เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  นาลันทา 208 Next


นาลันทา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นาลันทา เป็นชื่อเมือง ๆ หนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ 1 โยชน์ (ประมาณ 16 กิโลเมตร) ณ เมืองนี้มีสวนมะม่วง ชื่อ ปาวาริกัมพวัน (สวนมะม่วงของ ปาวาริก เศรษฐี) ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้ง คัมภีร์ฝ่ายมหายานกล่าวว่า พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นอัครสาวก เกิดที่เมืองนาลันทา แต่คัมภีร์ฝ่ายบาลี เรียกถิ่นเกิด ของ พระสารีบุตรว่า หมู่บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม "นาลันทามหาวิชชาลัย ของพุทธศาสนา นิกายมหายาน"

ที่ตั้งของเมืองนาลันทาในปัจจุบัน

นาลันทาเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ห่างจากเมืองราชคฤห์ใหม่ประมาณ 12 กิโลเมตร ห่างจากเมืองปัตนะ รัฐพิหาร ประมาณ 90 กิโลเมตร ถึงแม้จะเป็นหมู่บ้านเล็กๆ แต่ภายหลังการขุดค้นพบ ซากมหาวิทยาลัยนาลันทาแล้ว ทางรัฐบาลรัฐพิหารได้ประกาศยกฐานะ หมู่บ้านนาลันทา เป็นอำเภอนาลันทา (ที่ว่าการอำเภออยู่ที่พิหารชารีฟ ตั้งอยู่ห่างจากนาลันทา 12 กิโลเมตร)

นาลันทาในความหมายเชิงนิรุตติศาสตร์
คำว่า นาลันทา วิเคราะห์เชิงนิรุกติศาสตร์ได้ 5 นัย ดังนี้

โบราณาจารย์บอกว่านาลันทา เลือนมาจากประโยคว่า น อลม ทา แปลว่า ฉันจะไม่ให้ มีตำนาน เสริมว่าสมัยหนึ่ง พระโพธิสัตว์บำเพ็ญ ทานบารมี เป็นที่รู้จักกันดี จนไม่มีใครได้ยินคำว่า ฉันจะ ไม่ให้ นาลันทา มาจากคำ 2 คำ คือ นาลัน แปลว่า ดอกบัว และ ทา แปลว่า ให้ หมายถึง ให้ดอกบัว มีตำนานเสริมว่าบริเวณนี้มีดอกบัวมาก แม้ปัจจุบันก็ยังมี ดอกบัวมากอยู่ จึงเป็นเหมือน สถานที่ให้ดอกบัว นาลันทา เป็นชื่อพญานาคซึ่งอาศัยอยู่ในสระบัวใหญ่ ณ บริเวณมหาวิทยาลัย นาลันทาปัจจุบัน ตรงกับคตินิยมของชาวอินเดียในปัจจุบันที่บูชางู มีพิธีเรียกว่านาคปัญจมี มีเมืองชื่อ นาคปุระ๘

นาลันทา ประกอบด้วยคำ 3 คำ คือ น, อลัง, และ ทา แปลตามตัวอักษรว่า ให้ไม่พอ แต่ความหมายก็คือ ให้ไม่รู้จักพอ สมณะอี้จิง บันทึก ไว้ว่า นาลันทา แผลงมาจากคำว่า นาคนันทะ ซึ่งอาจตั้งชื่อตามชื่อพญานาคที่ยึดครองที่นั้นและต่อมา พญานาคนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่า นาคแห่งนาลันทา หรือ นาลันทานาค ท่านธรรมสวา มีชาวทิเบตซึ่งเดินทางมาเยี่ยมที่นี้เมื่อ พ.ศ. 1777 บันทึกไว้ว่า คำว่า นาลันทา หมายถึง เจ้าแห่งมนุษย์ (Lord of men)

