พระไตรปิฎกเล่ม ๒๗ ชาดก ภาค ๑
รวมบทร้อยกรองคือคาถาแสดงคติธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัส เมื่อครั้นเป็นพระโพธิสัตว์ ในอดีตชาติ และมีคาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง ภาคแรก ตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต) ถึงเรื่องมี ๔๐ คาถา (จัตตฬีสนิบาต) รวม ๕๔๗ ชาดก
พระไตรปิฎกเล่ม ๒๘ ชาดก ภาค ๒
รวมคาถาอย่างในภาค ๑ นั้น เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา (ปัญญาสนิบาต) ถึงเรื่องมีคาถามากมาย (มหานิบาต) จบลง ด้วยมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมี ๑,๐๐๐ คาถา ภาคนี้มี ๒๒ เรื่อง บรรจบทั้งสองภาค เป็น ๕๔๗ ชาดก
ที่มา: https://84000.org/tipitaka/atita/
อรรถกถาชาดกทั้งหมด ๕๔๗ เรื่อง
มหานิบาตชาดก พระเจ้าสิบชาติ จาก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
๑. เตมิยชาดก จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา
๒. มหาชนกชาดก จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา
๓. สุวรรณสามชาดก จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา
๔. เนมิราชชาดก จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา
๕. มโหสถชาดก จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา
๖. ภูริทัตชาดก จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา
๗. จันทกุมาร จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา
๘. มหานารทกัสสปชาดก จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา
๙. วิธุรชาดก จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา
๑๐. มหาเวสสันตรชาดก จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา
(ที่มา วิกิพีเดีย)
ทศชาติชาดก
ทศชาติชาดกคือ 10 ชาติที่สำคัญใช้เป็นหลักทศบารมี ที่เหล่าพระสาวกต้องบำเพ็ญ บารมี และในอรรถกถาธิบาย เช่นพระมหาชนก ต้องเป็นเช่นนี้ 500 ชาติ และ มหาชนก เป็นชาติสุดท้ายของวิบากนั้น เพราะวิบากที่ไปแกล้งสามเณร กำลังพายเรือ ในคลอง
ชาดกทั้ง 10 เรื่อง
1) เตมีย์ชาดก
ชาติที่ 1 เพื่อบำเพ็ญเนกขัมมบารมี - เตมียชาดก (เต) เป็นชาติที่ 1 ของทศชาติ ชาดก ก่อนที่จะมาตรัสรู้ เป็นสมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นามพระโคดม ชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี หมายถึง การออกบวช เตมียชาดก ที่เรารู้จักกันว่า "พระเตมีย์ใบ้" มีเรื่องโดยย่อ คือพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติ เป็นพระเตมีย์ โอรสของพระเจ้ากาสิกราช แห่งกรุงพาราณสี เมื่อพระชนมายุเพียง 1 เดือน ก็ทรงตระหนักว่าการเป็นกษัตริย์ต้องทำบาป ต้องสั่งลงโทษผู้อื่นที่ทำผิด