เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  สัมผัปปลาวาท(เพ้อเจ้อ) ระดับครูบาอาจารย์ ไม่เคยเห็นพรหม และไม่รู้ว่าพรหมอยู่ที่ไหน
  แต่มีคำสอนว่า สามารถไปถึงเทวดาชั้นหรหมได้ เป็นสหายพรหมได้
819
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

คำพูดเพ้อเจ้อ ของพราหมณ์และฤาษี (ระดับครูบาอาจารย์)

พระผู้มีพระภาค ตรัสกับ วาเสฏฐะ กล่าวถึงการบัญญัติในเรื่องทาง(ข้อปฏิบัติ) ที่แตกต่างของบรรดา พราหมณ์ ทั้งหลาย ต่างก็อ้างว่า ทางของตน สามารถทำให้ไปถึงเทวดาชั้นพรหมได้ เป็นสหายของ พรหมได้

พระผู้มีพระภาค ทรงถามว่า จะมีพราหมณ์ไตรเพทคนไหน มีอาจารย์คนไหน มีประธานอาจารย์คนไหน หรือ อาจารย์ที่สืบกันมาถึงเจ็ดชั่วของพราหมณ์(7ชั่วโคตร) คนไหนบ้าง ที่เคยเห็นพรหม

วาเสฏฐะ ตอบว่า “ ข้อนั้นหามีไม่พระโคดม! (ไม่มี)

วาเสฏฐะ ! ในบรรดาฤาษีเก่าแก่ทั้งหลาย ผู้ได้ประกอบมนต์ขึ้น(คำสอน คำสวด) บอกกล่าวแก่พราหมณ์ ไตรเพท ทั้งหลาย ให้ขับตาม ให้กล่าวตาม ให้สวดตาม ให้บอกตาม กันสืบๆมา จนกระทั่งกาลนี้ มีฤาษีสักตนหนึ่ง ไหม ในบรรดาฤาษีเหล่านั้น ที่กล่าวยืนยันอยู่ว่า เรารู้ เราเห็นว่าพรหมอยู่ที่ไหน ด้วยอาการอย่างไร ณ ที่ใด ดังนี้?

“ ข้อนั้นหามีไม่พระโคดม!”

วาเสฏฐะ ! เมื่อไม่มีพราหมณ์ อาจารย์ของพราหมณ์ หรือฤาษี ว่าเคยเห็นพรหม แต่กลับแสดงหนทาง (ข้อประพฤติปฏิบัติ) ไปสู่ความเป็นสหายแห่งพรหม อยู่ดังนี้ ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คำกล่าวของ พราหมณ์ ผู้ไม่รู้ไม่เห็นพรหม จะมากล่าวแสดงหนทาง ไปสู่ความเป็นสหายกับพรหม ดังนี้นั้น นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่จะมีได้

สรุปว่า... พวกพราหมณ์ และฤาษี ที่บัญญัติคำสอนของตน ว่าสามารถไปถึงเทวดาชั้นพรหมได้ เป็นสหายของ พรหมได้ จึงเป็นเรื่องเหลวไหล เป็นคำพูดเพ้อเจ้อ เพราะไม่มีใครที่เคยเห็นพรหม และไม่รู้ว่าพรหมอยู่ที่ไหน

 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย
หน้า 1073

หมวด ค. ว่าด้วยโทษของการขาดสัมมาวาจา

ตัวอย่างแห่งสัมผัปปลาวาท(เพ้อเจ้อ)ระดับครูบาอาจารย์
ตัวอย่างประการที่
 

"พระโคดมผู้เจริญ ! ในเรื่องทาง หรือมิใช่ทาง นั้น แม้พราหมณ์ทั้งหลายจะบัญญัติไว้ ต่างๆกัน คือพวกอัทธริยพราหมณ์ ก็บัญญัติพวกติตติริยพราหมณ์ ก็บัญญัติ พวกฉัน โทกพราหมณ์ ก็บัญญัติ พวกพัวหริธาพราหมณ์ ก็บัญญัติ แต่ทางทั้งหมดนั้นก็ล้วนแต่ เป็นทางนำออก สามารถนำผู้ปฏิบัติตามทางนั้นไปสู่ความเป็นสหาย แห่งพรหม ได้ เปรียบเสมือนทางต่างๆ มีเป็นอันมาก ใกล้บ้าน ใกล้เมือง ก็ล้วนแต่ไปประชุมกัน ที่บ้านแห่งหนึ่งทุกๆทาง ฉันใด ก็ฉันนั้น".

วาเสฏฐะ ! ในบรรดาพราหมณ์ไตรเพททั้งหลายเหล่านั้น มีพราหมณ์สักคนหนึ่งไหม ที่ได้เห็นพรหมโดยประจักษ์ ?

“ข้อนั้นหามีไม่พระโคดม!”


วาเสฏฐะ ! ถ้าอย่างนั้น มีอาจารย์สักคนหนึ่งไหม ของพราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ที่ได้เห็นพรหมโดยประจักษ์?

“ ข้อนั้นหามีไม่พระโคดม!”