นาลันทาในสมัยพุทธกาล
คำว่า นาลันทา ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก และอรรถกถาหลายครั้งในพุทธกาล เช่น ตอนที่ พระพุทธเจ้าตรัส เกวัฏฏสูตร แก่บุตรคฤบดี ชื่อเกวัฏฏะ และปรากฏในคัมภีร์อรรถกถา ซึ่งแก้ข้อความ พระสูตรเดียวกัน เมืองนาลันทาตั้งอยู่ห่างจากกรุงราชคฤห์ 1 โยชน์ (ประมาณ 16 กิโลเมตร) มีสถานะเป็นเมืองเล็ก (township) แต่เป็นสถานที่ซึ่งมีชื่อเสียง เจริญรุ่งเรือง มีคนอาศัย อยู่มาก เป็นศูนย์กลางการค้าขาย เห็นได้จากมีข้อความอ้างถึงเสมอ เมื่อพระพุทธเจ้า เสด็จทางไกล ประทับแรม ณ ที่ใดที่หนึ่ง พระสังคีติกาจารย์ อ้างเสมอว่าสถานที่นั้น อยู่บริเวณใด แน่ ก็จะอ้างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทาว่า อนฺตรา จ ราชคหํ อนฺตรา จ นาฬนฺทํ ระหว่างกรุง ราชคฤห์ กับเมืองนาลันทา เช่น

สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์ กับเมืองนาลันทา พร้อมด้วยภิกษุ หมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป แม้สุปปิยปริพาชก ก็ได้เดินทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์ กับเมือง นาลันทา พร้อม ด้วยพรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์...

เมืองนาลันทามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ เป็นที่ซึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จไปมาเสมอ (โคจรคาม) นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญ ใกล้เคียง เช่น สวนมะม่วงชื่อ ปาวาริกะ ซึ่งทุสสิกปาวาริกเศรษฐีน้อมถวาย สวนอัมพลัฏฐิกา ปาฏลิคาม และพหุปุตตเจดีย์

ความสำคัญของเมืองนาลันทาสมัยพุทธกาล
นาลันทามีความสำคัญมาแต่ครั้งพุทธกาล เห็นได้จากกรณีที่พระสารีบุตรบันลือสีหนาท ประกาศ ความเลื่อมใสของตน ในอนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ ของพระพุทธเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อม ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่น ซึ่งจะมี ปัญญาในทางพระสัมมาสัมโพธิญาณ ยิ่งกว่าพระผู้มี พระภาคเจ้า

เนื่องจากพระสารีบุตร ต้องการประกาศความเลื่อมใสของตนในเมืองนาลันทา เพราะว่าเมือง นาลันทา เป็นศูนย์การศึกษาแม้ในครั้งพุทธกาล เป็นศูนย์รวม นักปราชญ์นักวิชาการ พระสารีบุตร ซึ่งเป็นเลิศทางด้านปัญญาประสงค์ จะประกาศให้เหล่านักวิชาการแห่งนาลันทา รับรู้ความ ยิ่งใหญ่ ของพระสัมมาสัมโพธิญาณของพระผู้มีพระพุทธเจ้า

หลักฐานที่แสดงถึงความสำคัญ ของนาลันทาอีกอย่างหนึ่ง คือ การที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดง พรหมชาลสูตร ประกาศทิฏฐิ ๖๒ และทรง แสดงเกวัฏฏสูตร แสดงภาวะนิพพาน ซึ่งเป็นจุดหมาย สูงสุด แห่งพระพุทธศาสนา ทิฏฐิ 62 เป็นประเด็นที่เจ้าลัทธิต่างๆ อภิปรายกันไม่รู้จบ เพราะเป็น ประเด็นเชิงอภิปรัชญา ไม่มีใครรู้จริง แต่อภิปรายกันตามความคิดเห็น พระพุทธองค์ทรงแสดง ให้บรรดาเจ้าลัทธิรู้ว่า วัตถุประสงค์ และประโยชน์ของทิฏฐิเหล่านี้คืออะไร มีขอบเขตเพียงไร อานิสงส์ที่เกิดจากการแสดงพระสูตรทั้ง 2 นี้มี 2 ระดับ คือ

ระดับวิชาการ พระพุทธองค์ทรงประกาศให้รู้ว่า อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ครอบคลุมภูมิปัญญา ทุกระดับ ทิฏฐิ 62 ซึ่งเป็นเรื่องเชิงวิชาการ เป็นปรัชญา พระพุทธองค์ทรงรู้แจ้ง แต่ไม่ประสงค์จะ อภิปรายตอบข้อสงสัย เพราะไม่มีประโยชน์ และจะกลายเป็นประเด็นให้เจ้าลัทธิ นำไปกล่าวอ้าง ในที่ต่างๆ ว่า พระพุทธองค์ตรัสอย่างนี้ อย่างนี้

