เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ออกกฎเข้มคุมพระสงฆ์ กรณีการบิณทบาตไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย 20 กค.63 N111
 

(ย่อ)
ออกกฎเข้มคุมพระสงฆ์ กรณีการบิณทบาตไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย (20 กค.63)
- การออกบิณฑบาตไม่ควรเกินเวลา 08.00 น.
- ไม่ควรยืน หรือ นั่งประจำที่ตามร้านขายอาหาร
- ไม่บิณทบาตโดยเร่ร่อนไปตามสถานที่ต่างๆ นอกพื้นที่แห่งวัดตน
- ไม่สมควรนั่งรับบาตร หรือ นั่งในรถรับบาตร
- ไม่ควรเข้าไปบิณฑบาตในสถานอโคจร
- ไม่ควรสูบบุหรี่ ไม่ควรสวมรองเท้า ไม่ควรพูดคุยกัน โดยไม่มีเหตุจำเป็น
- ไม่ถ่ายเทอาหาร หรือทิ้งดอกไม้ให้กับเจ้าของร้านอาหาร
- ไม่แย่งกันรับของปัจจัย
- เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว ไม่ควร ยถา สัพพี (ยถา คือการอุทิศบุญให้คนตาย...สัพพี คือการให้พร)
----------------------------------------------------------
อื่นๆ
- ไม่ออกบิณฑบาตก่อนอรุณ
- ไม่ควรกลับวัดช้ากว่ากำหนด
- ไม่ควรรับบิณฑบาตมากเกินจำเป็น
- ไม่ควรนำอาหารให้ร้านจำหน่ายต่อ
- ไม่ทิ้งดอกไม้ธูปเทียนไว้ข้างทาง (ให้นำกลับวัด)


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

ออกกฎเข้มคุมพระสงฆ์ กรณีการบิณทบาตไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย


               สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม กลุ่มคุ้มครองพระพุทธศาสนา ได้ออก หนังสือ เรื่องขออนุมัตินำเรื่อง กรณีการบิณทบาตไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย เสนอ มหาเถรสมาคม (มส.) โดยหนังสือระบุว่า ตามที่มีข้อร้องเรียนผ่านทางระบบ การจัดการ เรื่องราวร้องทุกข์ ของสำนักงาน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)

              กรณีการบิณฑบาตของพระสงฆ์ ที่ไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย เช่น การบิณฑบาตก่อนอรุณ การกลับวัดช้าเกินเวลาที่กำหนด รับบิณฑบาตมากเกินความ จำเป็น หรือถ่ายเทอาหาร ให้บุคคลภายนอก นั่งหรือยืนปักหลักบิณทบาตบริเวณหน้า ร้านค้า ตลอดจนนำอาหารที่ได้รับให้ร้าน จำหน่ายต่อ รวมทั้งหวังแต่ลาภสักการะ เมื่อบิณทบาตแล้ว อาหาร ดอกไม้ ธูปเทียนที่ได้ ไม่นำกลับวัด ทิ้งไว้ข้างทาง เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมแก่สมณวิสัย ทำให้ผู้ที่ใส่บาตร และผู้ที่พบเห็นเสื่อม ความศรัทธา เป็นหตุให้เกิดความเสียหายแก่พระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์

              จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม ขอเรียนว่า เพื่อเน้นการป้องกัน เหตุการณ์ ในลักษณะดังกล่าวและลดปัญหาข้อร้องเรียน จึงเห็น ควรนำเรื่องดังกล่าวเสนอ คณะกรรมการมหาเถรสมาคม เพื่อโปรดทราบและพิจารณา กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ดังนี้

1. การออกบิณฑบาตของพระภิกษุสามเณร จะต้องออกบิณฑบาตเวลาได้รับอรุณ และไม่ควรเกินเวลา 08.00 น.

2. การบิณฑบาตโดยยืน หรือ นั่งประจำที่ตามร้านขายอาหาร หรือบิณทบาตโดย เร่ร่อนไป ตามสถานที่ ต่างๆ นอกพื้นที่บิณทบาตแห่งวัดตนไม่สมควรกระทำ

3. การบิณทบาต ด้วยการนั่งรับบาตร หรือ นั่งในรถรับบาตร ไม่สมควรกระทำ

4. สถานที่ ที่เป็นแหล่งอโคจร พระภิกษุไม่ควรเข้าไปบิณทบาต

5. การบิณฑบาต ไม่ควรสูบบุหรี่ สวมรองเท้า พูดคุยกัน โดยไม่มีเหตุจำเป็น ถ่ายเท อาหาร หรือ ทิ้งดอกไม้ ให้กับเจ้าของร้านอาหาร หรือแย่งกันรับของปัจจัย

6. เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว ไม่ควร ยถา สัพพี
(ยถา คือการอุทิศบุญให้คนตาย...สัพพี คือการให้พร)

             ทางสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม กำชับให้เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ใน ทุกระดับ ตลอดจน พระวินยาธิการ คอยตรวจตรา สอดส่องดูแล พระภิกษุสามเณร ในการ บิณบาต ให้เป็นไปตามหลักพระธรรมวินัย โดยยึดหลักเสขิยวัตรเป็นเกณฑ์

(ข่าว)

หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์