เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาพระสูตร เรียงตามอักษร
 
  พกพรหมมีทิฐิอันชั่วช้า ว่าพรหม ยั่งยืนคงที่ ไม่จุติ ไม่อุปบัติ พระผู้มีพระภาคพร้อมอรหันต์    ผู้มีฤทธิ์ หายตัวไปนั่งบนหัวพรหม 934
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

พระผู้มีพระภาค ทราบในใจของพกพรหม ที่เข้าใจว่า เทวดาชั้นพรหมเที่ยงแท้ ยั่งยืน ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย พระองค์จึงหายตัวไปรากฎที่ชั้นพรหม ตรัสว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหม นั้น ถึงความโง่เขลาแล้วหนอ

พรหมทูลว่าข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์ ๗๒ คน บังเกิดในพรหมโลกนี้ เพราะบุญกรรม ยังอำนาจ ให้เป็นไป ล่วงชาติชราได้แล้ว การอุปบัติ ในพรหมโลก ซึ่งถึงฝั่งไตรเภทนี้ เป็นที่สุดแล้ว ชนมิใช่น้อย ย่อมปรารถนา เป็นดังพวกข้าพระองค์

ดูกรพกพรหม ท่านสำคัญอายุใดว่ายาว ก็อายุนั้นสั้น ไม่ยาวเลย
ดูกรพรหม เรารู้อายุหนึ่ง แสนนิรัพพุท ของท่านได้ดี (ทรงรู้อายุพรหม)

ทิฐิของพกพรหม
ฐานะแห่งพรหม ที่เป็นของไม่เที่ยง ว่าเป็นของเที่ยง
ฐานะแห่งพรหม ที่เป็นของไม่ยั่งยืน ว่ายั่งยืน
ฐานะแห่งพรหม ที่เป็นของไม่ติดต่อกัน ว่าติดต่อกัน
ฐานะแห่งพรหม ที่เป็นของไม่คงที่ ว่าคงที่
ฐานะแห่งพรหม ที่เป็นของความเคลื่อนไหว ว่าไม่เคลื่อนไหว
ฐานะแห่งพรหมนี้ ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ
และกล่าวว่า ไม่มีอุบายเครื่องออก(มรรค)ไปอันยิ่งอย่างอื่นซึ่งมีอยู่

 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค หน้าที่ ๑๗๔

พกสูตรที่ ๔

          [๕๖๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

    ก็สมัยนั้นแล พกพรหมได้เกิดทิฐิอันชั่วช้า เห็นปานดังนี้ว่า ฐานะแห่งพรหม นี้เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็แหละอุบายเป็นเครื่องออกไป อันยิ่งอย่างอื่น จากฐานะแห่งพรหมนี้ ไม่มี

          [๕๖๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของ พกพรหม ด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไป ในพระเชตวันวิหารแล้ว ได้ปรากฏใน พรหมโลก นั้น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออก ซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือคู้เข้าซึ่ง แขนที่เหยียดออก ฉะนั้น

    พกพรหมได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว ครั้นแล้วได้ กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์จงเสด็จมาเถิด ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ นานเทียวแลพระองค์ ได้กระทำปริยาย เพื่อการเสด็จมา ณ พรหมโลกนี้ ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ ก็ฐานะ แห่งพรหมนี้ เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็อุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นจาก ฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี

          [๕๖๘] เมื่อพกพรหมกล่าวเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำนี้กะพกพรหม ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหม นั้น ถึงความโง่เขลาแล้วหนอ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้น ถึงความโง่เขลาแล้วหนอ

