถ มาเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในเมือง สาวัตถี ได้สะดวก

เพราะพระเจ้าปเสนทิโกศล ย่อมมีความเกรงใจในพระศาสดาของพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเป็น พระญาติของพระองค์เอง ซึ่งต่อมาคัมภีร์พระพุทธศาสนากล่าวว่า พระเจ้า ปเสนทิโกศล ได้สดับพระธรรมเทศนา จนบรรลุเป็นพระโสดาบัน และเป็นองค์อัครพุทธ ศาสนูปถัมภกที่สำคัญองค์หนึ่ง โดยเป็นพระมหากษัตริย์ ที่เป็นสหชาติ (คือเกิดปีเดียว กันกับพระพุทธเจ้า) และมีความรักเคารพและมีความสนิทสนม กับพระพุทธองค์มาก โดยทรงสร้างมหาสังฆารามถวายคือ ราชการามมหาวิหาร ซึ่งความสนิทสนมของ พระเจ้าปเสนทิโกศล กับพระพุทธองค์นั้น ปรากฏในหลายเหตุการณ์เช่น ทรงเข้ามาจูบ กอดพระบาทของพระพุทธเจ้า (ส่วนใหญ่ เหตุการณ์ เหล่านี้ได้ถูกบันทึกไว้ใน ธรรมเจดีย์ สูตร โดยพระราชดำรัสของ พระเจ้าปเสนทิโกศลทั้งพระสูตร แสดงถึงเหตุผล ที่พระองค์ ทรงรักและเคารพพระพุทธเจ้า โดยเปรียบเทียบกับลัทธิศาสนาอื่นไปด้วย) หรือตอนหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้า เคยกล่าวตักเตือนพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า กินจุเหมือนหมู ซึ่งเป็นเครื่อง ยืนยันถึงความสนิทสนม กับพระพุทธองค์ได้อย่างดี และถึงแม้พระเจ้าปเสนทิโกศล จะศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า แต่ทว่า พระองค์ไม่ได้กีดกั้น ผู้นับถือศาสนา อื่นแต่อย่างใด และยังคงให้ความอุปถัมภ์บำรุงศาสนาอื่นเป็นอย่างดี

นอกจากนี้ เมืองสาวัตถี มีมหาอุบาสกมหาอุบาสิกาหลายคน เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี, นางวิสาขามหาอุบาสิกา ซึ่งมีความเคารพรักศรัทธาสร้าง มหาสังฆารามวัดเชตวัน มหาวิหาร (ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี) และวัดบุพพาราม มหาวิหาร (ของนางวิสาขา) และให้การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ด้วยเหตุหลายประการดังกล่าว พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาประทับที่เมืองนี้มากที่สุด โดยมาทรงประทับอยู่ถึง 25 พรรษา โดยแบ่งเป็น 19 พรรษาที่ วัดเชตวันมหาวิหาร และอีก 6 พรรษาที่วัดบุพพาราม

เนื่องด้วยพระพุทธองค์ประทับที่เมืองสาวัตถีนานที่สุด จึงทำให้เป็นเมือง ที่เกิดพระสูตร มากมาย เช่น มงคลสูตร ธรรมนิยามสูตร รวมไปถึงกาลามสูตร ที่ตรัสแสดง ณ เกสปุตตนิคม ก็อยู่ในอาณาเขตของแคว้นโกศลด้วย

ในช่วงปลายพุทธกาล ได้เกิดเหตุการณ์ที่พระเจ้าอชาตศัตรู ทำปิตุฆาต ปลงพระชนม์ พระราชบิดาของพระองค์เอง ทำให้พระนางเวเทหิ อัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร เสียพระทัยจนสิ้นพระชนม์ตามกันไป พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงกริ้วพระเจ้าอชาตศัตรูมาก จึงสั่งยึดเมืองในแคว้นกาสี ที่พระเจ้ามหาโกศลยกให้พระเจ้าพิมพิสารคืน โดยทรงถือ ว่า ผู้ฆ่าพ่อไม่มีสิทธิ์ได้รับสมบัติพ่อ และได้ทำสงครามกัน ผลัดกันแพ้ชนะ จนสุดท้าย พระเจ้าปเสนทิโกศลชนะ จับพระเจ้าอชาตศัตรูได้ แต่ไม่ประหารชีวิต เพราะเห็นแก่เป็น พระนัดดา แต่สั่งให้สละราชสมบัติแทน และต่อมา ก็ทรงให้พระเจ้าอชาตศัตรู กลับไป ครองราชสมบัติอีกด้วยคงเห็นพระทัย โดยในครั้งนั้นได้ทรงส่งพระราชธิดาของ พระองค์ ให้ไปอภิเษกด้วย ทั้งสองแคว้นจึงกลับมามีสัมพันธไมตรีกันอีกครั้ง ทำให้เมืองสาวัตถี และเมืองราชคฤห์ กลับเป็นไมตรีกันจนสิ้นรัชกาลของพระปเสนทิโกศล