จึงอธิษฐานทำตนเป็นใบ้ และง่อยเปลี้ยเสียขา พระบิดาจึงให้โหรหลวงทำนาย ได้ความว่าพระองค์ เป็นกาลกิณีแก่ราชวงศ์ ให้นำไปฝังทั้งเป็น แต่ก่อนที่พระองค์ จะถูกฝัง ก็แสดงพระองค์ว่าไม่ได้เป็นคนพิการ ทรงเดินได้เป็นปกติ และยังยกรถ ด้วยพละกำลัง อันเป็นพระบารมี และเล่าความจริงให้สารถี ที่กำลังขุดหลุม เพื่อฝัง พระองค์ฟัง ว่าพระองค์ไม่ต้องการเสวยราชสมบัติ จึงแกล้งทำเป็นคนพิการ ต่อจากนั้น ได้เสด็จออกบวช ชาดกเรื่องนี้ เน้นให้เห็นการบำเพ็ญ "เนกขัมบารมี" คือ ละทิ้ง ราชสมบัติ เป็นหลัก
2) มหาชนกชาดก
ชาติที่ 2 เพื่อบำเพ็ญวิริยบารมี - มหาชนกชาดก (ชะ) เป็นชาติที่ 2 ของทศชาติชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติ เป็นพระชนกกุมาร โอรสพระเจ้าอริฏฐชนก กษัตริย์เมือง มิถิลา ขณะที่เสด็จลงสำเภาไปค้าขาย เกิดพายุใหญ่ เรือแตกกลางมหาสมุทร พระมหาชนก ทรงว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ในมหาสมุทรถึง 7 วัน นางเมขลาเห็นจึงพูด ลองใจว่า ให้พระองค์ยอมตายเสียตามบุญตามกรรม แต่พระองค์ก็ไม่ทรงฟัง ยังพยายามว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ตามเดิม นางเมขลาเห็นเลื่อมใสในความพยายาม จึงอุ้มพระองค์เหาะไปส่งที่ฝั่ง พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ วิริยบารมี
3) สุวรรณสามชาดก
ชาติที่ 3 เพื่อบำเพ็ญเมตตาบารมี - สุวรรณสามชาดก (สุ) เป็นชาติที่ 3 ของทศชาติ ชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติ เป็นพรหมฤๅษี ต้องรับภาระเลี้ยงดูบิดามารดา ผู้ตาบอด วันหนึ่งกบิลยักษ์ แผลงศรมาถูกได้รับบาดเจ็บแสนสาหัส แต่ก็ไม่ได้โกรธ กลับแสดงเมตตาจิตต่อ และเทศนาทศพิธราชธรรมให้กบิลยักษ์ฟัง ด้วยอำนาจแห่ง เมตตาธรรม ทำให้พระสุวรรณสามหายเจ็บปวดรอดชีวิตมาได้ และบิดามารดาก็กลับมี จักษุดี พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ เมตตาบารมี
4) เนมิราชชาดก
ชาติที่ 4 เพื่อบำเพ็ญอธิษฐานบารมี - เนมิราชชาดก (เน) เป็นชาติที่ 4 ของทศชาติ ชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติ เป็นพระเนมิราช โอรสเจ้าเมืองมิถิลา โปรดการ บริจาคทาน และรักษาพรหมจรรย์ พระอินทร์ทรงพอพระทัย ถึงกับให้พระมาตุลี นำทิพยรถ มารับไปเที่ยว เมืองสวรรค์ และเมืองนรก แล้วเชิญให้ครองเมืองสวรรค์ พระเนมิราชไม่ทรงรับ และเสด็จกลับบ้านเมืองของพระองค์ พอทรงชราก็ออกผนวช พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ อธิษฐานบารมี
5) มโหสถชาดก
