เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  กาม ๒ อย่าง วัตถุกาม ๑ (กามธาตุ) กิเลสกาม ๑ (กามคุณ) 956
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

กาม ๒ อย่าง
1. วัตถุกาม (กามธาตุ)
2. กิเลสกาม (กามคุณ)

วัตถุกาม (วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด)
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท กองพลรบ คลัง
อีกอย่างหนึ่ง กามที่เป็นอดีต กามที่เป็นอนาคต กามที่เป็นปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิดประณีต เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์ ธรรมที่เป็น กามาวจร แม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็น รูปาวจร แม้ทั้งหมด ธรรมที่ เป็น อรูปาวจร แม้ทั้งหมด ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่า เป็น ที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะอรรถ ว่าเป็นที่ตั้ง แห่งความมัวเมา กามเหล่านี้เรียกว่าวัตถุกาม.

กิเลสกาม(ความดำริในกาม) คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความพอใจและความกำหนัด ความดำริ ความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัด คือความใคร่ ความเพลิดเพลิน คือความใคร่ ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสนหา ในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบ ในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะ ชื่อว่ากาม.

 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๙
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส หน้าที่ ๒๔


ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง

           [๓๔] คำว่า กามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของอันนรชน ละได้โดยง่ายมีความว่า (๑)- กาม* ได้แก่กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ

วัตถุกาม ๑
(กามธาตุ)
กิเลสกาม ๑
(กามคุณ)

วัตถุกามเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจเครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท กองพลรบ คลัง และวัตถุ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวัตถุกาม.
อีกอย่างหนึ่ง กามที่เป็นอดีต กามที่เป็นอนาคต กามที่เป็นปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิดประณีต เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์ ที่ปรากฏเฉพาะหน้า ที่นิรมิตเอง ที่ผู้อื่นนิรมิต ที่หวงแหน ที่ไม่ได้หวงแหน ที่ยึดถือว่าของเรา ที่ไม่ยึดถือว่า ของเรา ธรรมที่เป็น กามาวจร แม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็น รูปาวจร แม้ทั้งหมด ธรรมที่ เป็น อรูปาวจร แม้ทั้งหมด ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ชื่อว่ากาม เพราะ อรรถว่า อันบุคคลพึงใคร่ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะอรรถ ว่าเป็นที่ตั้ง แห่งความมัวเมา กามเหล่านี้เรียกว่าวัตถุกาม.

กิเลสกามเป็นไฉน? คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความพอใจและความกำหนัด ความดำริ ความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัด คือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสนหา ในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบ ในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะ ชื่อว่ากาม. สมจริงดังคำว่า ดูกรกาม เราเห็นรากฐาน ของท่านแล้วว่า ท่านย่อมเกิด เพราะความ ดำริ เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจักไม่มีอย่างนี้. กามเหล่านี้ เรียกว่า กิเลสกาม.

คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก.

คำว่า กามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของอันนรชนละ ได้โดยง่าย มีความว่า ก็กามทั้งหลายในโลกเป็นของอันนรชน ละได้โดยยาก สละได้โดยยาก สลัดได้โดยยาก ย่ำยีได้โดยยาก แหวกออกได้โดยยาก ข้ามได้โดยยาก พ้นได้โดยยาก ก้าวล่วงได้โดยยาก ข้ามพ้นได้โดยยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของอัน นรชนละได้โดยง่าย.

           [๓๕] เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมาก ปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ก็เพราะ กามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์