เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ปสาทกรธัมมาทิบาลี ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เจริญฌาน เมตตาจิต สติปัฏฐาน๔ 785
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ปสาทกรธัมมาทิบาล

ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร
   ย่อมเจริญฌาน (๑ ๒ ๓ ๔) เจริญเมตตาจิต เจริญสติปัฏฐาน๔  สัมมัปทาน๔ อิทธิบาท๔
   อินทรีย์๕  พละ๕  เจริญสัมโพชฌงค์๗ เจริญมรรคแปด

ภิกษุย่อมเป็นผู้มีความเข้าใจ
   เข้าใจ รูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ย่อมเยา
   เข้าใจ รูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไม่มีประมาณ
   เข้าใจ อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ย่อมเยา
   เข้าใจ อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไม่มีประมาณ
   เข้าใจ อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว
   เข้าใจ อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง
   เข้าใจ อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่แดง
   เข้าใจ อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว
   เข้าใจ อรูปภายใน ย่อมเห็นรูปภายนอก

ภิกษุย่อมบรรลุ
   ภิกษุบรรลุ อากาสานัญจายตน โดยมนสิการว่าอากาศไม่มีที่สุด
   ภิกษุบรรลุ วิญญาณัญจายตน โดยมนสิการว่าวิญญาณไม่มีที่สุด
   ภิกษุบรรลุ อากิญจัญญายตน โดยมนสิการว่าสิ่งอะไรไม่มี
   ภิกษุบรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตน
   ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตน โดยประการทั้งปวงแล้ว ได้บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ

ภิกษุย่อม
เจริญกสิณ เจริญสัญญา ๑๐ ประการ เจริญอนุสติ ๖ เจริญสติ เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคต ด้วยปฐมฌาน ด้วยทุติยฌาน ด้วยอุเบกขา

ภิกษุย่อม เจริญกายคตาสติ
   ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมบริโภค อมตะ
   ชนเหล่าใด ไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้น ชื่อว่าไม่ประมาท อมตะ

 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๓๙ – ๔๕


ปสาทกรธัมมาทิบาลี


         [๒๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ความเป็นผู้ถือเที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตร ความเป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ความเป็นผู้ถือทรงไตรจีวร ความเป็นพระธรรมกถึก ความเป็นพระวินัยธร ความเป็นผู้มีพระพุทธพจน์อันได้สดับ แล้วมาก ความเป็นผู้มั่นคง อากัปปสมบัติ บริวารสมบัติ ความเป็นผู้มีบริวารมาก ความเป็นกุลบุตร ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม ความเป็นผู้เจรจาไพเราะ ความเป็นผู้ มักน้อย ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย นี้เป็นกึ่งหนึ่งของลาภ

         [๒๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญปฐมฌานแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติ ตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะป่วยกล่าวไปไย ถึงผู้กระทำให้มาก ซึ่งปฐมฌานนั้นเล่า

         [๒๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย (เจริญฌาน ๑ ๒ ๓ ๔) ถ้าภิกษุผู้ เจริญทุติยฌาน แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ  ... เจริญตติยฌาน  ... เจริญจตุตถฌาน  ...

(เจริญเมตตาจิต)
เจริญเมตตาเจโตวิมุติ  ... เจริญกรุณาเจโตวิมุติ ...  เจริญมุทิตาเจโตวิมุติ  ... เจริญอุเบกขาเจโตวิมุติ ...

(เจริญสติปัฏฐาน ๔)
พิจารณากายในกายอยู่ พึงเป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลก ...  พิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ...  พิจารณาจิตในจิตอยู่ ...  พิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ...  ยังฉันทะให้เกิด

(สัมมัปทาน ๔)
พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามก ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ...  ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้เพื่อละอกุศลธรรมอันลามก ที่เกิดขึ้นแล้ว ...   ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ---ความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ...ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฝือ เพื่อความมีมาก เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ... 

(อิทธิบาท ๔)
เจริญอิทธิบาท ที่ประกอบด้วย ฉันทสมาธิปธานสังขาร ... 
เจริญอิทธิบาทที่ประกอบ ด้วย วิริยสมาธิปธานสังขาร ... 
เจริญอิทธิบาท ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ...
เจริญอิทธิบาท ที่ประกอบด้วย วิมังสาสมาธิปธานสังขาร ...

(อินทรีย์ ๕)
เจริญสัทธินทรีย์... เจริญวิริยินทรีย์ ...เจริญสตินทรีย์ ...เจริญสมาธินทรีย์ ...  เจริญปัญญินทรีย์.. 

