เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 รัตนะ ๗ ประการ ของผู้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะ 859
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

แก้ว 7 ประการ ของพระเจ้าจักรพรรดิ์ มหาสุทัสสนะ

1. จักรแก้ว (จักรทิพย์)
2. ช้างแก้ว
3. ม้าแก้ว
4. มณีแก้ว
5. นางแก้ว
6. ขุนคลังแก้ว
7. ขุนพลแก้ว


 
 



พระเจ้าจักรพรรดิ สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ

(ย่อ)
จักรแก้ว
เมื่อผู้ที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ พระองค์ทรงรักษาศีลอุโบสถ ชำระจิตให้สะอาดแล้วทรงทำสมาธิ จักรแก้วก็บังเกิดขึ้น ทำจากโลหะมีค่า ส่องแสง สว่างไสว แล้วพาพระเจ้าจักรพรรดิพร้อมเหล่าเสนาบดี ลอยไปยัง ประเทศ ต่างๆ ในทวีปทั้ง 4 ประเทศต่างๆ ก็ยอมสวามิภักดิ์ ไม่มีการสู้รบกัน เมื่อจะถวายเครื่อง บรรณาการพระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงไม่รับแต่พระราชทานโอวาทศีล 5 ให้

ช้างแก้ว
ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้าง มีชื่อว่า อุโบสถ สีขาวเผือก สง่างาม มีฤทธิ์เดชสามารถเหาะได้ คล่องแคล่วว่องไว ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้า จักรพรรดิ ไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลา เสวยพระกระยาหารเช้า

ม้าแก้ว
ม้าแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้า มีชื่อว่า วลาหกะ เป็นอัศวราชผู้สง่างาม ขนงาม มีหางเป็นพวง ตรงปลายคล้ายดอกบัวตูม มีฤทธิ์เดชเหาะเหินเดินบนอากาศ ได้ คล่องแคล่วว่องไว ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า

มณีแก้ว
มณีแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วมณีเปล่งแสงสุกสกาว ใสแวววาวยิ่งกว่าเพชร เปล่งรังสีแสงสว่างไสวโดยรอบถึง 1 โยชน์ คอยบันดาลความอุดมสมบูรณ์ทุกอย่าง ให้เกิดขึ้น ดึงดูดสมบัติทั้งหลายมาให้ สามารถเลี้ยงคนได้ทั้งชมพูทวีป โดยไม่ต้อง
ทำ มาหากิน เมื่อพระมหาจักรพรรดิทรงทดลองแก้วมณีกับกองทัพ โดยติดแก้วมณี ไว้บนยอดธงนำทัพ แก้วมณีก็เปล่งแสงสว่างไสว ทำให้กองทัพเดินทางได้สะดวก สบาย เหมือนเดินทัพในเวลากลางวัน

นางแก้ว
นางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นหญิงที่มีบุญญาธิการ รูปร่างน่าดูชม ผิวพรรณ เปล่งปลั่งผ่องใส สวยงามกว่ามนุษย์ทั่วไป พูดจาสุภาพ ไม่โกหก มีกลิ่นดอกบัวหอม ฟุ้งออกจากปาก มีกลิ่นจันทน์หอมฟุ้งรอบกาย นางแก้วเป็นผู้คอยปรนนิบัติ พระเจ้า จักรพรรดิอย่างไม่ขาดสาย ตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยรับฟังคำสั่ง ของพระเจ้าจักรพรรดิ ประพฤติชอบต่อพระเจ้าจักรพรรดิเสมอ

ขุนคลังแก้ว (คฤหบดีแก้ว)
คฤหบดีแก้ว หรือขุนคลังแก้ว สามารถนำทรัพย์สินมาให้แด่พระเจ้าจักรพรรดิได้ ขุมทรัพย์อยู่ที่ไหนก็เห็นไปหมด

ขุนพลแก้ว (ปริณายกแก้ว)
ปริณายกแก้ว หรือขุนพลแก้ว คือพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นขุนศึกคู่ใจ เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ มีความฉลาดเฉลียว รู้สิ่งใดควรไม่ควร คอยให้คำแนะนำปรึกษาแด่พระเจ้าจักรพรรดิอยู่เสมอ



ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้าที่ ๑๓๖

(และ
พาลบัณฑิตสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๒๔๙ - ๒๕๔)

รัตนะ ๗ ประการ ของผู้เป็นจักรพรรดิ์
(มหาสุทัสสนะ)


[๑๖๔] ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และด้วยฤทธิ์ ๔ ประการ. แก้ว ๗ ประการ เป็นไฉน ?

