พาราณสี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พาราณสี (บาลี: Bārāṇasī พาราณสี; สันสกฤต: वाराणसी, Vārāṇasī วาราณสี, เสียงอ่านฮินดูสถาน: [ʋaːˈɾaːɳəsiː] ( ฟัง)) เป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี (Kingdom of Kashi) ในสมัยพุทธกาล ปัจจุบันตั้งอยู่ใน รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ห่างจากลัคเนา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของ อุตตรประเทศ เป็นระยะทาง 320 กิโลเมตร พาราณสีมีแม่น้ำคงคาไหลผ่าน เป็นเมืองที่ศักดิสิทธิ์ที่สุดหนึ่งในเจ็ดเมืองศักดิสิทธิ์ (สัปดาปุริ, Sapta Puri)
ในความเชื่อของศาสนาฮินดู และศาสนาเชน พาราณสีมีประวัติความเป็นมา ยาวนาน กว่า 4,000 ปี เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศอินเดีย และยังจัดเป็นเมืองที่มีผู้อยู่ อาศัยต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลกด้วย ถือว่าเป็นสุทธาวาส ที่สถิต แห่งศิวเทพ ถือว่าเป็นเมืองอมตะของอินเดีย และเป็นที่แสวงบุญทั้งของชาวฮินดู และชาวพุทธทั่วโลก ครั้งสมัยอาณานิคม เมืองนี้มีชื่อว่า เบนาเรส (Benares)
พาราณสียังเป็นเมืองที่เกี่ยวข้องกับ พระพุทธศาสนาในหลายด้าน โดยมีอาณาเขต ครอบคลุมถึง ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระปัญจวัคคีย์ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ. อันเป็นสังเวชนียสถานแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ชานเมืองพาราณสี
คลิป : สารคดี พาราณสี
คลิป : สถานที่แสดง"ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" และ "อนัตตลักขณสูตร" ณ สารนาถ เมืองพาราณสี
|