พกพรหมกล่าวฐานะแห่งพรหม ที่เป็นของไม่เที่ยงเลย ว่าเที่ยง
กล่าวฐานะแห่งพรหม ที่เป็นของไม่ยั่งยืนเลย ว่ายั่งยืน
กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่ติดต่อกันเลย ว่าติดต่อกัน
กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่คงที่เลย ว่าคงที่
กล่าวฐานะแห่งพรหม ที่เป็นของความเคลื่อนไหว เป็นธรรมดาทีเดียว ว่ามีความไม่ เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา
และกล่าวฐานะ แห่งพรหม อันเป็นที่เกิดแก่ ตาย และเป็นที่จุติและอุปบัติ แห่งตน ว่า ฐานะแห่งพรหมนี้ ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ
ก็แหละย่อมกล่าวอุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นซึ่งมีอยู่ ว่าไม่มี ดังนี้

          [๕๖๙] พกพรหม ทูลว่าข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์ ๗๒ คน บังเกิดในพรหมโลกนี้ เพราะบุญกรรม ยังอำนาจให้เป็นไป ล่วงชาติชราได้แล้ว การอุปบัติ ในพรหมโลก ซึ่งถึงฝั่งไตรเภทนี้เป็นที่สุดแล้ว ชนมิใช่น้อย ย่อมปรารถนา เป็นดังพวกข้าพระองค์

          [๕๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพกพรหม ท่านสำคัญอายุใดว่ายาว ก็อายุนั้นสั้น ไม่ยาวเลย ดูกรพรหม เรารู้อายุหนึ่ง แสนนิรัพพุท ของท่านได้ดี
แสนนิรัพพุท เท่ากับ 100,000 *( 1แล้วเติม 0 ตามหลัง 1 จำนวน63 ตัว)
(รัพพุท) เท่ากับ 1 มี 0 ตามหลัง 63 ตัว

          [๕๗๑] พกพรหมทูลว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า เราเป็นผู้มีปรกติเห็น ไม่มีที่สิ้นสุดล่วงชาติชรา และความโศกได้แล้วดังนี้ อะไรเป็นศีลวัตรเก่าแก่ ของข้าพระองค์หนอ ขอพระองค์จงตรัสบอกศีลวัตร ซึ่งข้าพระองค์ ควรรู้แจ้งชัด

          [๕๗๒] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

๑. ข้อที่ท่านยังมนุษย์เป็นอันมาก ผู้ซึ่งกระหายน้ำอันแดดแผดเผาแล้ว ในฤดูร้อน ให้ได้ดื่มน้ำกิน เป็นศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่ประดุจหลับแล้ว และ ตื่นขึ้นฉะนั้น

๒. ข้อที่ท่านช่วยปลดเปลื้องประชุมชน ซึ่งถูกโจรจับพาไปอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เป็นศีลวัตร เก่าแก่ ของท่าน เรายังระลึก ได้อยู่ประดุจหลับแล้วและตื่นขึ้น ฉะนั้น

๓. ข้อที่ท่านข่มขี่ด้วยกำลัง แล้วช่วยปลดเปลื้องเรือซึ่งถูกนาคผู้ร้ายกาจจับไว้ ในกระแส ของแม่น้ำคงคา เพราะความเอ็นดูในหมู่มนุษย์ ข้อนั้นเป็นศีลวัตรเก่าแก่
ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้วและตื่นขึ้น ฉะนั้น

๔. และเราได้เป็น อันเตวาสิก (1) ของท่าน นามว่า กัปปมาณพ เราได้เข้าใจ ท่านแล้วว่า มีความรู้ชอบ มีวัตร ข้อนั้นเป็นศีลวัตร เก่าแก่ของท่านเรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับ แล้ว และตื่นขึ้น ฉะนั้น
(1) ศิษย์ที่อยู่ในปกครอง

พกพรหมทูลว่า พระองค์ทรงทราบอายุนี้ ของข้าพระองค์แน่แท้ แม้สิ่งอื่นๆ พระองค์ก็ทรงทราบได้ เพราะพระองค์ เป็นพระพุทธเจ้า ฉะนั้น อานุภาพอันรุ่งโรจน์ ของพระองค์นี้ จึงยังพรหมโลกให้สว่างไสวตั้งอยู่

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์