เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ธาตุ ๓ อย่าง เป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไปได้ของปฏิจจสมุปบาท๑ 954
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ธาตุ 3 อย่าง
กามธาตุ... เป็นเหตุให้เกิด กามภพ
รูปธาตุ..... เป็นเหตุให้เกิด รูปภพ
อรูปธาตุ... เป็นเหตุให้เกิด อรูปภพ


คลิป 1

คลิป 2

 
 


๑. สูตรที่ ๖ อานันทวรรค ติก. อํ. ๒๐/๒๘๗/๕๑๖, ตรัสแก่พระอานนท์.

ธาตุ ๓ อย่าง
เป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไปได้ของ ปฏิจจสมุปบาท๑


(นัยยะ 1 กรรมเปรียบเหมือนผืนนา)

        “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คำที่กล่าว ๆ กันว่า ‘ภพ-ภพ’ ดังนี้นั้น ภพย่อมมีได้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรแล พระเจ้าข้า ?”

         ดูก่อนอานนท์ !  ถ้ากรรมอันมี กามธาตุ (ธาตุอันทราม) เป็นวิบาก (วิบาก=ผลแห่งการกระทำ) จักไม่ได้มี แล้วไซร้ กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ? (“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”)

         ดูก่อนอานนท์ !  ด้วยเหตุดังนี้แล กรรม จึงชื่อว่าเนื้อนา วิญญาณ ชื่อว่าพืช ตัณหา ชื่อว่ายางในพืช. เมื่อวิญญาณ ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ตั้งอยู่ด้วยธาตุอันทราม (กามธาตุ) อย่างนี้แล้ว การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ ต่อไปย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

         ดูก่อนอานนท์ !  ถ้า กรรมอันมี รูปธาตุ เป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ รูปภพ จะพึง ปรากฏ ได้แลหรือ ? (“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”)

         ดูก่อนอานนท์ !  ด้วยเหตุดังนี้แล กรรม จึงชื่อว่าเนื้อหา วิญญาณ ชื่อว่าพืช ตัณหา ชื่อว่ายางในพืช. เมื่อวิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่อง ผูก ตั้งอยู่ด้วยธาตุปานกลาง (รูปธาตุ) อย่างนี้แล้ว การบังเกิดขึ้น ในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

         ดูก่อนอานนท์ !  ถ้า กรรมอันมี อรูปธาตุ เป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ? (“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”)

         ดูก่อนอานนท์ !  ด้วยเหตุดังนี้แล กรรม จึงชื่อว่าเนื้อนา วิญญาณ ชื่อว่าพืช ตัณหา ชื่อว่ายางในพืช. เมื่อวิญญาณของสัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่ด้วยธาตุอันประณีต (อรูปธาตุ) อย่างนี้แล้ว การบังเกิดขึ้น ในภพใหม่ต่อไป ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

         ดูก่อนอานนท์ !  ภพ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ แล.


(ต่อไปนี้ เป็นข้อความในสูตรอีกสูตรหนึ่ง๑ ซึ่งมีหลักธรรมทำนองเดียวกัน:-)
สูตรที่ ๗ อานันทวรรค ติก. อํ. ๒๐/๒๘๘/๕๑๗, ตรัสแก่พระอานนท์.


(นัยยะ 2 กรรมเปรียบเหมือน เจตนา)

         “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ? คำที่กล่าว ๆ กันว่า ‘ภพ-ภพ’ ดังนี้นั้น ภพย่อมมีได้ ด้วยเหตุ ที่ประมาณเท่าไรแล พระเจ้าข้า ?”

         ดูก่อนอานนท์ !  ถ้ากรรมอันมี กามธาตุ เป็นวิบาก (วิบาก = ผลแห่งการ กระทำ) จักไม่ได้มี แล้วไซร้ กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ? (“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”)

         ดูก่อนอานนท์ !  ด้วยเหตุดังนี้แล กรรม จึงชื่อว่าเนื้อนา วิญญาณ ชื่อว่าพืช ตัณหา ชื่อว่ายางในพืช. เมื่อเจตนา ก็ดี ความปรารถนา ก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่ด้วยธาตุอันทราม (กามธาตุ) อย่างนี้แล้ว การบังเกิดใน ภพใหม่ต่อไป ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

         ดูก่อนอานนท์ !  ถ้ากรรมอันมีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ รูปภพจะพึง ปรากฏได้แลหรือ ? (“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”)

         ดูก่อนอานนท์ !  ด้วยเหตุดังนี้แล กรรม จึงชื่อว่าเนื้อนา วิญญาณ ชื่อว่าพืช ตัณหา ชื่อว่ายางในพืช. เมื่อเจตนา ก็ดี ความปรารภนา ก็ดี ของสัตว์ทั้งหลายผู้มี อวิชชาเป็น เครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่ด้วยธาตุปานกลาง (รูปธาตุ) อย่างนี้แล้ว การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

         ดูก่อนอานนท์ !  ถ้ากรรมอันมีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ? (“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”)

         ดูก่อนอานนท์ !  ด้วยเหตุดังนี้แล กรรม จึงชื่อว่าเนื้อนา วิญญาณ ชื่อว่าพืช ตัณหา ชื่อว่ายางในพืช. เมื่อเจตนา ก็ดี ความปรารถนา ก็ดี ของสัตว์ทั้งหลายผู้มี อวิชชาเป็น เครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่ด้วยธาตุอันประณีต (อรูปธาตุ) อย่างนี้แล้ว การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

         ดูก่อนอานนท์ !  ภพ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ แล.


หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า การเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ ต่อไป ในที่นี้ หมายถึงการเกิดแห่งภพ เพราะอำนาจแห่งอุปาทาน ของสัตว์ผู้ประกอบด้วย อวิชชาและ ตัณหา ในขณะแห่งปฏิจจสมุปบาทสายหนึ่ง ๆ ทุกสาย ต่างกันไปตาม อารมณ์ ของตัณหา ซึ่งเป็นกามธาตุบ้าง รูปธาตุบ้าง อรูปธาตุบ้าง; ดังนั้น ถ้าธาตุทั้ง ๓ นี้ ยังมีอยู่ แม้เพียง อย่างใดอย่างหนึ่ง การเกิดในภพใหม่ ในกระแสแห่ง ปฏิจจสมุปบาทนั้น ก็พึงมีต่อไป.

 

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์