ดูกรอานนท์ เมื่อพระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงสนานพระเศียรในวัน ๑๕ ค่ำ อันเป็นวัน อุโบสถ ทรงรักษาอุโบสถ เสด็จขึ้นบนปราสาทอันประเสริฐ.

จักรแก้ว อันเป็นทิพย์ มีซี่พันหนึ่ง มีกง มีดุม พร้อมบริบูรณ์ โดยอาการทั้งปวงได้ ปรากฏขึ้น. ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็น จึงทรงพระดำริว่า ก็เราได้สดับเรื่องนี้มาแล้วว่า ผู้ใดเป็นขัตติยราชผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว สนานพระเศียรในวัน ๑๕ ค่ำ อันเป็นวัน อุโบสถ ทรงรักษาอุโบสถ เสด็จขึ้นสู่ปราสาทอันประเสริฐ.

จักรแก้วอันเป็นทิพย์ มีซี่พันหนึ่ง มีกง มีดุม พร้อมบริบูรณ์ โดยอาการทั้งปวงย่อม ปรากฏขึ้น พระราชาผู้นั้น ย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ดังนี้. เราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หรือหนอ. ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เสด็จลุกจากอาสนะ ทรงกระทำพระภูษา เฉวียงบ่า พระหัตถ์ซ้ายทรงจับพระเต้าทอง พระหัตถ์ขวาทรง ชูจักรแก้วขึ้น ตรัสว่า จักรแก้วอันเจริญ จงเป็นไป จักรแก้วอันเจริญ จงชำนะวิเศษยิ่ง. ดูกรอานนท์ ครั้งนั้นแล จักรแก้วนั้นก็เป็นไปทางปุรัตถิมทิศ. พระเจ้ามหาสุทัสสนะ พร้อมด้วยจตุรงคเสนาก็เสด็จตามไป.

ดูกรอานนท์ จักรแก้วหยุดอยู่ในประเทศใด พระเจ้ามหาสุทัสสนะก็เสด็จเข้าพักแรม พร้อมด้วยจตุรงคเสนาในประเทศนั้น. ดูกรอานนท์ ก็ในปุรัตถิมทิศ พระราชาเหล่าใด เป็นปฏิปักษ์ พระราชาเหล่านั้นเข้าเฝ้า พระเจ้ามหาสุทัสสนะ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จมาเถิด พระองค์เสด็จมาดีแล้ว. ราชสมบัติของ หม่อมฉัน ย่อมเป็นของพระองค์. ขอพระองค์ จงประทานพระบรมราโชวาท. พระเจ้ามหาสุทัสสนะจึงตรัสอย่างนี้ว่า “ พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอา ของที่ เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงกล่าวเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงบริโภค ตามเคยเถิด. ดูกรอานนท์ ก็ในปุรัตถิมทิศ พระราชาเหล่าใดเป็นปฏิปักษ์ พระราชาเหล่านั้น กลับอ่อนน้อมต่อพระเจ้ามหาสุทัสสนะ.

ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น จักรแก้วก็ย่างเข้าสู่สมุทรด้านปุรัตถิมทิศ แล้วกลับเวียนไปทาง ทิศทักษิณ ย่างเข้าสู่สมุทรด้านทักษิณทิศ แล้วกลับเวียนไปทางทิศปัจจิม ย่างเข้าสู่ สมุทรด้านทิศปัจจิม แล้วกลับเวียนไปทางทิศอุดร พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงติดตาม ไปพร้อมด้วยจตุรงคเสนา.