วาเสฏฐะ ! ถ้าอย่างนั้น มีประธานอาจารย์แห่งอาจารย์สักคนหนึ่งของ พราหมณ์ ไตรเพทเหล่านั้นไหม ที่ได้เห็นพรหมโดยประจักษ์?

“ ข้อนั้นหามีไม่พระโคดม!”


วาเสฏฐะ ! มีอาจารย์ที่สืบกันมาถึงเจ็ดชั่ว ของพราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น สักคนหนึ่ง ไหม ที่ได้เห็นพรหมโดยประจักษ์?

“ ข้อนั้นหามีไม่พระโคดม!”


วาเสฏฐะ ! ในบรรดาฤษีเก่าแก่ทั้งหลาย คือ ฤษีอัฏฐกะ ฤษีวามกะฤษีวามกะ ฤษีวามเทวะ ฤษีเวสสามิตตะ ฤษียมตัคคี ฤษีอังคีรสะ ฤษีภาร-ท๎วาชะ ฤษีวาเสฏฐะ ฤษีกัสสปะ ฤษีภคุ ผู้ได้ประกอบมนต์ขึ้น บอกกล่าวแก่พราหมณ์ ไตรเพททั้งหลาย ให้ขับตาม ให้กล่าวตาม ให้สวดตาม ให้บอกตาม กันสืบๆมา จนกระทั่งกาลนี้ เหล่านั้น

มีฤษีสักตนหนึ่งไหมในบรรดาฤษีเหล่านั้น ที่กล่าวยืนยันอยู่ว่า เรารู้ เราเห็นว่า พรหม อยู่ที่ไหน ด้วยอาการอย่างไร ณ ที่ใด ดังนี้?

“ ข้อนั้นหามีไม่พระโคดม!”


.............................................................................


วาเสฏฐะ ! เมื่อไม่มีพราหมณ์ อาจารย์ของพราหมณ์ หรือฤษีผู้บอกมนต์แก่พราหมณ์ แม้สักคนหนึ่ง ที่เคยเห็นพรหมโดยประจักษ์ แล้วมาแสดงหนทางไปสู่ความเป็นสหาย แห่งพรหม อยู่ดังนี้ ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร

คำกล่าวของพราหมณ์ ไตรเพทเหล่านั้น ย่อมถึงความเป็นคำกล่าวที่ไม่ประกอบด้วย ปาฏิหาริย์ (อปฺปาฏิหิริกตํ) มิใช่หรือ ?

ถูกแล้ว วาเสฏฐะ ! ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ไม่รู้ไม่เห็นพรหม จะมากล่าวแสดง หนทาง ไปสู่ความเป็นสหายกับพรหม ดังนี้นั้น นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

วาเสฏฐะ! เปรียบเหมือนแถวคน ตาบอด เกาะหลังกัน คนต้นแถวก็ไม่เห็นอะไร คนกลางแถว ก็ไม่เห็นอะไร คนปลายแถวก็ไม่เห็นอะไร นี้ฉันใด

วาเสฏฐะ! คำกล่าวของพราหมณ์ ไตรเพททั้งหลาย ก็มีอุปมาเหมือนแถว แห่งคน ตาบอด ฉันนั้นแหละ คือผู้กล่าวพวกแรก ก็ไม่เห็นพรหม ผู้กล่าวพวกต่อมาก็ไม่เห็น พรหม ผู้กล่าวพวกสุดท้ายก็ไม่เห็นพรหม

ดังนั้นคำกล่าวของพวกเขาก็ถึงซึ่งความเป็น คำกล่าว ที่น่าหัว (หสฺสก) คำกล่าวที่ ต่ำต้อย (นามก) คำกล่าวเปล่าๆปลี้ๆ (ริตฺตก)คำกล่าว เหลวไหล (ตุจฺฉก). (นี้เป็นตัวอย่างแห่งสัมผัปปลาปวาท ระดับสูงชนิดที่หนึ่ง)


ตัวอย่างแห่งสัมผัปปลาวาท(เพ้อเจ้อ) ระดับครูบาอาจารย์
ตัวอย่างประการที่
 

วาเสฏฐะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร พราหมณ์ไตรเพททั้งหลาย ก็มองเห็น ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์อยู่ ชนเหล่าอื่นเป็นอันมากก็มองเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อยู่ ว่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ขึ้นมาจากทิศไหน ตกลงไปทางทิศไหน พากันอ้อนวอนอยู่ ชมเชยอยู่ ประนมมือ นมัสการเดินเวียนรอบๆอยู่

"
แน่แล้วพระโคดม ! เมื่อเป็นเช่นนั้น คำกล่าวของพราหมณ์ไตรเพท เหล่านั้น ย่อมถึงความเป็นคำกล่าวที่ไม่ประกอบด้วย ปาฏิหาริย์" ด้วยกันทั้งสองพวก มิใช่หรือ ? “อย่างนี้แหละพระโคดม !”

วาเสฏฐะ ! ท่านจะสำคัญคความข้อนี้ว่าอย่างไร เมื่อพวกพราหมณ์ไตรเพท ก็เห็น พวกชนเหล่าอื่นเป็นอันมาก ก็เห็น ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ด้วยกันทั้งสองพวกอยู่ดังนี้

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์