ในช่วงปลายรัชกาลพระเจ้าปเสนทิโกศล ถูกพระเจ้าวิฑูฑภะพระราชโอรส ของพระองค์ เองยึดอำนาจ พระเจ้าปเสนทิ โกศลจึงทรงม้าหนีไปเมืองราชคฤห์ กับนางสนมคนหนึ่ง โดยหวังให้พระเจ้าอชาตศัตรูช่วยเหลือ เพื่อนำราชสมบัติ คืน แต่พระองค์เสด็จมาถึง เมืองราชคฤห์ ในเวลากลางคืน ช่วงนั้นเป็นเวลาปิดประตูเมือง ไม่สามารถเข้าประตูเมือง ได้ ทำให้พระองค์เสด็จสวรรคตหน้าประตูเมืองในคืนนั้นเอง เพราะทรงชราภาพ มีพระชนม์มากถึง 80 พรรษา และ เหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไกล แถมยังต้องประทับ ค้างแรมอยู่ข้างนอกที่มีอากาศหนาว นางสนมที่ได้ติดตาม พระองค์ ก็ร้องไห้คร่ำครวญ เมื่อถึงเวลาเช้าพระเจ้าอชาตศัตรู ซึ่งพึ่งทราบข่าวจึงอัญเชิญพระศพ ไว้ถวายพระเพลิง เสร็จสิ้นไปด้วยดี แต่ยังไม่ทันที่จะยกทัพไปรบกับพระเจ้าวิฑูฑภะ พระเจ้าอชาตศัตรู ก็ได้ข่าวว่า พระเจ้าวิฑูฑภะ กับกองทัพได้ถูกน้ำหลากพัดหายไป หลังจากบุกโจมตี กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะและทำการกวาดล้าง ศากยะวงศ์ จนหมดสิ้น (โดยเฉพาะใน กรุงกบิลพัสดุ์ และเป็นต้นตระกูลของพระพุทธองค์) เนื่องจากแค้นที่ถูกพวกศากยะวงศ์ ดูหมิ่นว่าตน เป็นลูกจัณฑาล

เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าวิฑูฑภะ สาวัตถีก็ขาดพระราชาปกครอง แต่ว่าเนื่องจากพระเจ้า อชาตศัตรูนั้น ทรงพระประสูติ มาจากพระนางเวเทหิ ผู้เป็นพระภคินี และเป็นพระภาคิไนย ของพระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งมีเชื้อสายแห่งราชวงศ์โกศล ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรู ผู้มี เชื้อสายราชวงศ์โกศล จึงมีสิทธิ์ที่จะปกครองแคว้น จึงยกทัพไปบุกเข้ายึดเมืองสาวัตถี พร้อมกับแคว้นโกศลมาไว้ในอำนาจ และผนวกแคว้นโกศล และแคว้นสักกะที่อยู่ภายใต้ การปกครองของ แคว้น โกศลมาเข้ากับแคว้นมคธ มาด้วยกัน ทำให้เมืองสาวัตถีจึง สิ้นสุดความสำคัญ ในฐานะเมืองหลวงแห่งแคว้นโกศล หลังจากนั้นการค้า ฯลฯ อำนาจ ต่าง ๆ ได้ไปรวมศูนย์ที่เมืองราชคฤห์ และสุดท้ายที่เมือง ปาฏลีบุตร ในฐานะเมืองหลวง แห่งแคว้น แต่วัดเชตะวันมหาวิหาร ยังคงเป็นศูนย์กลางสำคัญทางศาสนาอยู่ แต่ทว่าจน ในที่สุดหลังพุทธ ศตวรรษที่ 18 เมืองสาวัตถีได้เสื่อมความสำคัญ และถูกทิ้งร้างไปโดย สิ้นเชิงจนเหลือแต่ซากโบราณสถานในปัจจุบัน

