เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 รวม ทุกขสูตร ..ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นธาตุที่มีทุกข์เข้าไปถึง หยั่งลงถึง จึงไม่ควรยินดีในธาตุเหล่านั้น 678
 
  (เนื้อหาพอสังเขป)

ทุกขสูตร ..
1. ปฐวีธาตุนี้ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เป็นธาตุที่มีทุกข์เข้าไปถึง ติดตามถึงหยังลงถึง จึงไม่ควรยินดี พึงเบื่อหน่ายธาตุเหล่านั้น
2. รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นทุกข์ ขันธ์5 เป็นทุกข์
3. รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.
4. สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอควรละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย... พึงละความพอใจ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือขันธ์ 5 เป็นทุกข์
5 ทุกข์เป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ
6.รูปในปัจจุบันเป็นทุกข์ รูปในอดีต รูปในอนาคตเป็นทุกข์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ..ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นทุกข์
7. ทุกข์เกิดเพราะผัสสะ คืออาศัยจักษุ อาศัยรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม 3 ประการเรียก ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ
8. รูปที่เป็นอดีตเป็นทุกข์... สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา...
9.ผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสา..
10.ผู้ประกอบด้วยธรรม ธรรม ๖ ประการ ย่อมอยู่เป็นสุข คือ เนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก เนกขัมมสัญญา...

(สัมมาสังกัปปะ- ดำริชอบ) คือ ดำริที่จะทิ้งความคิดอกุศล
1.เนกขัมมะวิตก คือดำริออกจากกาม ออกจากความโลภ ไม่เห็นแก่ตัว มีจิตที่ปราศจาก ราคะ โลภะ
2.อพยาปาทวิตก คือดำริอันไม่พยาบาท ไม่เคียดแค้น ชิงชัง ไม่มุ่งร้าย .. ตรงข้ามคือ เมตตา กรุณา
3.อวิหิงสาวิตก ดำริไม่เบียดเบียน ไม่คิดทำร้าย
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๒



๕. ทุกขสูตร

       [๔๑๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุนี้(ธาตุดิน) จักมี ทุกข์ โดยส่วนเดียว
อัน ทุกข์ ติดตามถึง
อัน ทุกข์ หยั่งลงถึง
อัน สุข ไม่หยั่งลงถึง แล้วไซร้
สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงยินดีในปฐวีธาตุ

แต่เพราะ ปฐวีธาตุ
อัน สุข ติดตามถึง
อัน สุข หยั่งลงถึง
อัน ทุกข์ ไม่หยั่งลงถึง
ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีใน ปฐวีธาตุนี้ ... อาโปธาตุนี้ ...เตโชธาตุนี้ ... วาโยธาตุนี้ จักมีทุกข์โดยส่วนเดียว
อัน ทุกข์ ติดตามถึง
อัน ทุกข์ หยั่งลงถึง
อัน สุข ไม่หยั่งลงถึง แล้วไซร้

สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงยินดีใน วาโยธาตุ(ธาตุลม) แต่เพราะวาโยธาตุ อันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์ไม่หยั่งลงถึง ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงยินดีใน วาโยธาตุ

..................................................................................................................................

       [๔๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุ นี้ จักมี สุข โดยส่วนเดียว
อัน สุข ติดตามถึง
อัน สุข หยั่งลงถึง
อัน ทุกข์ ไม่หยั่งลงถึงแล้วไซร้
สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่าย จากปฐวีธาตุ

แต่เพราะปฐวีธาตุมีทุกข์ อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึง

ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายจากปฐวีธาตุ อาโปธาตุนี้ ... เตโชธาตุนี้ ... วาโยธาตุนี้ จักมีสุขโดยส่วนเดียว อันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์ไม่หยั่ง ลงถึงแล้วไซร้

สัตว์ทั้งหลาย ก็ไม่พึงเบื่อหน่าย จากวาโยธาตุ แต่เพราะวาโยธาตุ มีทุกข์ อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึง ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่ายจากวาโยธาตุ ดังนี้

.............................................................................................................................................................

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค หน้าที่ ๒๐



๒. ทุกขสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ ๕

 

       [๔๐] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


หน้าที่ ๒๑

๕. ทุกขสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ ๕

       [๔๓] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยสัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ เวทนาเป็นทุกข์ ฯลฯ สัญญาเป็นทุกข์ ฯลฯ สังขารเป็นทุกข์ ฯลฯ วิญญาณเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว  เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


หน้า ๗๖

๕. ทุกขสูตร

ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่เป็นทุกข์

       [๑๔๓] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ. ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาส โปรดแสดงพระธรรมเทศนา โดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว ฯลฯ มีใจมั่นคงอยู่เถิด

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ สิ่งใดแลเป็นทุกข์ เธอควรละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ทราบแล้ว

พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารได้ อย่างไรเล่า?

