ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต หน้าที่ ๑ - ๑๑
3.ขตสูตรที่ ๑
[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นคนพาล ไม่เฉียบแหลม ไม่ใช่สัตบุรุษ ย่อมคุ้มครองตนที่ ปราศจากคุณสมบัติ ย่อมเป็นผู้ ประกอบไปด้วยโทษ นักปราชญ์ติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
-
ไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบแล้ว
- กล่าวสรรเสริญคุณ ของ ผู้ไม่ควรสรรเสริญ ๑
- ไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบแล้ว
- กล่าวติเตียนผู้ที่ควร สรรเสริญ ๑
- ไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบแล้ว
- ยังความเลื่อมใสให้เกิดในฐานะ ที่ไม่ควรเลื่อมใส ๑
- ไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบแล้ว ยังความไม่เลื่อมใสให้เกิดในฐานะที่ควรเลื่อมใส๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นคนพาล ไม่เฉียบ แหลม ไม่ใช่สัตบุรุษ ย่อมคุ้มครองตนที่ปราศจากคุณสมบัติ ย่อมเป็นผู้ ประกอบไป ด้วยโทษ นักปราชญ์ติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญ เป็นอันมาก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นบัณฑิตเฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ย่อมคุ้มครองตนให้ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ เป็นผู้หาโทษมิได้ ทั้งนักปราชญ์ไม่ติเตียน และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
- ใคร่ครวญ สืบสวนรอบคอบแล้ว
- กล่าวติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ๑
- ใคร่ครวญสืบสวน รอบคอบแล้ว กล่าวสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ ๑
- ใคร่ครวญ สืบสวนรอบคอบแล้ว ยังความไม่เลื่อมใสให้เกิดในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส ๑
- ใคร่ครวญสืบสวนรอบคอบแล้ว ยังความเลื่อมใสให้เกิดในฐานะที่ควรเลื่อมใส ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ย่อมคุ้มครองตนให้ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ เป็นผู้หา โทษมิได้ ทั้งนักปราชญ์ไม่ติเตียน และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ฯ
ผู้ใด ย่อมสรรเสริญผู้ที่ควรนินทา หรือย่อมนินทาผู้ที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมค้นหาโทษด้วยปาก ย่อมไม่ได้ประสบสุขเพราะโทษนั้น ความพ่ายแพ้การพนัน ด้วยทรัพย์ทั้งหมด พร้อมด้วยตน มีโทษน้อย การที่ยังใจให้ประทุษร้ายในท่าน ผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้แหละ เป็นโทษใหญ่กว่า (โทษการพนัน)
ผู้ที่ตั้งวาจา และใจอันเป็นบาปไว้ ติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรก สิ้นแสนสามสิบหก นิรัพพุททะ และห้าอัพพุททะ
|