ชาติที่ 5 เพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมี - มโหสถชาดก (มะ) เป็นชาติที่ 5 ของทศชาติ ชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็น พระมโหสถ บุตรเศรษฐีในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในนครมิถิลา เมื่อยังเยาว์ ได้แสดงสติปัญญาเฉลียวฉลาดมาก พระเจ้าวิเทหราช กษัตริย์ แห่งนครมิถิลา ทรงทดสอบปัญญาของพระมโหสถหลายครั้ง ก็สามารถ แก้ปัญหาได้ทุกครั้ง จนเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าวิเทหราช ว่ามีสติปัญญา เหนือกว่าปราชญ์ประจำราชสำนัก ทำให้ปราชญ์ประจำราชสำนักต่างพากันอิจฉา ใส่ร้ายพระมโหสถเนือง ๆ แต่พระมโหสถก็ใช้ปัญญา เอาตัวรอดได้ทุกครั้ง พระราชา จึงทรงนับถือ และเชื่อมั่นในปัญญาของพระมโหสถยิ่งขึ้น และโปรดให้สั่งสอนธรรม แก่พระองค์ และข้าราชบริพารตลอดมา นอกจากนั้นพระมโหสถ ยังใช้สติปัญญา เอาชนะศัตรู ที่จะมาตีนครมิถิลา จนต้องยอมแพ้ ทั้งยังต้องทำสัตย์สาบาน ไม่คิดร้าย ใครอีก บารมีประจำเรื่องนี้ก็คือ "ปัญญาบารมี" นั่นเอง
6) ภูริทัตชาดก
ชาติที่ 6 เพื่อบำเพ็ญศีลบารมี - ภูริทัตชาดก (ภู) เป็นชาติที่ 6 ของทศชาติชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติ เป็นนาคราชชื่อ ภูริทัต โอรสของท้าวทศรถแห่งเมืองนาค วันหนึ่งภูริทัต ได้ตามบิดาไปเข้าเฝ้าพระอินทร์ เมื่อเห็นทิพย์วิมานก็พึงพอใจปรารถนา จะได้เป็นเช่นนั้นบ้าง จึงอธิษฐานถืออุโบสถศีลอยู่ในวังนาค โดยตั้งสัตยาอธิษฐาน ว่าหากใครปรารถนาในหนัง เอ็น กระดูก หรือเลือดเนื้อของพระองค์ ก็ทรงยินดีสละ ให้ทั้งสิ้น ขณะรักษาศีลก็มีนางนาคสาวๆมาห้อมล้อม ไม่มีความสงบ จึงออกจากเมือง นาค ไปอยู่ยังเมืองมนุษย์ ก็ต้องอดกลั้นต่อความโกรธที่ถูกพราหมณ์จับไปทรมานต่าง ๆ นา ๆ แม้มีฤทธิ์ก็ไม่ประทุษร้ายต่อพราหมณ์เหล่านั้น เพราะเกรงว่าศีลจะขาด ในที่สุด ก็ได้แสดงธรรมล้างมิจฉาทิฐิของเหล่าพราหมณ์ที่คิดร้ายต่อพระองค์ และ กลับสู่เมืองนาค รักษาศีลต่อมาจนตลอดชีวิต บารมีในเรื่องนี้ก็คือ "ศีลบารมี"
7) จันทชาดก
ชาติที่ 7 เพื่อบำเพ็ญขันติบารมี - จันทชาดก (จะ) เป็นชาติที่ 7 ของทศชาติชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติ เป็นจันทกุมาร โอรสของพระเจ้าเอกราช แห่งกรุงบุปผวดี พระเจ้าเอกราชมีปุโรหิตราชครู เป็นพราหมณ์ชื่อ กัณฑหาละ ที่ทุจริตฉ้อราษฎร์ บังหลวง ชอบรับสินบนจึงวินิจฉัยคดีอย่างไม่ยุติธรรม ทำให้ประชาชนเดือดร้อนไปทั่ว วันหนึ่งมีการร้องทุกข์ขึ้น พระจันทกุมาร ได้ตัดสินคดีใหม่ให้มีความยุติธรรม ผู้คนต่าง สรรเสริญยินดี พระเจ้าเอกราชจึงตั้งให้จันทกุมาร เป็นผู้วินิจฉัยคดีแทนพราหมณ์ กัณฑหาละ จึงโกรธแค้นผูกอาฆาตพยาบาท และได้ออกอุบายว่าถ้าพระเจ้าเอกราช อยากไปเกิดบนสวรรค์ ให้บูชาด้วยพระราชบุตร พระราชธิดา ช้าง ม้า วัว ควาย ให้ครบ อย่างละสี่ พระเจ้าเอกราชหลงเชื่อจึงให้จัดพิธีบูชายัญ พระจันทกุมาร ต้องมี ขันติอดทน ต่อการถูกทารุณกรรมด้วยวิธีต่าง ๆ จนพระนางจันทเทวี มเหสีของ พระจันทกุมาร ต้องอธิษฐาน ขอให้เทพยดาทั้งปวงช่วยเหลือ ด้วยแรงอธิษฐาน พระอินทร์ จึงมาช่วยให้พระเจ้าเอกราชล้มเลิการบูชายัญ พราหมณ์กัณฑหาละ ถูกประชาชนลงทัณฑ์จนตาย แม้พระเจ้าเอกราชประชาชนก็จะลงทัณฑ์ด้วย แต่ พระจันทกุมารได้ขอชีวิตไว้ พระเจ้าเอกราชถูกขับออกจากเมือง พระจันทกุมาร ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมาจนตลอดพระชนมายุ บารมีประจำเรื่องนี้ คือ "ขันติบารมี"
8) นารทชาดก
ชาติที่ 8 เพื่อบำเพ็ญอุเบกขาบารมี - นารทชาดก (นา) เป็นชาติที่ 8 ของทศชาติ ชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติ เป็นท้าวมหาพรหม นามว่า พระนารทะ ได้จำแลง กาย เป็นนักบวช มาแสดงธรรมเทศนาสั่งสอน พระเจ้าอังคติกษัตริย์นครมิถิลา ที่เคยปกครองบ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ทรงศีลอุโบสถตลอดมา จนวันหนึ่งได้ สนทนาธรรม กับนักบวชชีเปลือยคุณาชีวกะ ทำให้เกิดหลงผิด ละเว้นการรักษาศีล ทำทาน เสียสิ้น หันมาโปรดปรานมหรสพรื่นเริง ไม่สนใจกิจการของบ้านเมือง จนเมื่อได้ฟังคำสั่งสอนของพระนารทะมหาพรหม ว่าการกระทำสิ่งใดควรมีอุเบกขา คือการวางใจเป็นกลาง ใช้ปัญญาพิจารณาให้รอบคอบ เมื่อเห็นว่าสิ่งใดดี มีประโยชน์ จึงเชื่อและปฏิบัติตาม พระเจ้าอังคติจึงกลับมาตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมดังเดิม บารมีประจำเรื่องนี้ก็คือ "อุเบกขาบารมี"
9) วิธุรชาดก
ชาติที่ 9 เพื่อบำเพ็ญสัจจบารมี - วิธุรชาดก (วิ) เป็นชาติที่ 9 ของทศชาติชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติ เป็นวิธุรบัณฑิต ผู้เป็นปราชญ์ในราชสำนัก ของพระเจ้า ธนญชัยโกรัพยะ แห่งกรุงอินทปัต พระวิธุรบัณฑิตจะเป็นผู้ถวายธรรมแก่พระราชา จนเป็นที่เชื่อถือเลื่องลือไปทั่ว วันหนึ่งพระเจ้าธนญชัยได้เสด็จไปถือศีล ณ พระราช อุทยาน เหล่าพญานาค พญาครุฑ และพระอินทร์ ต่างพากันมาเจริญสมาธิ บำเพ็ญ สมณธรรม ณ สถานที่แห่งนี้ด้วย พระราชาทั้งสี่ต่างใคร่รู้ว่าศีลของผู้ใด จะประเสริฐ กว่ากัน พระวิธุรบัณฑิตได้กราบทูลว่า ศีลของทั้งสี่พระองค์ต่างก็เลิศล้ำคุณธรรม เสมอเหมือนกัน ทั้งสี่พระองค์จึงทรงปีติยินดีกันทั่วหน้า จึงประทานรางวัลแก่วิธุร บัณฑิต
เมื่อพญานาคกลับถึงเมืองนาค ก็พรรณาคุณของวิธุรบัณฑิต ทำให้มเหสี ใคร่จะฟัง ธรรมบ้าง จึงออกอุบายแสร้งประชวร แล้วให้พระสวามีนำหัวใจของ วิธุร บัณฑิต โดยที่เจ้าตัวต้องให้มาด้วยความเต็มใจ มิฉะนั้นนางจะถึงแก่ความตาย พญานาคจึงให้ พระธิดา ป่าวประกาศว่าถ้าผู้ใดนำหัวใจพระวิธรบัณฑิตมาได้ จะยอมเป็นชายา ยักต์ปุณณกะ ได้อาสาไปท้าพนันกับพระเจ้าธนญชัย พระเจ้าธนญชัย ทรงพ่ายแพ้ จึงมอบพระวิธรบัณฑิตให้ไป ยักษ์ปุณณกะพยายามฆ่า พระวิธุรบัณฑิตหลายครั้ง ก็ไม่สำเร็จ