ดูกรอานนท์ ก็จักรแก้วหยุดอยู่ในประเทศใด พระเจ้ามหา สุทัสสนะก็เสด็จเข้าพักแรม พร้อมด้วยจตุรงคเสนาในประเทศ นั้น. ดูกรอานนท์ ก็ในอุตตรทิศ พระราชาเหล่าใด เป็นปฏิปักษ์ พระราชาเหล่านั้นเข้าเฝ้า พระเจ้ามหาสุทัสสนะ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จ มาเถิด พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ราชสมบัติ ของหม่อมฉัน ย่อมเป็นของพระองค์. ขอพระองค์จงประทานพระบรมราโชวาท.

พระเจ้ามหาสุทัสสนะจึงตรัสอย่างนี้ว่า “ พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาของ ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงกล่าวเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงบริโภคตามเคยเถิด.”

ดูกรอานนท์ ก็ในอุตตรทิศ พระราชาเหล่าใดเป็นปฏิปักษ์ พระราชาเหล่านั้นกลับ อ่อนน้อมต่อพระเจ้ามหาสุทัสนะ. ลำดับนั้น จักรแก้วนั้นก็ปราบปรามปฐพี มีสมุทรเป็น ขอบเขตให้ราบคาบ เสร็จแล้วก็กลับมากุสาวดีราชธานี ปรากฏแก่พระเจ้ามหา สุทัสสนะ ที่พระทวารภายในพระราชวัง ณ มุขสำหรับทำเรื่องราว ยังภายในราชวัง ของพระเจ้ามหาสุทัสสนะให้สว่างไสวอยู่.

ดูกรอานนท์ จักรแก้วเห็นปานนี้ ได้ปรากฏ แก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ.ว่าด้วย หัตถีรัตนะ



[๑๖๕] ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ช้างแก้ว ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เป็นช้างเผือกล้วน เป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ มีฤทธิ์ไปในอากาศได้ เป็นพระยาช้างสกุล อุโบสถ. พระเจ้ามหาสุทัสสนะทอดพระเนตรแล้ว ทรงพอพระทัย ดำรัสว่า ท่านผู้เจริญ ยานคือช้างอันเจริญ ถ้าได้ฝึกหัด.

ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น ช้างแก้วก็เข้าถึงการฝึกหัดเหมือนอย่างช้างอาชานัยที่เจริญ อันเขาฝึกหัดเรียบร้อยดีแล้ว ตลอดเวลานาน ฉะนั้น.

ดูกรอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เมื่อจะทรงทดลองช้างแก้ว ตัวนั้นแหละ พอเวลาเช้าก็เสด็จขึ้น ทรง แล้วเสด็จเลียบไปตลอดปฐพี อันมีสมุทร เป็นขอบเขต เสด็จกลับกุสาวดีราชธานี แล้วเสวยพระกระยาหารเช้า. ดูกรอานนท์ ช้างแก้วเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ.ว่าด้วย อัสสรัตนะเป็นต้น



[๑๖๖] ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ม้าแก้ว ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เป็นม้าขาวล้วน ศีรษะดำ มีผมเป็นพวงประดุจหญ้าปล้อง มีฤทธิ์ไปในอากาศได้ ชื่อวลาหกอัศวราช. ท้าวเธอทอดพระเนตรแล้ว ทรงพอพระหฤทัย ตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ยานคือม้าอันเจริญ ถ้าได้ฝึกหัด. ลำดับนั้น ม้าแก้วนั้นก็เข้าถึงการฝึกหัด เหมือนอย่างม้าอาชานัยตัวเจริญ ที่ได้รับการ ฝึกหัด เรียบร้อยดีแล้ว ตลอดเวลานาน ฉะนั้น.

ดูกรอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เมื่อจะทรงทดลองม้าแก้วตัวนั้น แหละ ได้เสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า เสด็จเลียบไปตลอดปฐพี อันมีสมุทรเป็นขอบเขต แล้วเสด็จกลับมากุสาวดีราชธานี แล้วเสวยพระกระยาหารเช้า.ดูกรอานนท์ ม้าแก้วเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ.


[๑๖๗] ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง แก้วมณี ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เป็นแก้วไพฑูรย์อันงามเกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียรไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนทุกอย่าง. ดูกรอานนท์ แสงสว่างของแก้วมณีนั้น แผ่ไปโดยรอบ ประมาณโยชน์หนึ่ง.

ดูกรอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เมื่อจะทรงทดลองแก้วมณี ดวงนั้น ทรงยัง จตุรงคเสนาให้ผูกสอดเครื่องรบ ทรงยกแก้วมณีไว้ปลายธง แล้วเสด็จไปยืนในที่มืด ในราตรีกาล. ดูกรอานนท์ ชาวบ้านที่อยู่โดยรอบ ต่างพากันสำคัญว่ากลางวัน ประกอบการงานด้วย แสงสว่างนั้น. ดูกรอานนท์ แก้วมณีเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ.



[๑๖๘] ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง นางแก้ว ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เป็นสตรีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส กอปรด้วยผิวพรรณผุดผ่อง ยิ่งนัก ไม่สูงเกิน ไม่ต่ำเกิน ไม่ผอมเกิน ไม่อ้วนเกิน ไม่ดำเกิน ไม่ขาวเกิน เย้ยวรรณของหญิงมนุษย์ แต่ไม่ถึงวรรณทิพย์. ดูกรอานนท์ สัมผัสแห่งกายของนางแก้วนั้น เห็นปานนี้ คือ เหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย. นางแก้วนั้น ฤดูหนาวตัวอุ่น ฤดูร้อนตัวเย็น. กลิ่นจันทร์ฟุ้ง ออกจากกาย กลิ่นอุบลฟุ้ง ออกจากปากของนางแก้วนั้น. นางแก้วนั้น มีปรกติตื่นก่อน มีปรกตินอนภายหลัง คอยฟังว่าจะโปรดให้ทำอะไร ประพฤติต้อง พระทัย เพ็ดทูล ด้วยถ้อยคำที่น่ารัก. นางแก้วนั้น แม้ใจก็ไม่คิดนอกพระทัย พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ไหนเลยกายนางจะเป็น ได้เล่า.ดูกรอานนท์ นางแก้วเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้า มหาสุทัสสนะ.



[๑๖๙] ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง คฤหบดีแก้ว ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ. คฤหบดีแก้วนั้นปรากฏว่า มีจักษุเป็นทิพย์ซึ่งเกิดแต่ผลแห่งกรรม อาจเห็นขุมทรัพย์ ทั้งที่มีเจ้าของ และไม่มีเจ้าของ. คฤหบดีแก้วนั้นเข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ พระองค์จงมีความขวนขวายน้อย ข้าพระพุทธเจ้าจัก กระทำ หน้าที่เรื่องทรัพย์ด้วยทรัพย์ของพระองค์. ดูกรอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้ามหาสุทัสสนะเมื่อจะทรงทดลองคฤหบดีแก้วนั้นแหละ ได้เสด็จลงเรือตัดข้าม กระแสน้ำไปกลางแม่น้ำคงคา แล้วตรัสกะคฤหบดีแก้วว่า คฤหบดี เราต้องการเงิน และทอง. คฤหบดีแก้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น จงเทียบเรือเข้าไป ริมตลิ่ง ข้างหนึ่ง. ดูกรคฤหบดี เราต้องการเงินและทองที่นี่. ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น คฤหบดีแก้วนั้นเอามือทั้งสองจุ่มน้ำลงไปยกหม้อ อันเต็มด้วย เงิน และทองขึ้นมา แล้วกราบทูลพระเจ้ามหาสุทัสสนะว่า ขอเดชะ เท่านี้พอละ เท่านี้เป็นอันทำแล้ว ? พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ตรัสอย่างนี้ว่า คฤหบดี เท่านี้พอละ เท่านี้เป็นอันทำแล้ว เท่านี้เป็นอันบูชาแล้ว ดังนี้.ดูกรอานนท์ คฤหบดีแก้วเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ.



[๑๗๐] ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ปริณายกแก้ว ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหา สุทัสสนะ. ปริณายกแก้วนั้นเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญาสามารถเพื่อยังพระเจ้า มหาสุทัสสนะ ให้ดำเนินเข้าไปยังที่ที่ควรเข้าไป ให้หลีกไปยังที่ที่ควรหลีกไป หรือให้ทรงยับยั้ง ในที่ที่ควรยับยั้ง.

ปริณายกแก้วนั้นเข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครองเอง. ดูกรอานนท์ ปริณายกแก้วเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ. ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ.


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์