(พละ ๕)
เจริญสัทธาพละ ...  เจริญวิริยพละ ...เจริญสติพละ ...  เจริญสมาธิพละ ...  เจริญปัญญาพละ ... 

(เจริญ สัมโพชฌงค์ ๗)
เจริญสติสัมโพชฌงค์...  เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...  เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...  เจริญปีติสัมโพชฌงค์... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...  เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์... 

(เจริญมรรคแปด)
เจริญสัมมาทิฏฐิ ... เจริญสัมมาสังกัปปะ ...เจริญสัมมาวาจา ... เจริญสัมมากัมมันตะ ...  เจริญสัมมาอาชีวะ ...  เจริญสัมมาวายามะ ...  เจริญสัมมาสติ...

ถ้าภิกษุเจริญสัมมาสมาธิ แม้ชั่วกาลเพียง ลัดนิ้วมือ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่าง จากฌาน ทำตามคำสอน ของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาต ของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งสัมมาสมาธิเล่า
............................................................................................................

         [๒๑๐] ภิกษุผู้มีความเข้าใจ รูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ย่อมเยา  มีวรรณะดี หรือวรรณะทรามเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ดังนี้ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตาม คำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาต ของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มาก ซึ่งความเข้าใจนั้นเล่า

         [๒๑๑] ภิกษุผู้มีความเข้าใจใน รูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไม่มีประมาณ มีวรรณะดีหรือมีวรรณะทรามเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจ เช่นนี้ว่าเรารู้ เราเห็น

         [๒๑๒] ภิกษุผู้มีความเข้าใจใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ย่อมเยา มีวรรณะ ดี หรือวรรณะทรามเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น

         [๒๑๓] ภิกษุผู้มีความเข้าใจ อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไม่มีประมาณ มีวรรณะดี หรือมีวรรณะทรามเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจ เช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น

         [๒๑๔] ภิกษุผู้มีความเข้าใจ อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีแสงเขียวเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้เราเห็น

         [๒๑๕] ภิกษุผู้มีความเข้าใจ อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีแสงเหลืองเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่าเรารู้ เราเห็น

         [๒๑๖] ภิกษุผู้มีความเข้าใจ อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่แดง มีสีแดง  เปรียบด้วยของแดง มีแสงแดงเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้เราเห็น

        [๒๑๗] ภิกษุผู้มีความเข้าใจ อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว  เปรียบด้วยของขาว มีแสงขาวเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ...  ภิกษุผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ฯ

         [๒๑๘] ภิกษุผู้มีความเข้าใจ อรูปภายใน ย่อมเห็นรูปภายนอก ...  ภิกษุย่อมเป็นผู้น้อมใจไปว่างามเท่านั้น
............................................................................................................

(อรูป)
         [๒๑๙] ภิกษุบรรลุ อากาสานัญจายตน ฌานดยมนสิการว่า อากาศไม่มี ที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่ ใส่ใจซึ่งสัญญาต่างๆอยู่

         [๒๒๐] ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว ได้บรรลุ วิญญาณัญจายตน ฌาน โดยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด

         [๒๒๑] ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว  ได้บรรลุ อากิญจัญญายตน ฌาน โดยมนสิการว่า สิ่งอะไรไม่มี

         [๒๒๒] ภิกษุก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว  ได้บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตน ฌาน

         [๒๒๓] ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว ได้บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ
............................................................................................................

(เจริญกสิณ)
         [๒๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญปฐวีกสิณ แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะป่วยกล่าวไปไย
ถึงผู้กระทำให้มากซึ่ง ปฐวีกสิณ นั้นเล่า ถ้าภิกษุ เจริญอาโปกสิณ ...  เจริญเตโชกสิณ... เจริญวาโยกสิณ ... เจริญนีลกสิณ ...  เจริญโลหิตกสิณ ...เจริญโอทาตกสิณ... เจริญอากาสกสิณ ...  เจริญวิญญาณกสิณ ...(ไม่มีปีตกสิณ)

(เจริญสัญญา ๑๐ ประการ พิจารณาอสุภ)
เจริญอสุภสัญญา ...  เจริญมรณสัญญา ...  เจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา ...  เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ...เจริญอนิจจสัญญา ... เจริญอนิจเจทุกขสัญญา ...  เจริญทุกเขอนัตตสัญญา ...  เจริญปหานสัญญา ...  เจริญวิราคสัญญา ...
เจริญนิโรธสัญญา...

