เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ        

  เวสาลี 209 Next


เวสาลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เวสาลี
หรือ ไวศาลี (อังกฤษ: Vaishali) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของคณะเจ้าลิจฉวี ที่มีปกครองแคว้นวัชชี ด้วยระบอบคณาธิปไตยแห่งแรก ๆ ของโลก (บ้างก็ว่าด้วยระบอบประชาธิปไตย) เมืองนี้เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองที่มั่น แห่งสำคัญของพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น โดยพระพุทธเจ้าเคยเสด็จเยี่ยมเมืองแห่งนี้ในปีที่ 5 หลังการตรัสรู้ ตามการกราบบังคมทูลเชิญจากเจ้าผู้ครองแคว้น และในช่วงหลังพุทธกาล

เมืองแห่งนี้ได้ตกเป็นของแคว้นมคธโดยการนำของ พระเจ้าอชาตศัตรูพระราชา แห่งเมืองราชคฤห์ และหลังการล่มสลายของราชวงศ์พิมพิสารในเมืองราชคฤห์ พระราชาองค์ต่อมาจึงได้ย้ายเมืองหลวง แห่งแคว้นมคธมายังเมืองเวสาลี ทำให้เมืองแห่งนี้เจริญถึงขีดสุด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองนี้ ได้เป็นสถานที่ทำทุติยสังคายนาของพระพุทธศาสนา ก่อนที่จะเสื่อมความสำคัญ และถูกทิ้งร้างลงเมื่อมีการย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธ ไปยังเมืองปาฏลีบุตรหรือเมืองปัตนะ อันเป็นเมืองหลวงของรัฐพิหารในปัจจุบัน

ความสำคัญ
เวสาลีมีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล โดยเป็นเมืองหลวงแห่งแคว้น ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากแคว้นหนึ่งในบรรดา 16 แคว้นของชมพูทวีป มีการปกครอง ด้วยระบบสามัคคีธรรมหรือคณาธิปไตย ที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบหนึ่ง คือไม่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทรงอำนาจสิทธิ์ขาด มีแต่ผู้เป็นประมุขแห่งรัฐซึ่งบริหารงานโดยความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งจะประกอบไปด้วยเหล่าสมาชิกจากเจ้าวงศ์ต่าง ๆ วึ่งรวมเป็นคณะผู้ครองแคว้น ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา กล่าวว่าเจ้าวงศ์ต่าง ๆ มีถึง 8 วงศ์ และในจำนวนนี้วงศ์เจ้าลิจฉวีแห่งเวสาลี และวงศ์เจ้าวิเทหะแห่งเมือง มิถิลา เป็นวงศ์ที่มีอิทธิพลที่สุดในสมัยพุทธกาล

ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาที่เวสาลีหลายครั้ง แต่ละครั้งจะทรงประทับที่ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวันเป็นส่วนใหญ่ พระสูตรหลายพระสูตร เกิดขึ้นที่เมืองแห่งนี้ และที่ กูฏาคารศาลา นี่เอง ที่เป็นที่ ๆ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดี โคตมีเถรี พระน้านางของพระพุทธองค์ พร้อมกับบริวาร สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีได้เป็นครั้งแรกในโลก และในการเสด็จครั้งสุดท้ายของพระพุทธองค์ พระองค์ได้ทรงรับสวนมะม่วงของ นางอัมพปาลี นางคณิกาประจำเมือง เวสาลี ซึ่งนางได้อุทิศถวายเป็นอารามในพระพุทธศาสนา

พระพุทธองค์ได้ทรงจำพรรษาสุดท้ายที่ เวฬุวคาม และได้ทรงปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์ และเมื่อหลังพุทธปรินิพพานแล้วได้ 100 ปี ได้มีการทำสังคายาครั้งที่ 2 ณ วาลิการาม ซึ่งทั้งหมดล้วนอยู่ในเมืองเวสาลี

ในช่วงไม่นานหลังพุทธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เมืองเวสาลีได้ตกไปอยู่ในอำนาจของแคว้นมคธ โดยการนำของพระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์แห่ง ราชคฤห์ คัมภีร์พระพุทธศาสนากล่าวว่า สาเหตุของการเสียเมืองแก่แคว้นมคธเพราะความแตกสามัคคีของเจ้าวัชชี เพราะการยุยงของ วัสสการพราหมณ์

พราหมณ์ที่ พระเจ้าอชาตศัตรู ส่งเป็นไส้สึกเพื่อบ่อนทำลายภายใน เมื่อ พระเจ้าอชาตศัตรู ยกกองทัพมายึดเมืองจึงสามารถยึดได้โดยง่าย เพราะไม่มีเจ้าวัชชี องค์ใดต่อสู้ เพราะขัดแย้งกันเอง ทำให้แคว้นวัชชีล่มสลาย และเมือง เวสาลี หมดฐานะเมืองหลวงแห่งแคว้น และตกไปอยู่ในอำนาจของ แคว้นมคธ

แต่จากเหตุการณ์ย้ายเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธหลายครั้งในช่วง พ.ศ. 70 ที่เริ่มจากอำมาตย์ และราษฎรพร้อมใจกันถอดกษัตริย์นาคทัสสก์ แห่งราชวงศ์ของ พระเจ้าพิมพิสาร แห่งราชคฤห์ ออกจากพระราชบัลลังก์ และยกสุสูนาคอำมาตย์ซึ่งมีเชื้อสาย เจ้าลิจฉวี ใน กรุงเวสาลี แห่งแคว้นวัชชีเก่า ให้เป็นกษัตริย์ตั้ง ราชวงศ์ใหม่แล้ว พระเจ้าสุสูนาคจึงได้ทำการย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธไปยัง เมืองเวสาลีอั นเป็นเมืองเดิมของตน ทำให้ เมืองเวสาลี มีความสำคัญ ในฐานะเมืองหลวงอีกครั้ง แต่ทว่าก็เป็นเมืองหลวงได้ไม่นาน เพราะกษัตริย์พระองค์ต่อมาคือพระเจ้ากาลาโศกราช ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุสูนาค ได้ย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธอีก จาก เมืองเวสาลี ไปยัง เมืองปาตลีบุตร ทำให้ เมืองเวสาลี ถูกลดความสำคัญลงและถูกทิ้งร้าง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เมืองแห่งนี้ถูกทิ้งร้างอย่างสิ้นเชิงในช่วงพันปีถัดมา




เสาพระเจ้าอโศกและบรรยากาศ โบราณสถานเมืองเวสาลีในปัจจุบัน





 
 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์