สาวัตถีในปัจจุบัน
กำแพงเมืองสาวัตถีโบราณ ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ภายในกำแพงเมือง มีโบราณสถานคงเหลืออยู่ มากมาย เช่น ซากบ้านของบิดาพระองคุลีมาล, ซากคฤหาสถ์ ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี, และวัดเก่าแก่ที่สร้างอุทิศแก่ พระติรธังกร (ศาสดาองค์แรก ของศาสนาเชน) บริเวณนอกเขตเมืองสาวัตถียังมีสถานที่สำคัญเช่น ซากยมก ปาฏิหาริย์ สถูป (สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์)และวัดเชตวันมหาวิหาร (พระอารามที่พระพุทธเจ้า ทรงจำพรรษามากที่สุดในพุทธกาล) ซึ่งเป็นสถานที่แสวงบุญ สำคัญ ของชาวพุทธทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีวัดที่ ประเทศต่างๆ ที่นับถือศาสนาพุทธ มาสร้างไว้ ได้แก่ ประเทศไทย เกาหลีใต้ ศรีลังกา พม่า ธิเบตและจีน

วัดพุทธนานาชาติ

4.1 วัดไทยเชตวันมหาวิหาร 939

ซึ่งในมหามงคลสมัย พระบาทสมเด็จพะเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี นับได้ว่าทรงครองราชย์นาน ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใด และในวโรกาสที่พระองค์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา พสกนิกรใต้ร่มพระบรมโพธิ สมภารต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ มีสมานฉันท์ที่จะจัดสร้างอนุสรณ์สถาน คือ วัดไทยเชตวันมหาวิหาร ในพุทธภูมิขึ้น และได้เลือกสถานที่ที่มีทำเลเหมาะสม ที่ซึ่ง พระบรมศาสดา พระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษานานที่สุด (25 พรรษา) เพื่อเป็นศูนย์รวมใจชาวพุทธไทยทั้งชาติ ร่วมกันน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศล

และตามนโยบายการ ขยายงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูต สาย ประเทศอินเดีย-เนปาล ดำริที่จะ สร้างตั้งแต่ พ.ศ.2530 ในสมัยพระสุเมธาธิบดี เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตในขณะนั้น และได้สืบสานให้ต่อเนื่องใน พ.ศ. 2545-ถึงปัจจุบัน มีพระเทพโพธิวิเทศ (วีรยุทฺโธ) เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ได้ดำริให้พระครูปริยัติโพธิวิเทศ (คมสรณ์) ปฎิบัติหน้าที่ เจ้าอาวาสวัดไทยเชตวัน มหาวิหาร โดยสร้างขึ้นในวันที่ 9 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2549 เป็นต้นมา ซึ่งวัดตั้งอยู่ในปริมณฑลโบราณ สถานวัด พระเชตวันมหาวิหาร ที่ท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐีมหาอุบาสกสร้างถวายพระพุทธเจ้า ทรงจำพรรษา 19 พรรษา กับมหาสถูป ยมกปาฏิหาริย์ สารีปุตตสถูป และโมคคัลลานะสถูป มีพื้นที่เริ่มแรก จำนวน 38 ไร่ (เท่ากับมงคล 38 ที่พระพุทธเจ้าแสดง) โดยสังกัดมหานิกาย

4.2 วัดบุพพาราม (วัดป่า)
4.3 วัดไทยสาวัตถีพุทธวิปัสสนา
4.4 ศูนย์ปฎิบัติธรรมแดนมหามงคลชัย




ซากมูลคันธกุฎีสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้า ที่วัดเชตวันมหาวิหาร


ต้นพระศรีมหาโพธิ์ในวัดเชตวันมหาวิหาร


องคุลิมาลสถูป (ซากบ้านบิดาของพระองคุลีมาล)


ซากพุทธสถานในวัดเชตวันมหาวิหาร


ซากประตูเมืองสาวัตถี


ยมกปาฏิหาริย์สถูป


สถูปวัดเชตวันมหาวิหาร


ต้นอานันทมหาโพธิ์ ต้นโพธิ์ซึ่งชาวพุทธนับถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์
เป็นอันดับสองรองจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา



 
 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์