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นทุกข์ ข้าพระองค์ ควรละความพอใจในสิ่งนั้นๆ เสีย. ข้าพระองค์รู้ซึ้งถึงอรรถแห่งพระดำรัส ที่พระผู้มี พระภาคตรัสแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้แล

พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดาร อย่างดีแล้ว

ดูกรภิกษุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นทุกข์ ควรละความพอใจ ในสิ่งนั้นๆ เสีย. เธอพึงทราบอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดาร อย่างนี้เถิด ฯลฯ

ภิกษุรูปนั้น ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

หน้า ๑๕๐

๒. ทุกขสูตร
ว่าด้วยอริยสัจธรรม

 

       [๒๗๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.

       [๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์เป็นไฉน? คำว่า ทุกข์นั้น ควรจะกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป๑ อุปาทานขันธ์คือเวทนา๑ อุปาทานขันธ์คือสัญญา๑ อุปาทานขันธ์คือสังขาร๑ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกข์

       [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยเป็นไฉน? คือ ตัณหาอันนำให้เกิดในภพใหม่ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์นั้นๆ. คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.

       [๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธเป็นไฉน? คือความดับโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั่นแล ด้วยมรรค คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่มีความอาลัย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

       [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน? คืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

หน้าที่ ๑๗๓

๕. ทุกขสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการละ
ฉันทะ ในสิ่งที่เป็นทุกข์

       [๓๓๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งที่ เป็นทุกข์เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ ในรูปนั้นเสีย

เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ ในวิญญาณนั้นเสีย

๖. ทุกขสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการละ ราคะ ในสิ่งที่เป็นทุกข์

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่ง ที่เป็นทุกข์รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...วิญญาณ เป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละราคะในวิญญาณ นั้นเสีย

หน้า ๑๗๔

๗. ทุกขสูตรที่ ๓
ว่าด้วยการละ
ฉันทราคะ ในสิ่งที่เป็นทุกข์

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะ ในรูปนั้นเสีย

       เวทนา ... สัญญา ...สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละ ฉันทราคะในวิญญาณนั้นเสีย

หน้า ๑๙๕


๕. ทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์

       [๓๘๑] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ทุกข์ ทุกข์ ดังนี้ อะไรหนอเป็นทุกข์?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์

ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี

……………………………………….................................................................................................………………….

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค หน้าที่ ๒



อัชฌัตติกทุกขสูตร

           [๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม  เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

หู เป็นทุกข์ ฯลฯ จมูกเป็นทุกข์ ฯลฯ ลิ้นเป็นทุกข์ ฯลฯ กายเป็นทุกข์ ฯลฯ ใจเป็น ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย  พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ

หน้าที่ ๓

พาหิรทุกขสูตร

       [๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา  สิ่งใดเป็น อนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา  สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ... ฯ

หน้า ๘

อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร

       [๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าว ไปไยถึงจักษุ ที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในจักษุ ที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลาย กำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่เป็น  อดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าวไปไยถึงใจที่เป็นปัจจุบันเล่า

อริยสาวกผู้ได้ สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจ ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจที่เป็นปัจจุบัน

หน้า ๘๙

ทุกขสูตร

       [๑๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์  เธอทั้งหลาย จงฟัง ก็ความเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน ความเกิดแห่งทุกข์นั้น

คืออาศัยจักษุ และรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรมทั้ง ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา นี้เป็น ความเกิดแห่งทุกข์ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา นี้แลเป็นความเกิดแห่งทุกข์ ฯ

       [๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน ความดับแห่งทุกข์นั้น คืออาศัย จักษุ และรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับ เพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับเพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์

หน้า ๑๖๙

ทุกขสูตรที่ ๑

       [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... จมูกที่เป็นอดีต เป็นทุกข์ ...ลิ้นที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... กายที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... ใจที่เป็นอดีต เป็นทุกข์

สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

ทุกขสูตรที่ ๒

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ข้อนี้พึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ... จมูกที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ... ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ... กายที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ... ใจที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

หน้า ๑๗๐

ทุกขสูตรที่ ๓

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเราข้อนี้พึง เห็นด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ...จมูกที่เป็นปัจจุบัน เป็นทุกข์ ... ลิ้นที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ... กายที่เป็นปัจจุบัน เป็นทุกข์ ... ใจที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

หน้า ๑๗๓

ทุกขสูตรที่ ๔

       [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... กลิ่นที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ...รสที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... โผฏฐัพพะที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตเป็นทุกข์สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

ทุกขสูตรที่ ๕


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา   ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ... กลิ่นที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ...รสที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ... โผฏฐัพพะที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

ทุกขสูตรที่ ๖

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอัน ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ... กลิ่นที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ...รสที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ...โผฏฐัพพะที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ฯลฯกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

.............................................................................................................................................................

