เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ญาณ ๓ วิชชา ๓ อภิญญา 6 วิชชา ๘ 857
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ญาณ ๓ วิชชา ๓

1. ปุพเพนิวาสา - ระลึกชาติในอดีตได้
2. จุตูปปาตญาณ -ความรู้การอุบัติของสัตว์
3. อาสวักขยญาณ - รู้การทำให้สิ้นอาสวะ



อภิญญา ๖
1. อิทธิวิธิ - มีฤทธิ์ หายตัวได้ เดินบนน้ำ ดำดินได้
2. ทิพพโสต - มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ เสียงเทวดา
3. เจโตปริยญาณ - รู้ใจผู้อื่น รู้ความคิดผู้อื่นได้
4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ - ระลึกชาติย้อนไปในอดีตได้
5. ทิพยจักขุ - มีตาทิพย์ เห็นภพของสัตว์ในอนาคต
6. อาสวักขยญาณ - รู้การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป


วิโมกข์ ๘
1. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป
2. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก
3. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณ เป็นของงาม
4. ผู้บรรลุ อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
5. ผู้ที่บรรลุ วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
6. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
7. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ
8. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ


วิชชา ๘
1 วิปัสสนาญาณ
จิตเป็นสมาธิ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ญาณทัสนะ

2 มโนมยิทธิญาณ
จิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ย่อมตั้งมั่น ย่อมน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูป คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง

3 อิทธิวิธญาณ
มีฤทธิ์ไม่มีประมาณ คนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทำให้ปรากฏได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุกำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด

4 ทิพยโสตญาณ
หูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ไม่มีประมาณ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ย่อมตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ

5 เจโตปริยญาณ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ใจของสัตว์ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตเป็นจิต หลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

6 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
รู้อดีตชาติไม่มีประมาณ รู้อายุแต่ละภพ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อระลึกชาติก่อนได้ ชาติหนึ่ง.. แสนชาติบ้าง.. ว่าในภพโน้นเรามีชื่อ มีโคตรอย่างนั้น

7 จุตูปปาตญาณ
ทิพย์จักษุ-เห็นการจุติและอุบัติ หรือตกทุกข์ เข้าถึงนรก หรือ สววรค์  เมื่อจิตเป็นสมาธิ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

8 อาสวักขยญาณ
รู้ชัดซึ่งทุกข์ สมุทัยนิโรธ รู้ว่าจิตหลุดพ้น รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

 
 



วิชชา ๓


1. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ - ระลึกชาติย้อนไปในอดีตได้
2. จุตูปปาตญาณ -ความรู้การจุติ(เคลื่อน-การเกิด) และการอุบัติของสัตว์
3. อาสวักขยญาณ - รู้การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป



อภิญญา ๖


1. อิทธิวิธิ - มีฤทธิ์ เช่น หายตัว เหาะได้ เดินบนน้ำ ดำดินได้
2. ทิพพโสต - มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ เสียงเทวดา
3. เจโตปริยญาณ - รู้ใจผู้อื่น รู้ความคิดผู้อื่นได้
4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ - ระลึกชาติย้อนไปในอดีตได้
5. ทิพพจักขุ - มีตาทิพย์ เห็นภพของสัตว์ในอนาคต
6. อาสวักขยญาณ - รู้การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป



วิโมกข์ ๘

1. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป
2. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก
3. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณ เป็นของงาม
4. ผู้บรรลุ อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
5. ผู้ที่บรรลุ วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
6. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
7. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ
8. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ



วิชชา ๘


1 วิปัสสนาญาณ
จิตเป็นสมาธิ ไม่มีกิเลส ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว เปรียบเหมือนช่างเจียรใน ที่เจียรแก้วอัน งามสมส่วนบริสุทธิ์ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ญาณทัสนะ

2 มโนมยิทธิญาณ
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ย่อมตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ นิรมิตรูป คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เหมือนบุรุษชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดว่า นี้ดาบ นี้ฝัก

3 อิทธิวิธญาณ
มีฤทธิ์ไม่มีประมาณ เหมือนช่างทองจะขึ้นรูปแบบใดก็ทำได้ เมื่อจิตเป็นสมาธิไม่หวั่น ไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี คือ คนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทำให้ปรากฏได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ ไม่ติดขัด

4 ทิพยโสตญาณ
หูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ไม่มีประมาณ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ย่อมตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้

5 เจโตปริยญาณ
เมื่อจิตเป็นสมาธิตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ เจโตปริยญาณ ย่อมรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่น คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมี โทสะ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตเป็นจิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

6 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
รู้อดีตชาติไม่มีประมาณ รู้อายุแต่ละภพ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก ชาติหนึ่ง.. แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป ว่าในภพโน้นเรามีโคตรอย่างนั้น

7 จุตูปปาตญาณ
ทิพย์จักษุ-เห็นการจุติและอุบัติ หรือตกทุกข์ เข้าถึงนรกหรือสววรค์ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ตั้งมั่น ย่อมน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เห็นหมู่สัตว์ที่ กำลัง จุติ กำลังอุปบัติ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

8 อาสวักขยญาณ
รู้ชัดซึ่งทุกข์ สมุทัยนิโรธ รู้ว่าจิตหลุดพ้น รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เมื่อจิตเป็นสมาธิ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตาม เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์