(เจริญสัญญา ๑๐ประการ อีกนัยยะ)
เจริญอนิจจสัญญา...เจริญอนัตตสัญญา... เจริญมรณะสัญญา... 
เจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา ... เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ... เจริญอัฎฐิกสัญญา ... เจริญปุฬุวกสัญญา ...เจริญวินีลกสัญญา ...  เจริญวิจฉิททกสัญญา ...  เจริญอุทธุมาตกสัญญา ... 

(เจริญอนุสติ ๖)
เจริญพุทธานุสสติ ...เจริญธัมมานุสสติ ...  เจริญสังฆานุสสติ ...  เจริญสีลานุสสติ ...เจริญจาคานุสสติ ...  เจริญเทวตานุสสติ ... 

(เจริญสติ)
เจริญอานาปานสติ ...  เจริญมรณสติ ...เจริญกายคตาสติ ..เจริญอุปสมานุสสติ ...

เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคต ด้วยปฐมฌาน เจริญวิริยินทรีย์ ...  เจริญสตินทรีย์ ...  เจริญสมาธินทรีย์...เจริญปัญญินทรีย์ ... เจริญสัทธาพละ ...  เจริญวิริยพละ ... เจริญสติพละ ...  เจริญสมาธิพละ ...เจริญปัญญาพละ ... 

เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคต ด้วยทุติยฌาน ฯลฯ
เจริญสัทธินทรีย์ อันสหรคตด้วยตติยฌาน ฯลฯ
เจริญสัทธินทรีย์ อันสหรคต ด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ
เจริญสัทธินทรีย์ อันสหรคด้วยกรุณา ฯลฯ
เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยมุทิตา ฯลฯ

เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคต ด้วยอุเบกขา ... เจริญวิริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ...เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... เจริญสัทธาพละ ... เจริญวิริยพละ ... เจริญสติพละ ...เจริญสมาธิพละ ... เจริญปัญญาพละ แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอน ของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วยกล่าวไปไย ถึงผู้กระทำให้มาก ซึ่งปัญญาพละ อันสหรคตด้วยอุเบกขาเล่า

............................................................................................................

(เจริญกายคตาสติ)
         [๒๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลง ในภายในของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทร อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถูกต้องด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้นฉะนั้น

         [๒๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งซึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อความสังเวชใหญ่ เป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่ เป็นไปเพื่อความเกษม จากโยคะใหญ่เป็นไปเพื่อสติ และสัมปชัญญะ เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุตติ ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือกายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้ แลบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ สังเวชใหญ่ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์ใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อสติ และสัมปชัญญะ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ

         [๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบธรรม ที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา แม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญบริบูรณ์ ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือกายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา แม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญบริบูรณ์

         [๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และอกุศลธรรมขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้

         [๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่งธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือกายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง

         [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัสมิมานะ เสียได้อนุสัย ย่อมถึงความเพิกถอนย่อมละสังโยชน์เสียได้ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัสมิมานะ เสียได้อนุสัย ย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้

         [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความ แตกฉาน แห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

         [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แลบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมี การแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉาน ในธาตุมากหลาย

         [๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำ สกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำ อรหัตผล ให้แจ้ง ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แลบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผล ให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง

         [๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคม ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส

............................................................................................................

         [๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมไม่บริโภคอมตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดบริโภคกายคตาสติชน เหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมบริโภค อมตะ

         [๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่บริโภคแล้ว อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่บริโภคแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดบริโภคแล้ว อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้นบริโภคแล้ว

         [๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติของชนเหล่าใดเสื่อมแล้ว อมตะของ ชน เหล่านั้นชื่อว่าเสื่อมแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติของชนเหล่าใดไม่เสื่อมแล้ว อมตะ ของชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่เสื่อมแล้ว

         [๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้นเบื่อแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดชอบใจแล้ว อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้นชอบใจแล้ว

         [๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ประมาทอมตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้น ชื่อว่าไม่ประมาท อมตะ

         [๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดหลงลืม อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้นหลงลืม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่หลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่หลงลืม

         [๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ซ่องเสพแล้ว อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ซ่องเสพแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใด ซ่องเสพแล้ว อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้นซ่องเสพแล้ว

         [๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่เจริญแล้ว อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้นไม่เจริญแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดเจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเจริญแล้ว

         [๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้มากแล้ว อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้มากแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใด ทำให้มากแล้ว อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้มากแล้ว

         [๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้นรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

         [๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่กำหนดรู้แล้ว อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่กำหนดรู้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใด กำหนดรู้แล้ว อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้นกำหนดรู้แล้ว

         [๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้แจ้งแล้ว อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้แจ้งแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใด ทำให้แจ้งแล้ว อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้แจ้งแล้ว

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์