เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ  

 
   ทรงมีหลักเกณฑ์การฝึกตามลำดับ (อย่างย่อ) 970
   
 

ทรงมีหลักเกณฑ์การฝึกตามลำดับ

พราหมณ์เอย ! ตถาคตครั้นได้บุรุษที่พอฝึกได้มาแล้วในขั้นแรก ย่อมแนะนำ อย่างนี้ก่อนว่า
 
มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยดีในปาติโมกข์
มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย
มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอยู่เสมอ
มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงประกอบความเพียร ในธรรมเป็นเครื่องตื่น
มาเถิดภิกษุ ! ท่านจง เป็น ผู้ประกอบพร้อม ด้วยสติสัมปชัญญะ รู้ตัว
มาเถิดภิกษุ ! ท่านจง เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าละเมา

ในกาลเป็นปัจฉาภัตต์ กลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติ เฉพาะหน้า
ละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิต จากอภิชฌา ละพยาบาท
ละถีนะมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนะมิทธะ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว
ละอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่านมีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชำระจิตจากอุทธัจจะกุกกุจจะ
ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า ‘นี่อะไร นี่อย่างไร

ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ
อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ได้แล้ว

เพราะสงัดจากกาม และอกุศลธรรม จึงบรรลุฌานที่ ๑ มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก
เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุฌานที่ ๒ เป็นที่เกิดสมาธิแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข
เพราะความจางแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ จึงบรรลุฌานที่ ๓ เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติ
เพราะละสุข และทุกข์เสียได้ โสมนัสและโทมนัส ดับไป จึงได้บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข

 
 


พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ภาค ๔ เรื่องเบ็ดเตล็ดใหญ่น้อยต่าง ๆ ตั้งแต่โปรดปัญจวัคคีย์แล้ว  ไปจนถึงจวนจะปรินิพพาน หน้าที่ ๒๘๘


ทรงมีหลักเกณฑ์การฝึกตามลำดับ (อย่างย่อ)

       ดูก่อนพราหมณ์ !  ในธรรมวินัยนี้ เราสามารถบัญญัติกฎเกณฑ์แห่ง การศึกษา ตามลำดับ การกระทำตามลำดับ และการปฏิบัติตามลำดับ ได้เหมือนกัน (กับที่ท่าน มีวิธีฝึกสอนศิษย์ของท่านให้นับตามลำดับ).

พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนผู้ชำนาญการฝึกม้า ได้ม้าชนิดที่อาจฝึกได้มาแล้ว ในขั้นแรกย่อมฝึกให้รู้จักการรับสวมบังเหียนก่อน แล้วจึงฝึกอย่างอื่น ๆ ให้ยิ่งขึ้นไป ฉันใด พราหมณ์เอย !  ตถาคตครั้นได้บุรุษที่พอฝึกได้มาแล้วในขั้นแรก ย่อมแนะนำ อย่างนี้ก่อนว่า  “มาเถิดภิกษุ !  ท่านจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยดีในปาติโมกข์ ถึงพร้อม ด้วยมรรยาท และ โคจร มีปรกติเห็นเป็นภัยแม้ในโทษที่เล็กน้อย  จงสมาทานศึกษา ในสิกขาบท ทั้งหลายเถิด” ดังนี้.

พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้มีศีล (เช่นที่กล่าวแล้ว)ดีแล้วตถาคตย่อม แนะนำ ให้ยิ่งขึ้นไปว่า “มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ได้เห็น รูป ด้วยตาแล้ว จักไม่ถือเอาโดยนิมิต (คือรวบถือทั้งหมดว่างามหรือ ไม่งาม แล้วแต่ กรณี) จักไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ (คือแยกถือเอาแต่บางส่วนว่าส่วนใดงาม หรือ ไม่งามแล้วแต่กรณี) บาปอกุศลกล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส มักไหลไปตามอารมณ์ เพราะการไม่สำรวมจักขุอินทรีย์ใดเป็นเหตุ เราจักสำรวมอินทรีย์นั้นไว้เป็นผู้รักษา สำรวมจักขุอินทรีย์. (ในโสตินทรีย์คือหู ฆานินทรีย์คือจมูก ชิวหาอินทรีย์คือลิ้น กายินทรีย์คือกาย และมนินทรีย์คือใจ ก็มีข้อความนัยเดียวกัน)” ดังนี้.

พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำ ให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้รู้ประมาณใน โภชนะ อยู่เสมอ จงพิจารณาโดย แยบคาย แล้วจึงฉัน ไม่ฉันเพื่อเล่นเพื่อมัวเมา เพื่อประดับตกแต่ง แต่ฉันเพียงเพื่อให้ กายนี้ ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกัน ความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์ พรหมจรรย์ โดยคิดว่าเราจักกำจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสีย แล้วไม่ทำเวทนาใหม่ (อิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น. ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร และความอยู่ผาสุก สำราญ จักมีแก่เรา” ดังนี้.

พราหมณ์ !  ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงประกอบความเพียร ในธรรมเป็นเครื่องตื่น (ไม่หลับ ไม่ง่วง ไม่มึนชา). จงชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจาก อาวรณิยธรรมทั้งหลาย ด้วยการเดิน การนั่ง ตลอดวันยังค่ำไปจนสิ้นยามแรก แห่งราตรี ครั้นยามกลางแห่งราตรี สำเร็จการ นอนอย่างราชสีห์ (คือ) ตะแคงขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น. ครั้นถึงยามท้ายแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้หมดจดจากอาวรณิยธรรมด้วยการ เดินการนั่ง อีกต่อไป” ดังนี้.

พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบความเพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น (เช่นที่กล่าวนั้น ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “มาเถิดภิกษุ ! ท่านจง เป็น ผู้ประกอบพร้อม ด้วยสติสัมปชัญญะ รู้ตัวรอบคอบในการ ก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับ ไปข้างหลัง การแลดู การเหลียวดู การคู้ การเหยียด การทรงสังฆาฏิ บาตรจีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง” ดังนี้.

พราหมณ์ !  ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “มาเถิดภิกษุ ! ท่านจง เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าละเมาะ โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้าป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง).

ในกาลเป็นปัจฉาภัตต์ กลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติ เฉพาะหน้า

ละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิต จากอภิชฌา ละพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณามีจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากพยาบาท

ละถีนะมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนะมิทธะ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว คอยชำระจิตจากถีนะมิทธะ

ละอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่านมีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชำระจิตจากอุทธัจจะกุกกุจจะ

ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า ‘นี่อะไร นี่อย่างไร’ ในกุศลธรรมทั้งหลาย (เพราะความสงสัย) คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา” ดังนี้.

ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทำปัญญาให้ถอยกำลัง เหล่านี้ ได้แล้ว เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุฌานที่ ๑ มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่.

เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสในภายใน เป็นที่ เกิดสมาธิแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่.

เพราะความจางแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย จึงบรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติ อยู่เป็นสุข.

และเพราะละสุข และทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัส ในกาลก่อน จึงได้บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่มีสติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

พราหมณ์เอย !  ภิกษุเหล่าใดที่ยังเป็นเสขะ (คือยังต้องทำต่อไป) ยังไม่บรรลุ อรหัตตมรรค ยังปรารถนานิพพานอันเป็นที่เกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งไปกว่าอยู่ คำสอน ที่กล่าวมานี้แหละ เป็นคำสอนสำหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.

ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ต้องทำ สำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงได้แล้ว มีประโยชน์ตนอันได้บรรลุถึงแล้ว มีสัญโญชน์ ในภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบแล้ว ธรรมทั้งหลาย (ในคำสอน) เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม และเพื่อสติสัมปชัญญะ  แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ด้วย.


๑. บาลี ทันตภูมิสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๖๖/๓๙๕. ตรัสแก่สามเณร อจีรวตะ ผู้อัคคิเวสนโคตร ที่สวนไผ่ ใกล้กรุงราชคฤห์.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์