เมื่อยักษ์ปุณณกะ ได้ฟังธรรมจากวิธุรบัณฑิต จึงเกิดความเลื่อมใส จะปล่อยตัวพระวิธุร บัณฑิต แต่พระวิธุรบัณฑิต ยืนยันจะไปพบ พญานาคให้ได้ ยักษ์ปุณณกะจึงพาไปยัง เมืองนาค และได้แสดงธรรมแก่มเหสี ของพญานาค ตามความปรารถนาของนาง เพราะการแสดงธรรม ก็คือหัวใจ ของ พระวิธุรบัณฑิตนั่นเอง เมื่อวิธุรบัณฑิต กลับบ้าน เมืองของตน แล้วก็ได้แสดงธรรม สั่งสอนประชาชน จนสิ้นอายุขัย บารมีประจำ เรื่องนี้คือ "สัจจบารมี"
10) เวสสันดรชาดก
ชาติที่ 10 เพื่อบำเพ็ญทานบารมี - เวสสันดรชาดก (เว) เป็นชาติที่ 10 ของทศชาติ ชาดก สำหรับชาติสุดท้ายในทศชาดก เป็นชาติที่สำคัญ และบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่ ที่นิยมกันมากและเป็นเรื่องที่ยาวที่สุด บางทีเรียกกันว่า มหาชาติ หรือมหาเวสสันดร ชาดก เป็นเรื่องราวที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติ เป็นพระเวสสันดร โอรสของพระเจ้า สัญชัย และพระนางผุสดี แห่งนครสีพีรัฐบุรี ทรงบริจาคทานมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ และอภิเษกสมรสกับพระนางมัทรี มีพระโอรสและพระธิดา คือ พระชาลีกุมาร และพระกัณหากุมารี
ต่อมาเกิดกลียุค ฝนแล้ง ที่เมืองกลิงครัฐ ประชาชนพากันเดือดร้อน อำมาตย์จึงให้ ทูลขอ ช้างคู่บารมี ของพระเวสสันดร ซึ่งถ้าไปอยู่ที่ใดก็จะทำให้เกิดฝนตก พระองค์ ก็ทรงบริจาคให้ ทำให้ชาวเมืองสีพีรัฐบุรีพากันโกรธแค้น ให้พระเจ้าสัญชัยเนรเทศ พระเวสสันดร ออกไปจากพระนคร พระเวสสันดรจึงพาพระมเหสี พระโอรส พระธิดา เสด็จออก จากเมือง ระหว่างทาง ก็ทรงบริจาคม้าและรถเป็นทานอีก จนต้องอุ้ม พระโอรส พระธิดา เสด็จเข้าป่าหิมพานต์ และทรงผนวชเป็นนักบวช บำเพ็ญศีล อยู่ในป่า
วันหนึ่ง พราหมณ์ ชูชก ได้ติดตามไปขอพระโอรสและพระธิดา เพื่อนำไปเป็นทาส รับใช้นางอมิตดา ภรรยาของตน พระเวสสันดรก็พระราชทานให้ ฝ่ายพระอินทร์ เกรงว่าจะมีคนชั่ว มาทูลขอพระนางมัทรีอีก จึงจำแลงกายเป็นนักบวชชรา มาทูลขอ พระนางมัทรี พระเวสสันดร ก็ทรงยินดีพระราชทานให้เช่นกัน แต่พระอินทร์ ก็ถวาย พระนางมัทรีคืน เพราะจุดประสงค์ ก็เพียงลองพระทัยของพระเวสสันดร ประการหนึ่ง และเพื่อกันมิให้พรเวสสันดร พระราชทานพระนางมัทรีแก่ผู้ใด ที่จะมาขอ อีกประการหนึ่ง
ฝ่ายชูชกซึ่งพาชาลีและกัณหา กลับมาบ้านเมืองของตน ระหว่างทาง ก็หลงเข้าไป ในเมืองสีพีรัฐบุรี พระเจ้าสัญชัยทรงจำได้ จึงไถ่ถอนกุมารทั้งสอง ให้พ้น จากการเป็น ทาสของชูชก บรรดาชาวเมืองที่เคยไม่พอใจ ต่างก็รำลึกถึงความดีของ พระเวสสันดร ต้องการให้พระองค์ เสด็จกลับบ้านเมือง พระเจ้าสัญชัย จึงยกทัพไป ทูลเชิญ พระเวสสันดร กลับมาครองเมืองตามเดิม หลักธรรมในเรื่องนี้ เป็นการส่งเสริม การบริจาคทาน คือ "ทานบารมี"
|