เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  การบวชภิกษุณีครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี 2557 N110
 



บวชภิกษุณีครั้งแรกที่เกาะยอ

เมื่อวันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2557 มีงานอุปสมบทภิกษุณีเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่เกาะยอ จ.สงขลา พร้อมด้วยการบรรพชาสามเณรีอีก 47 รูป ตามโครงการบรรพชา สามเณรีของ 'ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม'

อ่านต่อ
P1392 รวมพระสูตร พระนางปชาบดีโคตมี (ภิกษุณีอรหันต์) เรื่องราวของภิกษุณีในพุทธศาสนา
P1393 ครุธรรม ๗ ประการ คือกฎที่เข้มงวดสำหรับภิกษุณี สิกขามานา ๖ ประการ (ศีล๖)

 

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

การบวชภิกษุณีในประเทศไทย



บวชภิกษุณีครั้งแรกที่เกาะยอ


เมื่อวันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2557 มีงานอุปสมบทภิกษุณีเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่เกาะยอ จ.สงขลา พร้อมด้วยการบรรพชาสามเณรีอีก 47 รูป ตามโครงการบรรพชา สามเณรีของ 'ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม'
 
หากนับตามประวัติศาสตร์แล้ว นี่ไม่ใช่การบวชภิกษุณีที่เกิดขึ้นครั้งแรก ในประเทศไทย หากแต่ครั้งแรกนั้นเคยเกิดขึ้นเมื่อประมาณปี 2470 โดยลูกสาว สองคน ของ นายนรินทร์ ภาษิต คือ จงดี วัย 13 ปี และ สาระ วัย 18 ปี ได้บวชเป็น สามเณรี หลังจากนั้นสองปีสามเณรีสาระอายุครบ 20 ปี ได้บวชเป็นภิกษุณี ในกาลต่อมา นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 86 ปีมาแล้ว แต่อย่างไรก็ตามการ บวชภิกษุณีที่เกาะยอ ก็มิใช่การบวชภิกษุณีครั้งที่ 2 ในดินแดนสยามประเทศแห่งนี้ หากแต่ช่วงเวลาที่ผ่านมา มีการอุปสมบทภิกษุณีเกิดขึ้นหลายวาระด้วยกัน เพียงแต่ ไม่ได้ถูกบันทึกไว้ให้เป็นข่าวเท่านั้นเอง

งานอุปสมบทครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการบวชภิกษุณี อย่างเป็นทางการ มีการเชิญหน่วย งานภาครัฐ ให้เข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ ทั้งภาครัฐระดับท้องถิ่นได้แก่ สำนักงาน พระพุทธศาสนา จังหวัดสงขลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ศูนย์อำนวยการบริหาร จังหวัดชายแดนใต้ (ศอบต.) โดยมี ศุภณัฐ สิรันทวิเนติ รองผู้ว่าราชการจังหวัด นราธิวาส มาร่วมเปิดงานในฐานะตัวแทน ศอบต.

รวมทั้งภาครัฐจากศูนย์กลาง มีการส่งหนังสือ แจ้งไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็มีคำขอบคุณ จากสำนัก นายกรัฐมนตรีตอบกลับมา อีกทั้ง มีการทำหนังสือ ขอพระราชทานพระกรุณาจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักพระราชวัง ก็มีจดหมาย ตอบกลับ มาเช่นกัน นี่จึงไม่ใช่การบวชแบบเงียบๆ แต่เป็นบวชที่เปิดเผยอย่าง เป็นทางการทีเดียว

การอุปสมบทภิกษุณีครั้งนี้เกิดขึ้น ณ เขตพัทธสีมา ของ 'ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม' อันเป็นสำนักภิกษุณีตั้งอยู่ที่เกาะยอ จ.สงขลา มีคณะสงฆ์สองฝ่ายทั้งอุปัชฌาย์ฝ่ายภิกษุ และอุปัชฌาย์ฝ่ายภิกษุณีมาร่วมประกอบ พิธี การบวชอย่างถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย

อุปัชฌาย์ฝ่ายภิกษุคือ พระมหาสังฆนายกมหินทวังสะ สังฆราชแห่งนิกาย อมรปุระ จากประเทศศรีลังกา พระกรรมวาจาจารย์ หรือพระคู่สวดได้แก่ ท่านคาลุปาหนะ ปิยรตนะ และ ท่านธลังกาเล สุธรรมะ ทั้งสองท่านมาจากศรีลังกา ในขณะที่ปวัตตินี หรืออุปัชฌาย์ฝ่ายภิกษุณี คือ ท่านสุมิตราเถรี จากศรีลังกา ภิกษุณีกรรมวาจาจารย์ ได้แก่ ท่านสุมนปาลี จากศรีลังกา ท่านสันตินี จากอินโดนีเซีย และ ท่านวิธิตาธรรม มาจากเวียดนาม มีพระภิกษุร่วมนั่งหัตถบาส 13 รูป พระภิกษุณี 15 รูป

การบวชเป็นพระภิกษุต้องบวช เป็นสามเณรก่อนฉันใด สุภาพสตรีที่จะบวชเป็น ภิกษุณี ก็ต้องผ่านการบวช เป็นสามเณรีก่อนฉันนั้น สามเณรีคือหญิงผู้ห่มผ้า กาสาวพัสตร์ ถือศีล 10 ข้อเช่นเดียวกับสามเณร เมื่อบวชเป็นสามเณรีแล้ว ก่อนจะบวช เป็นภิกษุณีต้ องถือปฏิบัติเป็นสิกขมานาเป็นเวลา 2 ปี สิกขมานาคือ สามเณรี ผู้ถือศีล 10 แต่ปฏิบัติศีล 6 ข้อแรกอย่างเคร่งครัด เมื่อปฏิบัติเป็นสิกขมานา ครบ 2 ปีแล้วและมีอายุครบ 20 ปีขึ้นไปจึงจะอุปสมบทเป็นภิกษุณี

สำหรับพิธีอุปสมบทภิกษุณี ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เริ่มต้นด้วยคณะภิกษุณีสงฆ์เข้านั่ง ครบองค์ประชุมในเขตพัทธสีมา มีอุปัชฌาย์ฝ่ายหญิงคือปวัตตินีนั่งเป็นประธาน มีพระกรรมวาจาริณี 3 รูปและพระภิกษุณีร่วมนั่งหัตถบาส 15 รูป จากนั้นสิกขมานา 8 รูป เข้าสู่เขตพัทธสีมา ทำความเคารพปวัตตินีแล้วเริ่มกระบวนการ สอบถาม อันตรายิกธรรม 24 ข้อโดยมีพระกรรมวาจาริณีเป็นผู้สอบถาม

“อันตรายิกธรรม” คือคุณสมบัติของผู้ที่จะบวชภิกษุณีมี 24 ข้อ (พระภิกษุมี 13 ข้อ) การสอบถามอันตรายิกธรรม ของภิกษุณีเป็นที่มาที่ทำให้เกิดการอุปสมบท ในสงฆ์ สองฝ่ายขึ้น กล่าวคือ ในยุคแรกของการบวชภิกษุณีนั้น พระพุทธเจ้ามอบภาระ การบวช ภิกษุณี ให้คณะภิกษุสงฆ์เป็นฝ่ายจัดการทั้งหมด แม้การสอบถาม อันตรายิกธรรม ก็ดำเนินการโดยภิกษุ เมื่อภิกษุเป็นฝ่ายสอบถามอันตรายิกธรรม กับนางสิกขมานาจึงเกิดความขลุกขลัก เพราะคำถามประกอบไปด้วยเรื่องอวัยวะเพศ และรอบเดือนของสตรี เช่นถามว่า ท่านมีรอบเดือนหรือไม่ ท่านมีอวัยวะเพศสมบูรณ์ แบบผู้หญิงหรือไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้นางสิกขมานา รู้สึกเขินอายที่จะตอบ เพราะผู้ถามเป็นบุรุษเพศ

ในที่สุดพระพุทธเจ้าจึงแก้ปัญหานี้ ด้วยการให้คณะภิกษุณีสงฆ์ เข้ามามีส่วนในการ สอบถามอันตรายิกธรรม ด้วยการจัดให้มีปวัตตินีเป็นอุปัชฌาย์ฝ่ายหญิง และมี กรรมวาจาริณีฝ่ายหญิง เพื่อสอบถามอันตรายิกธรรมกับนางสิกขมานาโดยตรง เมื่อผู้หญิงถามผู้หญิงด้วยกันเอง ก็เกิดความสะดวกใจไม่ต้องเขินอาย สาเหตุที่การ บวชภิกษุณี ต้องบวชกับสงฆ์สองฝ่ายจึงมีด้วยประการฉะนี้

สำหรับการบวชภิกษุณีที่เกิดขึ้น ครั้งนี้ก็เช่นกัน เมื่อกรรมวาจาริณีสอบถาม อันตรายิกธรรม จำนวน 24 ข้อ กับนางสิกขมานาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ปิดท้าย ด้วยการ สวดญัตติจตุตถกรรม โดยมีคณะภิกษุณีสงฆ์จำนวน 15 รูปเป็นสักขีพยาน