ระดับอุดมการณ์ พระพุทธองค์ทรงประกาศภาวะยิ่งใหญ่แห่งนิพพานว่า เป็นที่ดับสนิทของ มหาภูตรูป เป็นที่ดับสนิทแห่งนาม ภาวะที่ เรียกว่านิพพาน นี่แหละคืออุดมการณ์สูงสุด แห่งการ ปฏิบัติในพระพุทธศาสนา

ความรุ่งเรืองหลังพุทธกาล
ภายหลังพุทธกาล ชื่อเมืองนาลันทาเงียบหายไประยะหนึ่ง หลวงจีนฟาเหียน ซึ่งจาริกมาสืบ ศาสนาในชมพูทวีป ราว พ.ศ. 944-953 บันทึกไว้ว่าได้พบเพียงสถูปองค์หนึ่งที่นาลันทา แต่ต่อมาไม่นาน กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะพระองค์หนึ่งพระนามว่าศักราทิตย์ หรือกุมารคุปตะที่ 1 ซึ่งครองราชย์ประมาณ พ.ศ. 958-998 ได้ทรงสร้างวัดอันเป็นสถานศึกษาขึ้นแห่งหนึ่ง ที่เมือง นาลันทา และกษัตริย์พระองค์ ต่อๆมาในราชวงศ์นี้ก็ได้สร้างวัดอื่นๆ เพิ่มขึ้นในโอกาสต่างๆ จนมีถึง 6 วัด อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ในที่สุด ได้มีการสร้างกำแพงใหญ่อันเดียวล้อมรอบ ทำให้วัดทั้ง 6 รวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า นาลันทามหาวิหาร และได้กลายเป็น ศูนย์กลางการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ แห่งสำคัญยิ่ง ที่นักประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เรียกกันทั่วไปว่า “มหาวิทยาลัยนาลันทา”

มหาวิทยาลัยนาลันทา
พระเจ้าหรรษาวรรธนะ มหาราชพระองค์หนึ่งของอินเดีย ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1149-1191 ก็ได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของ มหาวิทยาลัยนาลันทา หลวงจีนเหี้ยนจัง (พระถังซำจั๋ง) ซึ่งจาริก มาสืบพระศาสนาในอินเดียในรัชกาลนี้ ในช่วง พ.ศ. 1172-1187 ได้มาศึกษา ที่นาลันทา มหาวิหาร และได้เขียนบันทึกบรรยาย อาคารสถานที่ที่ใหญ่โตและศิลปกรรมที่วิจิตรงดงาม ท่านเล่าถึงกิจกรรม ทางการศึกษา ที่รุ่งเรืองยิ่ง นักศึกษามีประมาณ 10,000 คน และมีอาจารย์ ประมาณ 1,500 คน พระมหากษัตริย์พระราชทานหมู่บ้าน 200 หมู่โดยรอบให้ โดยทรงยกภาษี ที่เก็บได้ให้เป็นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ผู้เล่าเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น วิชาที่สอนมีทั้ง ปรัชญา โยคะ ศัพทศาสตร์ เวชชศาสตร์ ตรรกศาสตร์ นิติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ ตลอดจน โหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ และตันตระ

แต่ที่เด่นชัดก็คือนาลันทาเป็นศูนย์กลาง การศึกษาพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และเพราะความ ที่มีกิตติศัพท์เลื่องลือมาก จึงมีมีนักศึกษา เดินทางมาจากต่างประเทศหลายแห่ง เช่น จีน ญี่ปุ่น เอเซียกลาง สุมาตรา ชวา ทิเบต และมองโกเลีย เป็นต้น หอสมุดของนาลันทา ใหญ่โตมาก และมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เมื่อคราวที่ถูกเผาทำลายในสมัยต่อมา มีบันทึกกล่าวว่า หอสมุดนี้ไหม้ อยู่เป็นเวลาหลายเดือน หลวงจีนอี้จิงซึ่งจาริกมาในระยะประมาณ พ.ศ. 1223 ก็ได้มาศึกษา ที่นาลันทาและได้เขียนบันทึกเล่าไว้อีก นาลันทารุ่งเรือง สืบมา ช้านานจนถึงสมัยราชวงศ์ปาละ (พ.ศ. 1303-1685) กษัตริย์ราชวงศ์นี้ก็ทรงอุปถัมภ์มหาวิหารแห่งนี้ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัย อื่นๆ โดยเฉพาะโอทันตปุระที่ได้ทรงสถาปนาขึ้นใหม่

