(เนื้อหาพอสังเขป)
ขันธ์ ๕ (ปัญจุปาทานักขันธ์)
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ...
ซึ่งยังมีอาสวะเป็นที่ตั้งอาศัยอยู่แห่งอุปาทาน.
ภิกษุ ท. ! ขันธ์ที่ยังมีอุปาทานห้าขันธ์เหล่านี้ เรียกว่าปัญจุปาทานักขันธ์ แล.
อุปาทานมี ๔ สี่อย่าง คือ
๑. กามุปาทานความถือมั่นในกาม
๒. ทิฏฐุปาทานความถือมั่นในทิฎฐิ
๓. สีลัพพตุปาทานความถือมั่นในศีลพรต
๔. อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นในวาทะว่าตน.
อุปาทานขันธ์ มีแต่เพียงห้าอย่าง คือ ..
๑. รูปขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน
๒. เวทนาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน
๓. สัญญาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน
๔. สังขารขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน
๕. วิญญาณขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน
รากเง่าแห่งอุปาทานขันธ์ คือ ฉันทะ (ความพอใจ)
อุปาทาน กับ อุปาทานขันธ์ มิใช่อันเดียวกัน..
ตัวอุปาทานนั้น ไม่ใช่ตัวขันธ์๕ แต่อุปาทานนั้นก็มิได้มีในที่อื่น นอกไปจาก ขันธ์๕
เพราะว่า ตัวฉันทราคะ ที่มีอยู่ใน ขันธ์ ๕ นั่นแหละ
คือ ตัวอุปาทาน ในที่นี้แล.
สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน เป็นอย่างไร ? และ ตัวอุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! รูป (กาย) เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ฉันทราคะ (ความกำหนัดเพราะพอใจ) ใด เข้าไปมีอยู่ในรูปนั้น
นั่นคือ ตัวอุปาทาน ในรูปนั้น ..
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ทำนองเดียวกัน
สักกายะ. ภิกษุ ท. ! สักกายะเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! คำตอบคืออุปาทานขันธ์ทั้งห้า.
๑.รูปขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน
๒.เวทนาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน
๓.สัญญาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน
๔.สังขารขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน
๕.วิญญาณขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน |