เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  เมตตสูตร พรหมวิหาร ๔ 658
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ภิกษุของตถาคค ปราศัยกับ อัญญเดียรถีย์ปริพาชก เรื่องการเจริญด้วยเมตตา ด้วยกรุณา ด้วยมุทิตา ด้วยอุเบกขา(พรหมวิหาร ๔) แผ่ไปในทิศ ภิกษุของตถาคต ไม่พึ่งรับรอง ไม่พึงคัดค้าน และนำคำกล่าว ของปริพาชกมาทูลถามพระพุทธเจ้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถ้าจะถามปริพาชก ต้องถามว่า
เมตตาเจโตวิมุติ.. กรุณาเจโตวิมุตติ.. มุทิตาเจโตวิมุตติ. อุเบกขาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเจริญแล้ว
มีอะไร เป็นคติ (ทางไป) 
มีอะไร เป็นอย่างยิ่ง
มีอะไร เป็นผล
มีอะไร เป็นที่สุด

พวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชก ถูกเธอทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัด อย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเป็นปัญหา ที่ถามในฐานะ มิใช่วิสัย (ที่ปริพาชกพึงรู้ได้)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก ในเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ที่จะยังจิตให้ยินดี ด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากตถาคต หรือจากสาวกของตถาคต

เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันสหรคต (ไปด้วยกัน-ร่วมกัน) ด้วยเมตตาฯลฯ ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคต ด้วยเมตตา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ …กรุณาเจโตวิมุติ มุทิตาเจโตวิมุติ อุเบกขาเจโตวิมุติ ก็เช่นเดียวกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าว เมตตาเจโตวิมุติ ว่า มีสุภวิโมกข์  เป็นอย่างยิ่ง
เรากล่าว กรุณาเจโตวิมุติ ว่ามี อากาสานัญจายตนะ เป็นอย่างยิ่ง
เรากล่าว มุทิตาเจโตวิมุติ ว่ามี วิญญาณัญจายตนะ เป็นอย่างยิ่ง
เรากล่าว อุเบกขาเจโตวิมุติ ว่า มี อากิญจัญญายตนะ เป็นอย่างยิ่ง


 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๐


เมตตสูตร

พรหมวิหาร ๔



          [๕๗๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกลิยะ ชื่อ หลิททวสันนะ ในโกลิยชนบท ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปด้วยกัน เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตร และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังหลิททวสันนนิคม ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น มีความดำริว่า เวลานี้เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตยัง หลิททวสันนนิคม ก่อน ก็ยังเช้านัก ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด.

          [๕๗๔] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น เข้าไปยังอารามของพวก อัญญเดียรถีย์ ปริพาชก ได้ปราศรัยกับ อัญญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้พูดกะ ภิกษุเหล่านั้นว่า

          [๕๗๕] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย อย่างนี้ว่ามาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้ว

          จงมีใจประกอบด้วยเมตตา
แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกันโดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจ ประกอบด้วย เมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหรคตหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียด เบียน แผ่ไป ทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.

          [๕๗๖] จงมีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจ ประกอบด้วย กรุณาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียด เบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่าอยู่เถิด.

          [๕๗๗] จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจ ประกอบด้วย มุทิตาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่าอยู่เถิด.

          [๕๗๘] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจ ประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.

          [๕๗๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย อย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลส ของใจ ทอนกำลังปัญญาแล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ฯลฯ

          [๕๘๐] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจ ประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่าอยู่เถิด.

          [๕๘๑] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของพวกเรานี้ อะไรเป็นความ แปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความแตกต่างกัน ของพระสมณโคดม หรือของพวกเรา คือว่า ธรรมเทศนาของพวกเรากับธรรมเทศนาของ พระสมณโคดม หรืออนุศาสนีของพวกเรากับอนุศาสนีของ พระสมณโคดม.

          [๕๘๒] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูดของ อัญญเดียรถี ย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า เราทั้งหลายจักทราบ เนื้อความแห่งคำพูดนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค.

......................................................................................................................................................

ภิกษุเหล่านั้นเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
(เพื่อนำข้อสงสัยในคำกล่าวของปริพาชกไปทูลถามฯ)

          [๕๘๓] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตใน หลิททวสันนนิคม เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

          [๕๘๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ ทั้งหลายนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังหลิททวสันนนิคม ข้าพระองค์ ทั้งหลายได้มีความดำริว่า เวลานี้ เราจะเที่ยวไปบิณฑบาต ยังหลิททวสันน นิคมก่อน ก็ยังเช้าอยู่ ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด.

          [๕๘๕] ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย เข้าไปยังอาราม ของพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก ได้ปราศรัยกับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้พูดกะ ข้าพระองค์ทั้งหลายว่า.

          [๕๘๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย อย่างนี้ว่ามาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกันโดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจ ประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหรคตหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่าอยู่เถิด.
          [๕๘๗] จงมีใจประกอบด้วยกรุณา ...
          [๕๘๘] จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา ...
          [๕๘๙] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจ ประกอบ ด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.

          [๕๙๐] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย อย่างนี้ว่ามาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ เหมือนกันฯลฯ
          [๕๙๑] จงมีใจประกอบด้วยกรุณา ...
          [๕๙๒] จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา ...
          [๕๙๓] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจ ประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.

          [๕๙๔] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของพวกเรานี้
อะไรเป็นความแปลกกัน
อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง

อะไรเป็นความต่างกัน ของพระสมณโคดม ของหรือพวกเรา คือว่าธรรมเทศนาของ พวกเรา กับธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรือ อนุศาสนีของพวกเรา กับอนุศาสนี. ของพระสมณโคดม.

          [๕๙๕] ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูดของ อัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า เราทั้งหลายจักทราบเนื้อความแห่งคำพูดนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค.

......................................................................................................................................................

(พระผู้มีพระภาคตรัสอธิบาย)

เมตตเจโตวิมุติ มีอะไรเป็นคติ


          [๕๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ผู้มีวาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลายพึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็

เมตตาเจโตวิมุ
ติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
กรุณาเจโตวิมุตติ ... มุทิตาเจโตวิมุตติ ... อุเบกขาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างไร...
   มีอะไร
เป็นคติ (ทางไป)
   มีอะไร
เป็นอย่างยิ่ง
   มีอะไร
เป็นผล
   มีอะไร
เป็นที่สุด

พวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชก ถูกเธอทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง

ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเป็นปัญหา ที่ถามในฐานะ มิใช่วิสัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ที่จะยังจิตให้ยินดี ด้วยการ แก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากตถาคต หรือจากสาวกของตถาคต

ตตา

          [๕๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันสหรคต (ไปด้วยกัน -ร่วมกัน) ด้วยเมตตาฯลฯ ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคต ด้วยเมตตา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมี ความสำคัญว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล นั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ว่าเราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่า ไม่ปฏิกูล ในสิ่งปฏิกูล นั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูล ในสิ่งไม่ปฏิกูล และสิ่งปฏิกูล นั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล และ สิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งปฏิกูล และในสิ่งไม่ปฏิกูล นั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูล และ ปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสีย แล้ววางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะ ในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่งเธอ ย่อมเข้าถึง สุภวิโมกข์ อยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว เมตตาเจโตวิมุติ ว่า มีสุภวิโมกข์ เป็นอย่างยิ่ง เพราะ ภิกษุ นั้นยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่ง ในธรรมวินัย ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์

กรุณา

          [๕๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ กรุณาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคต ด้วยกรุณา อาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่ง ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมี ความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่ง ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ

ถ้าหวังอยู่ว่าเราพึงแยกสิ่ง ไม่ปฏิกูล และปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะ อยู่ในสิ่งทั้งสองนั้น หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วง รูปสัญญา เสียโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญา ดับไป เพราะไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่ง นานัตตสัญญา เธอคำนึงอยู่ว่า อากาศไม่มีที่สุด ย่อมบรรลุ อากาสานัญจายตนะ อยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว กรุณาเจโตวิมุติ ว่ามี อากาสานัญจายตนะ เป็น อย่างยิ่ง เพราะภิกษุผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่งในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอ จึงยังเป็น โลกีย์.

มุทิตา

          [๕๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ มุทิตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยมุทิตาอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูล ในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความ สำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ

ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีก อย่างหนึ่ง เพราะล่วง อากาสานัญจายตนะ เสียโดยประการทั้งปวง เธอคำนึงอยู่ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ย่อมบรรลุ วิญญาณัญจายตนะ อยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว มุทิตาเจโตวิมุติ ว่ามี วิญญาณัญจายตนะ เป็นอย่าง ยิ่ง เพราะภิกษุนั้น ยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่ง ในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงยัง เป็นโลกีย์.

อุเบกขา

          [๖๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อุเบกขาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคต ด้วยอุเบกขา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูล ในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความ สำคัญว่า ปฏิกูล ในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ว่าเราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่า ไม่ปฏิกูล ในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูล ในสิ่งไม่ปฏิกูล และสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมี ความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งปฏิกูล และไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมี ความสำคัญว่า ไม่ปฏิกูล ในสิ่งปฏิกูล และในสิ่งไม่ปฏิกูล นั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูล และปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะ ในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรือ อีกอย่างหนึ่ง

เพราะล่วง วิญญาณัญจายตนะเสีย โดยประการทั้งปวง เธอคำนึงอยู่ว่า อะไรนิดหนึ่ง ไม่มี ย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนะ อยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว อุเบกขาเจโตวิมุติ ว่า มี อากิญจัญญายตนะ เป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้น ยังไม่แทงตลอดวิมุติ อันยวดยิ่งในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของ เธอจึงเป็น โลกีย์.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์