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต หน้า ๓


๓. ทุกขสูตร

       [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน คับแค้น เร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อแตกกายตายไปพึงหวังได้ ทุคติ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ เกียจคร้าน ๑ มีปัญญาทราม ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แลย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน คับแค้น เร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อแตกกายตายไปพึงหวังได้ทุคติ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมอยู่เป็นสุขไม่เดือดร้อน ไม่คับแค้น ไม่เร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อแตกกายตายไปพึงหวังได้สุคติ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ๑มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ ปรารภความเพียร ๑มีปัญญา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นสุขไม่เดือดร้อน ไม่คับแค้น ไม่เร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อแตกกายตายไปพึงหวังได้สุคติ ฯ

หน้า ๑๓๒

๘. สมณทุกขสูตร

       [๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของสมณะมี ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
   เป็นผู้ไม่สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ๑
   ไม่สันโดษด้วยบิณฑบาต ตามมีตามได้ ๑
   ไม่สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ๑
   ไม่สันโดษด้วยคิลานปัจจัย เภสัชบริขารตามมีตามได้ ๑
   ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของสมณะ ๕ ประการนี้แล ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขของสมณะ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ๑
    เป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้๑
    เป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ๑
    เป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ ๑
    ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขของสมณะ ๕ ประการนี้แล ฯ

.............................................................................................................................................................

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต หน้าที่ ๓๘๒


อรหันตวรรคที่ ๓
๑. ทุกขสูตร


       [๓๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมอยู่เป็น ทุกข์ มีความเดือดร้อน คับแค้น เร่าร้อนในปัจจุบันเทียว เมื่อตายไป พึงหวังได้ทุคติ

ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ กามวิตก ๑ พยาบาทวิตก ๑วิหิงสาวิตก ๑ กามสัญญา ๑ พยาบาทสัญญา ๑ วิหิงสาสัญญา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อนคับแค้น เร่าร้อน ในปัจจุบันเทียว เมื่อตายไป พึงหวังได้ทุคติ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อนไม่คับแค้น ไม่เร่าร้อน ในปัจจุบันเทียว เมื่อตายไป พึงหวังได้สุคติ

ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ เนกขัมมวิตก ๑ อัพยาบาทวิตก ๑ อวิหิงสาวิตก ๑ เนกขัมมสัญญา ๑ อัพยาบาทสัญญา ๑ อวิหิงสาสัญญา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อนไม่คับแค้น ไม่เร่าร้อน ในปัจจุบันเทียว เมื่อตายไป พึงหวังได้สุคติ ฯ

.............................................................................................................................................................

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต หน้าที่ ๑๓

ทุกขสูตร

       [๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้  เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า 

๗ จำพวกเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นความทุกข์ มีความสำคัญว่าเป็นทุกข์ ทั้งรู้ว่าเป็นทุกข์ ในสังขารทั้งปวง ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับเป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

อนิจจาสูตร (บุคคล ๗ จำพวก)

     [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับ  เป็นผู้ควรของ ต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

๗ จำพวกเป็นไฉน
(อรหันต์ 1+ อนาคามี 6 ประเภท)

    (1) ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีความสำคัญว่าไม่เที่ยง ทั้งรู้ว่าเป็นของไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง ตั้งใจมั่น  ติดต่อกันไปไม่ขาดสายมีปัญญาหยั่งทราบ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ นี้เป็นบุคคลที่ ๑ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ (อรหันต์)

    (2) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยง ...มีปัญญาหยั่งทราบความสิ้นอาสวะ  และความสิ้นชีวิตของเขาไม่ก่อน ไม่หลังกัน นี้เป็นบุคคลที่ ๒ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ อื่นยิ่งกว่า ฯ (อันตราปรินิพายี 1)

    (3) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยง ...มีปัญญาหยั่งทราบเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เขาจักปรินิพพาน ในระหว่าง นี้เป็นบุคคลที่ ๓ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ (อันตราปรินิพายี 2)

   (4) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยง ...มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เขาจักปรินิพพาน ในเมื่ออายุเลยกึ่งนี้ เป็นบุคคลที่ ๔ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ (อันตราปรินิพายี 3)

   (5) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยง ...มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เขาจักปรินิพพาน โดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก นี้เป็นบุคคลที่ ๕ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญ ของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ (อุปหัจจปรินิพายี)

   (6) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยง ...มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เขาจักปรินิพพาน โดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง นี้เป็นบุคคลที่ ๖ เป็นผู้ควรของคำนับ ... เป็นนาบุญ ของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ (อสังขารปรินิพายี)

    (7) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยงมีความสำคัญว่าไม่เที่ยง ทั้งรู้ว่าเป็นของไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง ตั้งใจมั่น ติดต่อกันไปไม่ขาดสาย มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เขาเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบน ไปสู่ อกนิฏฐภพ* นี้เป็นบุคคลที่ ๗ เป็นผู้ควรของ คำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า (สสังขารปรินิพายี)
* สุทธาวาสชั้นสูงสุด

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของ ต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์