อย่างไรก็ดี ในระยะหลังๆ นาลันทาได้หันไปสนใจการศึกษาพุทธศาสนาแบบตันตระ ที่ทำให้เกิด ความย่อหย่อน และหลงเพลินทาง กามารมณ์ ซึ่งเมื่อพระที่ควรงดเว้นเรื่องกาม ตามหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนา กลับหันมาเสพกามเสียแล้ว ก็ทำให้เหล่าอุบาสก อุบาสิกาเริ่มเสื่อมศรัทธา จนส่งผลให้ไม่สนใจใยดีพระศาสนา ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ฝ่ายเดียว ต่างจากลัทธิ พราหมณ์ เริ่มที่จะปรับตัวจนกลายมาเป็น ฮินดู การปรับตัวนั้นก็เพื่อต่อสู้กับการเจริญเติบโต ของพุทธศาสนา

จากลัทธิพราหมณ์ที่ไม่มีนักบวช ก็มี ไม่มีวัด ก็มี จากการเข่นฆ่าบูชายัญสัตว์ ก็หันมานับถือสัตว์ บางประเภทและประกาศไม่กินเนื้อ เช่น วัว สร้างเรื่องให้พระพุทธเจ้า ก็กลาย เป็นอวตารหนึ่ง ของเทพเจ้าในศาสนาฮินดูและทำให้พุทธศาสนากลมกลืนกับศาสนาฮินดูมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุ สำคัญอย่างหนึ่งแห่ง ความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนา

ความล่มสลายของมหาวิทยาลัยนาลันทา
ในประมาณ พ.ศ. 1742 กองทัพมุสลิมเติรกส์ ได้ยกมารุกรานรบชนะกษัตริย์แห่งชมพูทวีป ฝ่ายเหนือ และเข้าครอบครองดินแดนโดยลำดับ กองทัพมุสลิมเติรกส์ได้เผาผลาญทำลายวัด และปูชนียสถานในพุทธศาสนาลงแทบทั้งหมด และสังหารผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา นาลันทา มหาวิหารก็ถูกเผาผลาญ ทำลายลงในช่วงระยะเวลานั้นด้วย

มีบันทึกของนักประวัติศาสตร์ ชาวมุสลิมเล่าว่า ที่นาลันทา พระภิกษุถูกสังหารแทบหมดสิ้น และมหาวิทยาลัยนาลันทา ก็ก้าวถึงความพินาศสูญสิ้นลงแต่บัดนั้นมา

จากการบันทึกของท่าน ตารนาท ธรรมสวามินปราชญ์เขียนเอาไว้ว่า พอกองทัพมุสลิมยกทัพ กลับไปแล้ว พระ นักศึกษา และพระอาจารย์ ที่มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา ซึ่งเหลืออยู่ประมาณ 70 องค์ ก็พากันออกมาจากที่ซ่อน ทำการสำรวจข้าวของที่ยังหลงเหลืออยู่ รวบรวมเท่าที่ จะหาได้ ปฏิสังขรณ์ตัดทอนกันเข้าก็พอได้ใช้สอยกันต่อมา และ ท่านมุทิตาภัทร รัฐมนตรีของ กษัตริย์ ในสมัยนั้น ได้จัดทุน ทรัพย์จำนวนหนึ่ง ส่งไปจากแคว้นมคธ เพื่อช่วยเหลือซ่อมแซม ปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ที่นาลันทาขึ้นมาใหม่แต่ก็ทำได้บางส่วนเท่านั้น

แต่แล้ววันหนึ่งได้มีปริพาชก 2 คนได้เข้ามาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของตนขึ้น และคงคิดว่า เพียงพอแล้วที่จะอยู่ที่นี่ต่อไป จึงได้รวบ รวมเศษไม้แล้วก่อไฟขึ้น พร้อมทั้งขว้างปาดุ้นฟืน ที่ติดไฟไปตามสถานที่ต่างๆ โดยรอบ จนกระทั่งเกิดไฟลุกไหม้ ไปทั่วมหา วิทยาลัย นาลันทา ก็เป็นอันแหลกลาญเป็นผุยผง สุดที่จะทำการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ให้คืนดีได้ดังเดิม มหาวิทยาลัย นาลันทา อันเลื่องชื่อลือนาม ก็เป็นอันสิ้นสุดลง ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า มาตั้งแต่บัดนั้น ซากของนาลันทาที่ถูกขุดค้นพบในภายหลัง ยังประกาศยืนยันอย่างชัดเจน ถึงความยิ่งใหญ่ของ นาลันทาในอดีตในปลายพุทธศตวรรษที่ 25