“ญัตติจตุตถกรรม” คือการสวดคู่โดยพระภิกษุ หรือภิกษุณี ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็น พระกรรมวาจาจารย์ หรือพระกรรมวาจาริณี (หรือที่เรียกว่าพระคู่สวด) เพื่อสวด ขอมติยินยอม ให้ผู้ขอบวชที่อยู่เบื้องหน้าสงฆ์ได้มีสถาน ะเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ตามคำขอบวช หลังจากที่กรรมวาจาริณี สวดญัตติจตุตถกรรมจบ ถือว่าสิกขมานาทั้ง 8 รูปสำเร็จเป็นพระภิกษุณีเป็นลำดับแรก แต่ยังไม่สมบูรณ์เนื่องจากต้อง ได้รับ การสวด ญัตติจตุตถกรรม จากฝ่ายภิกษุเป็นลำดับถัดมา

ดังนั้นจากนี้ไปจึงเป็นวาระ ของคณะพระภิกษุสงฆ์เข้าสู่เขตพัทธสีมา โดยคณะภิกษุ นั่งฝั่งตรงข้ามกับคณะภิกษุณี มีพระอุปัชฌาย์ นั่งเป็นประธานตรงกลาง พร้อมด้วย พระกรรมวาจาจารย์ เมื่อนั้นภิกษุณีทั้ง 8 รูปผู้ผ่านการบวชจาก คณะภิกษุณีสงฆ์ เข้าทำความเคารพ พระอุปัชฌาย์ผู้เป็นประธาน จากนั้นพระกรรมวาจาจารย์ฝ่ายภิกษุ ทำการสวด “ญัตติจตุตถกรรม” ให้ภิกษุณีทั้ง 8 เป็นลำดับ มีคณะภิกษุ และภิกษุณี ร่วมนั่งเป็นสักขีพยาน ในเขตสงฆ์

เมื่อพระกรรมวาจาจารย์ ฝ่ายภิกษุสวด “ญัตติจตุตถกรรม” จบ ถือว่าภิกษุณีทั้ง 8 รูปสำเร็จการอุปสมบท เป็นภิกษุณี อย่างสมบูรณ์ด้วยสงฆ์สองฝ่าย ถูกต้องตาม พระธรรมวินัย จากนั้นปิดท้ายด้วย พระอุปัชฌาย์สวดอนุศาสน์ 11 ข้อให้กับนาง ภิกษุณีทั้ง 8 ได้รับฟัง อนุศาสน์ 11 ข้อประกอบด้วย นิสสัย 3 คือ บิณฑบาต นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า (ภิกษุณีไม่ต้องอยู่โคนไม้เป็นวัตร จึงเหลือเพียงนิสสัย 3) พร้อมด้วยอกรณียกิจ 8 ซึ่งมาจากสิกขาบทปาราชิก 8 ข้อของภิกษุณี

ตามธรรมเนียมเมื่อเสร็จพิธี ทั้งภิกษุและภิกษุณีผู้บวชใหม่ ต้องฟังอนุศาสน์จากพระ อุปัชฌาย์ทันที เพื่อภิกษุหรือภิกษุณีผู้บวชใหม่ได้ทราบว่า ตนเองทำอะไรได้ และ ทำอะไรไม่ได้บ้างจะได้ไม่ละเมิดสิกขาบท ด้วยความไม่รู้ ทั้งหมดนี้เป็นพิธีกรรม การบวช ภิกษุณี เกิดขึ้นที่เกาะยอ จ.สงขลา เป็นวาระที่ชาวพุทธพึงอนุโมทนา ที่เมืองไทยมีพุทธบริษัทครบ 4 แล้ว

ที่มา : คมชัดลึก
20 ธันวาคม 2557


ข่าวที่เกี่ยวข้องกัน
* ภารกิจ "เติมเต็มพุทธบริษัท 4" ของภิกษุณีธัมมนันทา- BBC News ไทย
* รำลึกมาฆะ มารู้จักภิกษุณีที่ กม.ไทยไม่รับรอง
* บวชภิกษุณีครั้งแรกที่เกาะยอ
* จับตา: คำชี้แจง พศ. 'คณะสงฆ์ไทยไม่อาจรับรองการบวชภิกษุณี'



'ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม' เกาะยอ จ.สงขลา


(ภาพประกอบจากหลายแหล่ง
)

การบวชภิกษุณี ณ ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม เกาะยอ จ.สงขลา

การบวชภิกษุณี ณ ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม เกาะยอ จ.สงขลา

การบวชภิกษุณี ณ ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม เกาะยอ จ.สงขลา

การบวชภิกษุณี ณ ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม เกาะยอ จ.สงขลา

การบวชภิกษุณี ณ ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม เกาะยอ จ.สงขลา

พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์