การค้นพบนาลันทา
ในยุคที่อังกฤษปกครองอินเดีย นักโบราณคดีจำนวนมากได้มาสำรวจขุดค้นพุทธสถานต่างๆ ในอินเดียโดยอาศัยบันทึกของท่านเฮี่ยนจัง คนแรกที่มาสำรวจ คือ ท่าน ฮามินตัน (Lord Haminton) ใน พ.ศ. 2358 แต่ไม่พบ ได้พบเพียงพระพุทธรูปและเทวรูป 2 องค์เท่านั้น ซึ่งสถานที่พบอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยเพียง 1 กิโลเมตรเท่านั้น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2403 นายพลคันนิ่งแฮม ได้มาสำรวจและก็พบมหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งใน ขณะนั้นเป็นเพียงกองดินสูงเท่านั้น ต่อมาจึงได้ขุดสำรวจตามหลักวิชาการโบราณคดี มหาวิทยาลัย ก็ได้ปรากฏแก่สายตาชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง บริเวณปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ และตรงหน้ามหาวิทยาลัยนาลันทา ได้มีพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ ที่เก็บรวมรวมโบราณวัตถุ ที่ขุดพบ ในมหาวิทยาลัยนาลันทา

สถาบันนาลันทาใหม่
อินเดียตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา ที่ได้มีบทบาทอันยิ่งใหญ่ในการ สร้างสรรค์อารยธรรมของชมพูทวีป รวมทั้ง บทบาทของมหาวิทยาลัยนาลันทานี้ด้วย ใน พ.ศ. 2494 ก็ได้มีการจัดตั้งสถาบันบาลีนาลันทา ชื่อว่า “นวนาลันทามหาวิหาร” (นาลันทา มหาวิหา รแห่งใหม่) ขึ้น เพื่อแสดงความรำลึกคุณ และยกย่องเกียรติแห่งพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเพื่อ เป็นอนุสรณ์ แก่นาลันทามหาวิหาร มหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ในสมัยอดีต

สถาบันนาลันทาที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากความเลื่อมใสของหลวงพ่อ เจ กัสสปะ สังฆนายกรูปแรกของ สงฆ์อินเดีย ท่านเป็นชาวเมืองรานชี (Ranchi) เมืองหลวงของรัฐจักกัน ท่านเกิดในตระกูล ที่ร่ำรวย เมื่อเป็นหนุ่มได้ศึกษาพุทธประวัติ เกิดศรัทธาอย่างมาก จึงอุปสมบทเป็น พระภิกษุ ที่ประเทศศรีลังกา และได้ออกปาฐกแสดงเรื่องความยิ่งใหญ่ของมหาวิทยาลัยนาลันทาในอดีต แก่ผู้นำรัฐบาลในกรุงนิวเดลี และในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ โดยเปิดสอนในปี พ.ศ. 2494 และท่านได้เป็นครูสอนและผู้บริหารของสถาบัน ครั้งแรกเปิดสอนที วัดจีนนาลันทา ต่อมาได้ย้าย มาอยู่ตรงกันข้ามกับนาลันเก่า

ต่อมาชาวมุสลิมที่อยู่ที่หมู่บ้านนาลันทา ต้องการจะไถ่บาปที่บรรพบุรุษของตน ได้ทำไว้แก่ชาว พุทธ จึงมอบที่ดินจำนวน 12 ไร่เพื่อสร้างเป็น สถาบันบาลีนาลันทาแห่งใหม่ สถาบันนาลันทา ใหม่ ครั้งแรกมีเพียงตึก 2 หลัง ใช้เป็นสถานที่ทำงานของครูอาจารย์ และห้องสมุด อีกหลังหนึ่ง เป็นที่พำนักของนักศึกษานานาชาติ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2500 สถาบันนวนาลันทา ที่เปิดสอน ด้านภาษาบาลี และพระพุทธศาสนาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอก และได้รับการรับรอง และสนับสนุนจากรัฐบาลกลางนิวเดลลี มีพระสงฆ์ จากประเทศต่างๆ ไปศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไทย พม่า กัมพูชา อินเดีย บังคลาเทศ

โบราณสถานในนาลันทา









 
 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์